การประเมินโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียน ทำนบแพ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ผู้รายงานใช้รูปแบบ การประเมินโครงการของซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ดำเนินงานของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ จำนวน 2 ฉบับ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ (%)
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมมีความจำเป็นในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย) = 4.72, (ส่วนเบี่ยงเบนมากตรฐาน). = .24)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมมีความพร้อมในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย) = 4.44, (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)= .32)
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมมีการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย) = 4.22, (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) = .30)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนทำนบแพ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ได้แก่
4.1 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การประกอบอาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 80.83)
4.2 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง การบริโภคอาหารมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 81.71)
4.3 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ อยู่ในระดับมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 82.50)