บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อจำแนกข้อมูลพื้นฐานและสภาพการบริหารหลักสูตร
ทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และปรับปรุงรูปแบบ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ คือ ระยะที่ 1 การจำแนกข้อมูลพื้นฐานและสภาพการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหารและครูรวม 25 คน เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมโดยใช้แบบบันทึกการประชุมและการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาเพื่อศึกษาระดับปฏิบัติและระดับปัญหาโดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา รวม 10 คน เพื่อร่วมกันกำหนดปัญหา ระบุสาเหตุของปัญหาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และเลือกแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบ ในการยกร่างรูปแบบ โดยใช้แบบบันทึกการประชุม แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนประเมินรูปแบบด้วยแบบประเมินความสอดคล้อ งระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยใช้คู่มือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา ดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ และองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 2 รอบและบันทึกผล และสอบถามผลหลังการทดลองใช้รูปแบบของผู้บริหารและครู จำนวน 25 คนโดยแบบสอบถาม และปรับปรุงรูปแบบ ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบคือผู้บริหารและครูจำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 38 คน และสอบถามนักเรียนที่เรียนหลักสูตร
ทวิศึกษาจำนวน 44 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 44 คน รวม ทั้งสิ้นจำนวน 88 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมได้ดำเนินการรวบรวม
ข้อมูลระเบียบแนวปฏิบัติจากหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม เพื่อเป็นแนวทางใน
การจัดทำหลักสูตรทวิศึกษาและนำข้อมูลที่ได้มากำหนดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรทวิศึกษา ต่อจากนั้นนำมาตรวจสอบกับโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพให้สอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตรทั้ง 2 หลักสูตรและผลจากการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง ด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง และด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีระดับปฏิบัติระดับน้อยส่วนระดับปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีระดับปัญหาระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีระดับปัญหาระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับปัญหาระดับมาก ตามลำดับ
2. การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยการศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ขั้นการกำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) ขั้นการนำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่การปฏิบัติ 4) ขั้นการสะท้อนผล และมี 6 องค์ประกอบดังนี้ คือ 1) ร่วมวิสัยทัศน์ 2) ร่วมทีมพัฒนา
3) ร่วมเรียนรู้ 4) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ร่วมสะท้อนคิด 6) การหนุนเสริมชุมชน ได้แก่ นโยบาย
สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุ อุปกรณ์ เวลา และขวัญกำลังใจ และจากการประชุมครูและผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนารูปแบบ พบว่า มี 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกำหนดปัญหาระบุสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา 2) ขั้นการเลือกแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบ เพื่อยกร่างรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบตามหลักการบริหารหลักสูตร มี 3 ด้านได้แก่ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีจำนวน 13 ข้อด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีจำนวน 11 ข้อ และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีจำนวน 11 ข้อ
3. การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาโดยทดลองกับผู้บริหาร 1 คนและ ครู 24 คน โดยใช้คู่มือการสร้างชุมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจากขั้นตอนการสะท้อนผล มีการปรับปรุงองค์ประกอบของรูปแบบทั้ง 3 ด้าน ๆ ละ 1 องค์ประกอบ คือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนข้อ 1 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ข้อ8จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดการจัดทำโครงสร้างรายวิชาของครูร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัยทุกปีการศึกษา และด้านการกำกับดูแลคุณภาพข้อ 5 เปลี่ยนเป็น ร่วมกันกำหนดรูปแบบการสำรวจความต้องการศึกษาต่อการประกอบอาชีพของนักเรียนร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัยและผลจากการตอบแบบสอบถามหลังการใช้รูปแบบ พบว่าการปฏิบัติงานการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีระดับการปฏิบัติระดับมากที่สุดด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับการปฏิบัติระดับมากที่สุดและด้านการส่งเสริมสนับสนุน มีระดับการปฏิบัติระดับมาก และผลจากข้อเสนอแนะให้เพิ่มอีก จำนวน 2 องค์ประกอบ คือ ด้าน
การจัดทำหลักสูตรทวิศึกษา ข้อ 11 ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและด้าน PLC และด้านการกำกับดูแลคุณภาพ ข้อ 11 ร่วมเรียนรู้และสะท้อนคิดแนวทางการติดตามผลการจบหลักสูตรทวิศึกษา
4. การประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหาหลักสูตร ทวิศึกษาโรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้บริหารครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้าน
การกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับมาก