การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัย คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกรรมการสถานศึกษา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครู จำนวน 7 คน
ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 2) พัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 3) ประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผลการดำเนินงานการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และ 4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์ แบบบันทึก แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อผลการดำเนินงานการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ไม่มีผลการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายของการดำเนินงาน ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูล เครื่องมือสำหรับการประเมินความสำเร็จ ทั้งด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร รายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย กิจกรรมโครงการไม่แสดงถึงการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของงาน ไม่มีผลสรุปความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งในระดับโครงการและระดับแผนพัฒนา
2. กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การประชุมชี้แจงและมอบหมายงาน 4) การศึกษาดูงาน 5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ทั้งนี้ได้ใช้ขั้นตอนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ด้านการใช้กิจกรรมดำเนินงาน 2) ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพ 3) ด้านการนำแผนการประกันคุณไปใช้ 4 ) การตรวจสอบและทบทวน 5) การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผลการดำเนินงาน
การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้ขั้นตอนระบบการประกันคุณภาพภายในทั้ง 5 ขั้นตอน 5 กลยุทธ์ ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรจากการตอบแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม ก่อนการพัฒนา เฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง หลังจากได้พัฒนาตามขั้นตอน และกลยุทธ์ ระดับความคิดเห็นหลังการพัฒนา เฉลี่ย 3.91 อยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม มีค่าเพิ่มมากขึ้น