ชื่อเรื่อง รายงานประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนเทศบาล
ศรีเมืองพลประชานุเคราะห์
ผู้ศึกษา นายทนงเดช สิงห์สุวรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการดำเนินการของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) คือ CIPP Model กลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 46 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 201 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1- 3 จำนวน 201 คน โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า
1.1 พนักงานครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานทางการศึกษา รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน อันดับสาม คือ มีความจำเป็นในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานทางการศึกษา รองลงมา คือ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน อันดับสาม คือ มีความจำเป็นในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
1.3 ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความจำเป็นในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับนักเรียน รองลงมา คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน อันดับสาม คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า
2.1 พนักงานครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นอย่างดี รองลงมา คือ ครูผู้สอนมีความตั้งใจจริงในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน อันดับสาม คือ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และผู้ปกครอง/ชุมชนมีความสนใจในการเป็นแกนนำต้านยาเสพติดร่วมกับทางโรงเรียน
2.2 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นอย่างดี รองลงมา คือ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อันดับสาม คือ นักเรียนมีความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า
3.1 พนักงานครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของผู้บริหาร รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา อันดับสาม คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของนักเรียน
3.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของคณะกรรมการสถานศึกษา รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของผู้บริหาร อันดับสาม คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของนักเรียน
3.3 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการแข่งขันกีฬาสีภายในประจำปี รองลงมา คือ โครงการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันดับสาม คือ โครงการอบรมครูและนักเรียนแกนนำป้องกันภัยยาเสพติดในสถานศึกษา
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า
4.1 พนักงานครูและบุคลากรในโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตนเองไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและพฤติกรรมที่เสี่ยง รองลงมา คือ โรงเรียนได้รับการไว้วางใจจากผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน อันดับสาม คือ นักเรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม
ได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ
4.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครอง/ชุมชนให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติดในชุมชนที่อยู่อาศัย รองลงมา คือ นักเรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ อันดับสาม คือ ผู้ปกครอง/ชุมชนให้การยอมรับในการดำเนินโครงการของโรงเรียน
4.3 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสามารถนำเอาความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้ปกครองได้ รองลงมา คือ นักเรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย อันดับสาม คือ นักเรียนมีภูมิคุ้มกันในตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
4.4 ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครอง/ชุมชนให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติดในชุมชนที่อยู่อาศัย รองลงมา คือ นักเรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพ อันดับสาม คือ ผู้ปกครอง/ชุมชน ให้การยอมรับในการดำเนินโครงการของโรงเรียน