ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E)
ผู้วิจัย นายสมนึก พาธาณี
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการแก้โจทย์
ปัญหาฟิสิกส์เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหา
ของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) 2) พัฒนารูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) 3) ศึกษาผลการนำไปใช้ของรูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) และ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์
เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
แบ่งการวิจัยออกเป็น 4ระยะได้แก่ ระยะที่1 การวิจัย (Research R1
) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
(Analysis: A) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสําหรับการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 การพัฒนา(Development:
D1
) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ
ของรูปแบบ ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R2
) เป็นการนําไปใช้(Implementation: I) เพื่อทดลอง
ใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development: D2
) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E)
เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนดงมูลวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
กาฬสินธุ์ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้
แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอน 3) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ 6) แบบสอบถามเจตคติ
และ 7) แบบประเมินและรับรองรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test dependent)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนที่ควร
ปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัด
การเรียนการสอนที่ครูปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) ประกอบด้วย
1) หลักการ2) จุดประสงค์3) สาระและกระบวนการ 4)กิจกรรมและขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นตรวจสอบ
ความรู้เดิม (Elicitation phase 4.2) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement phase) 4.3) ขั้นสำรวจ
และค้นหา (Exploration phase) 4.3.1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understanding the problem)
4.3.2) ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา (Devising a plan) 4.3.3) ขั้นดำเนินการตามแผน (Carrying out
the plan) 4.4) ขั้นอธิบาย (Explanation phase) 4.4.1) ขั้นตรวจสอบ (Looking back) 4.5) ขั้นขยาย
ความรู้(Elaboration phase) 4.6) ขั้นประเมินผล (Evaluation phase) และ 4.7) ขั้นนําความรู้ไป
ใช้ประโยชน์(Extension phase) และ 5) การวัดและประเมินผล
3. ผลการนำไปใช้ของรูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร
7 ขั้น (7E) ปรากฏผล ดังนี้
3.1 รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E)
มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1
) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2
) เท่ากับ 84.61/82.74 เป็นไปตาม
เกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) มีค่า
ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7014 หรือมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 70.14 เป็นไปตาม
เกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.5 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม
รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้
เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินและรับรองรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบและมีความเห็นสอดคล้องกันว่า
รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องงานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น (7E) ที่พัฒนาขึ้น
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด