บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดย ใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Happy Workplace) ของโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขของครูโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 4) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 และ5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) นักเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดย ปีการศึกษา 2562 ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 69 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 49 คน (เนื่องจากนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีความสามารถในการอ่าน สามารถสื่อข้อความจากแบบสอบถามได้ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ) 2) ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน 3) ผู้ปกครอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 65 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครูได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน 5 ) องค์กรชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้องค์กรเครือข่ายละ 3 คนได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 (สำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายองค์กรชุมชน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุขของโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 (สำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขของครูโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 (สำหรับนักเรียนโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒) ฉบับที่ 4 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 (สำหรับครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล) ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 (สำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม)หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 2563 มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตรงต่อเนื้อหา ได้คัดเลือกข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่ามากกว่า 0.75 ไว้เป็นข้อคำถามและจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถาม เพื่อนำไปทดลองใช้หาคุณภาพเครื่องมือต่อไป (ค่า IOC ทั้ง 5 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.80-1.00) การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2564 ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 18 สถิติพื้นฐานร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจากกลุ่มตัวอย่างและประชากร (Arithmetic Mean : , μ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากกลุ่มตัวอย่างและประชากร (Standard Deviation : S.D., )
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace)โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และภาคีเครือข่ายองค์กรชุมชน
ปีการศึกษา 2562 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.39, S.D.= 0.29) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.38, S.D.= 0.48) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( =4.10, S.D.= 0.33)
ปีการศึกษา 2563 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= 0.67) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.= 0.23) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( =4.22, S.D.= 0.25)
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุขของโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2562 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.36, S.D.= 0.33) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.34, S.D.= 0.21) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.14, S.D.= 0.34)
ปีการศึกษา 2563 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.45, S.D.= 0.59) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.44, S.D.= 0.27) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.25, S.D.= 0.28)
3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขของครูโรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.25, S.D.= 0.23) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายการ พบว่า รายการที่ 12 ครูมีคู่มือนวัตกรรมที่สามารถนำมาพัฒนานักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.60) รองลงมาได้แก่ รายการที่ 14 ครูมีการวัดผลและประเมินผลความสามารถของนักเรียนด้วยวิธีการหลากหลาย อยู่ในระดับมาก ( =4.50, S.D.= 50) ส่วนรายการที่ 8 ครูสามารถจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนอย่างประหยัดใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีในการจัดชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.98, S.D.= 0.55)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.46, S.D.= 0.20) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายการ พบว่า รายการที่ 5 ครูจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและสวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.= 0.52) รองลงมาได้แก่รายการที่ 14 ครูมีการวัดผลและประเมินผลความสามารถของนักเรียนด้วยวิธีการหลากหลาย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.= 0.50) ส่วนรายการที่ 2 ครูมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนเป็นคนดีจนเป็นวิถีชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.28, S.D.= 0.64)
4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีความสุขของนักเรียนโรงเรียน
สังวาลย์วิท ๒ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตและบันทึกพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.30, S.D.= 0.23) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายการ พบว่า รายการที่ 14 นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.53, S.D.= 0.50) รองลงมาได้แก่รายการที่ 15 นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดงผลงานของตนเองในห้องเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด( =4.53, S.D.= 0.54) ส่วนรายการที่ 7 นักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก( =4.11, S.D.= 0.70)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.41, S.D.= 0.20) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายการ พบว่า รายการที่ 5 นักเรียนสามารถสื่อสารกับครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนอย่างสมเหตุสมผลและเหมาะสมกับวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, S.D.= 0.57) รองลงมาได้แก่ รายการที่ 13 นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ตรงที่ครูจัดกิจกรรมให้อย่างหลากหลาย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, S.D.= 0.62) ส่วนรายการที่ 2 นักเรียนสามารถปฏิบัติตามระเบียบ ข้อตกลงและดูแลตนเองได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.27, S.D.= 0.62)
5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.08) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.16)ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (μ = 4.31, σ = 0.19)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.18) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (μ = 4.46, σ = 0.11)
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 โรงเรียนควรจัดอบรมพัฒนาเชิงปฏิบัติการ/ Work Shop เกี่ยวกับกระบวนการจัดการ
เรียนให้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนโดยต่อยอดจากองค์กรที่มีความสุข เพื่อให้ครูมีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เช่น การเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้มีความสุข เรียนภาษาไทยอย่างไรให้สนุกสนาน พร้อมทั้งส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
1.2 โรงเรียนต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรความร่วมมือ ได้แก่ คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนองค์กรความร่วมมืออื่นๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนโรงเรียนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนและเป็นระบบ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในบทบาทหน้าที่ ตลอดจน นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านให้มามีบทบาทต่อโรงเรียน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 โรงเรียนควรส่งเสริมและต่อยอดขยายผล เรื่ององค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ให้มีในโรงเรียนอย่างยั่งยืน เพื่อให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถเกิดพลังบวกในการทำงาน ส่งผลให้นักเรียนอยากมาโรงเรียน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการส่งบุตรหลานมาเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) อย่างยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนที่เกิดจากพลังเชิงบวกกับการเรียนรู้ที่ครูสอนแบบเดิมๆ ว่าผลการเรียนรู้ต่างกันเช่นไร
2.3 ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นองค์กรการเรียนรู้อย่างมีความสุขของครูของนักเรียนที่มีต่อชุมชนและสังคมโดยรอบสถานศึกษา
จากการวิจัยการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยใช้กลยุทธ์ 1ป 5ส โรงเรียนสังวาลย์วิท ๒ ปีการศึกษา 2562-2563 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของการทำงานแบบ TEAM MODEL และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งความสุขต่อไป