ชื่อผู้รายงาน นางอุษา มู่เก็ม ผู้อำนวยการโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเพิลบีม (Stufflebeams) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน โดยการแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต(Product Evaluation) ซึ่งผู้รายงานได้ดำเนินการตามลำดับ 3 ระยะ ดังนี้
1) การประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ประเมิน 2 ส่วน คือ 1.1 ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ 1.2 ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ ความเหมาะสมการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ
2) การประเมินขณะดำเนินโครงการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและระดับปฏิบัติที่เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา
3) การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ (Product Evaluation) เป็นการประเมินด้านผลผลิต หลังเสร็จสิ้นโครงการ ดังนี้ 3.1 คุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 3.2 พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน 3.3 ทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 3.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1.นักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยระดับประถมศึกษาใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 49 คน (เนื่องจากนักเรียนในระดับชั้นดังกล่าวสามารถอ่านและเข้าใจคำถามจากแบบสอบถาม สามารถให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงได้ดีกว่านักเรียนชั้นอื่นๆ 2. ครู ศึกษาจากประชากรครู จำนวน 14 คน 3. ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 47 คน 4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ผู้ประเมินมีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อม เป็นแบบสอบถามในการพิจารณาความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า เป็นแบบสอบถามเพื่อทราบระดับความเหมาะสมเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสุนนโครงการ สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็นของครู ฉบับที่ 3แบบสอบถามด้านกระบวนการ เป็นแบบสอบถามเพื่อทราบระดับความเหมาะสม เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามและประเมินผล การนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิต เป็นแบบสอบถามเพื่อทราบระดับคุณภาพของการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิต เป็นแบบสอบถามเพื่อทราบระดับคุณภาพพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง ผู้ประเมินนำแบบสอบถามที่ทดลองใช้มาตรวจสอบวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟา ของครอนบาค (Cronbachs) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลได้ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.75- 0.91วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)ของกลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ของประชากร และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : x̄ ) ของประชากร
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1) ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงสุด ( = 4.04, S.D. = 0.14) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄ = 3.94, x̄= 0.25) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
2) ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.41, x̄= 0.07) คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄= 4.64, x̄= 0.23) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (x̄= 4.51,x̄ = 0.27) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄= 4.11, x̄= 0.41) อยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3) ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีการปฏิบัติและคุณภาพ อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.52, x̄ = 0.11) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.51, S.D.= 0.12) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.46, S.D.= 0.12) อยู่ใน ระดับมาก โดยทุกกลุ่มได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 การประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄= 4.52, x̄=0.11) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.51, S.D.=0.14) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.48, S.D.= 0.10) อยู่ในระดับมาก โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563ด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการพัฒนาทักษะอาชีพ จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.49, S.D. = 0.11) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.48, S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยโดยทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563
ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับทักษะอาชีพของนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 4.46, S.D. = 0.16) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ กลุ่มครู(x̄ = 4.41, x̄ = 0.22) อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.59, S.D. = 0.08) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.44, S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ กลุ่มครู (x̄= 4.42, x̄ = 0.25) อยู่ในระดับมาก โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อม ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนักร้อยละ 20 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ ค่าน้ำหนักร้อยละ 60 จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง พบว่าโดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ค่าน้ำหนักร้อยละ 10 พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 5 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2563 ตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่าทั้ง 4 ด้าน ทุกตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรให้ความสำคัญในการรวมพลังทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน มามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
1.2 โรงเรียนควรให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ถึงความสำคัญในการพัฒนาพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพราะจะส่งผลให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถดูแลตนเองและแบ่งเบาภาระครอบครัวได้
1.3 การดำเนินกิจกรรมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรประเมินผลผลิตด้านทักษะอาชีพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการพัฒนาและเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจ ตลอดจนแนวโน้มในการต่อยอดเพื่อเป็นอาชีพในโอกาสต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ส่งผลต่อทักษะอาชีพของนักเรียน เช่น ด้านการตลาด การบรรจุหีบห่อที่สวยงามและมีมาตรฐานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2.2 ควรศึกษาทักษะอาชีพของท้องถิ่นหรือชุมชนดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้และพัฒนาสู่ความเป็นสากลหรือสินค้าโอท๊อป