ก
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส
ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน : นางศุภมนต์ จรณะเลิศ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านห้วยโส อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส
โดยใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) โครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการ ๑ ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ได้แก่
4.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
4.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
4.5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
4.6 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 78 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้ปกครอง จำนวน 35 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน
ข
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 18 ข้อ ฉบับที่ 4.1 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จำนวน 14 ข้อ ฉบับที่ 4.2 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 13 ข้อ ฉบับที่ 4.3 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 4.4 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา จำนวน 7 ข้อ ฉบับที่ 4.5 แบบประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ จำนวน 17 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 ข้อ และฉบับที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
2. ผลการประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไปซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
3. ผลการประเมินการดำเนินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4. ผลการประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ในด้านผลผลิต (Product) ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเด็นในด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
ค
4.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.4 ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.6 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.7 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมี
ค่าเฉลี่ย 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
ที่ ศธ ๐๔๐๗๑.๒๔๔/ว๑๖๗ โรงเรียนวัดรักขิตวัน
หมู่ที่ ๘ ตำบลชะอวด
อำเภอชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๑๘๐
๑๘ พฤศจิกายน 256๔
เรื่อง การเผยแพร่การประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน............................
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. บทสรุปสำหรับหรับผู้บริหารการประเมินโครงการ จำนวน 1 ฉบับ
ด้วย นางศุภมนต์ จรระเลิศ ผู้อำนวยการชำนาญพิเศษ โรงเรียนวัดรักขิตวัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการ การประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขอรับการประเมินให้มีหรือเลื่อน
วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จึงขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่แนบมาพร้อมหนังสือนำส่งฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางศุภมนต์ จรณะเลิศ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรักขิตวัน
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนวัดรักขิตวัน
โทร 09๗๓๕๔-๔๖๒๑
ที่ ศธ
/....... โรงเรียน......................... หมู่ที่ .......
ตำบล.................... อำเภอ................
จังหวัดนครศรีธรรมราช .................
พฤศจิกายน ๒๕๖๔
เรื่อง ตอบรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน
อ้างถึง หนังสือโรงเรียนวัดรักขิตวัน ที่ ศธ ๐๔๐๗๑.๒๔๔ /ว๑๖๗ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ตามหนังสือที่อ้างถึง นางศุภมนต์ จรณะเลิศ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรักขิตวัน วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นเป็นผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โดยได้จัดทำผลงานทางวิชาการ เรื่องการประเมินโครงการ ๑ ศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านห้วยโส ปีการศึกษา 2563 และได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการมายังโรงเรียน.....................นั้น
ในการนี้ทางโรงเรียน............... เห็นว่าผลงานทางวิชาการดังกล่าวมีประโยชน์และคุ้มค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน..............................และจะนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป ขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(....................................................)
ผู้อำนวยการโรงเรียน..........................