ชื่องานวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) บนบริการ
เครือข่ายสังคม(Facebook) สำหรับเด็กรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน(Gen Z)
(Flipped Classroom on Facebook for Gen Z)
ผู้วิจัย นางสุภาพ โคตรเพ็ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนร่องคำ สพม.กาฬสินธุ์
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ลดปัญหาการบรรยายของครูในชั้นเรียน 2)ลดการใช้กระดาษในการผลิตสื่อ 3)ใช้สื่อที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้เรียน 4)ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา 5)สร้างเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) บนบริการเครือข่ายสังคม(Facebook) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6(Gen Z) ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดย คุณครูสุภาพ โคตรเพ็ง ผู้ศึกษาใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) บนบริการเครือข่ายสังคม(Facebook) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6(Gen Z) ปีการศึกษา 2563 โดยการใช้แบบประเมินความคิดเห็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) และการให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็น
จากการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
(Flipped Classroom) มีผลการประเมินความพึงพอใจในระดับดับมากที่สุด มาก และ น้อย คิดเป็นร้อยละ 81.25 , 16.66 และ 2.08 ตามลำดับ, เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้จริง มีผลการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และ มาก คิดเป็นร้อยละ 83.33 และ 16.66 ตามลำดับ, เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้น่าสนใจ มีผลการประเมินความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด มาก และ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.50 , 33.33 และ 4.16 ตามลำดับ, ครูผู้สอนมีความตั้งใจ และใส่ใจในการเตรียมและ จัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และ มาก คิดเป็นร้อยละ 95.83 และ 4.16 ตามลำดับ, ควรให้มีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) อีก ในเนื้อหาอื่นๆ มีผลการประเมินความพึงพอใจในระดับดับ มากที่สุด คือเป็นร้อยละ 100
สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) , มีความพึงพอใจเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้จริง , มีความพึงพอใจครูผู้สอนมีความตั้งใจ และใส่ใจในการเตรียมและ จัดการเรียนรู้ และ ความพึงพอใจว่าควรให้มีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped Classroom) อีก ในเนื้อหาอื่นๆ คิดเป็นมากกว่า ร้อยละ 80 ขึ้นไป จึงสรุปได้ว่า ผู้เรียนพึงพอใจในการจัดการการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) บนสังคมเครือข่าย(Facebook) ในระดับ มากที่สุด