การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 GATHERING : การรวบรวมและเลือกข้อมูล
1. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องแรงลัพธ์
2. ให้นักเรียนศึกษาสถานการณ์ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม
3. ครูถามนักเรียน โดยใช้คำถาม ดังนี้
นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดจึงเข็นรถของเล่นผ่านพื้นทรายได้ยากลำบาก
(แนวคำตอบ : เพราะพื้นทรายมีพื้นผิวที่ขรุขระทำให้เกิดแรงเสียดทานที่ต้านการเคลื่อนที่ของรถเข็น)
4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แรงเสียดทาน จำนวน 10 ข้อ
ขั้นที่ 2 PROCESSING : การจัดกระทำข้อมูล
1. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่อง แรงเสียดทาน ในเนื้อหาจะอธิบายเกี่ยวกับความหมาย ของแรงเสียดทาน ประเภทของแรงเสียดทาน ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน
2. ครูอธิบายขั้นตอนและวิธีการทำกิจกรรมการทดลอง เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน ให้นักเรียนทราบถึงจุดประสงค์ของการทดลอง ขั้นตอนการทดลอง
3. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม โดยครูถามคำถามก่อนทำกิจกรรม การทดลอง ดังนี้
นักเรียนคาดคะเนว่าระหว่างการดึงถุงทรายแบบไม่หุ้มถุงพลาสติก และการดึงถุงทราย
แบบหุ้มถุงพลาสติก จะมีความแตกต่างกันอย่างไร
4. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน จากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน
ขั้นที่ 3 Applying and Constructing the Knowledge) : ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ
1. นักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม
ขนาดของแรงเสียดทานจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง
ลักษณะของผิวสัมผัสใดที่เกิดแรงเสียดทานมาก
ยกตัวอย่างวัตถุที่มีผิวเรียบ
2. ให้นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้โดยเขียนแผนภาพความคิดแสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน
ขั้นที่ 4 Applying the Communication Skill ขั้นสื่อสารและนำเสนอ
1. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม หน้าชั้นเรียนโดยให้นำข้อมูลของแต่ละกลุ่ม เขียนลงกระดานที่ทำตารางสรุปไว้
2. ให้นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้โดยเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับความหมายของแรงเสียดทาน ประเภทของแรงเสียดทาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงเสียดทาน
3. เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำ ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง แรงเสียดทาน
ขั้นที่ 5 SELF REGULATING : การกำกับตนเองหรือการเรียนรู้ได้เอง
1. ให้นักเรียนจัดทำเป็นแผ่นพับเกี่ยวกับความหมายของแรงเสียดทาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อ แรงเสียดทาน
2. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน
3. ประเมินแผ่นพับและนำเผยแพร่