บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน 3P ด้วย
กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูด
เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนและทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการ
เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์และ4)
ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัย
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ศึกษาแนวคิด
ในการวิจัยรูปแบบ ADDIE Model ของเควิน ครูส ร่วมกับกรอบแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ของ Jean Piaget และ Lev Vygotsky
รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagnes Instructional Model) ทฤษฎีการคิด
สร้างสรรค์ตามแนวคิดของกิลฟอร์ด (Gilford) รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ
จอยส์ และว ีล(Joyce & Weil) ว ิธ ีสอนแบบระ ดม พ ลั งสม อ ง (Brainstorming) ขอ งอ อ
สบอร์น (Alex F. Osborne) เป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ประเมิน การดำเนินการวิจัยโดยแบ่ง
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นศึกษา
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis) การวิจัยระยะที่ 2 การ
ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน(Design and Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา
รูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ แบ่งการดำเนินการ
เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นร่างรูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิง
สร้างสรรค์ขั้นตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริม
ทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ขั้นหาคุณภาพของรูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริม
ทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์(Try-out) การวิจัยระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการทดลองใช้
รูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/2
จำนวน 30 คน ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน ของโรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล สำนักการศึกษา เทศบาล
นครอุบลราชธานีอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random
Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาในการทดลองรวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้
ประกอบด้วย รูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้อง
ของรูปแบบการสอน แบบประเมินทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติค่าทีที (t-test Dependent Samples) การวิจัยระยะที่ 4 ประเมินการพัฒนารูปแบบการสอน 3P
ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 (Development: D2) แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นนำเสนอรูปแบบการสอน
3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการอบรมครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษา เครื่องมือ
ที่ใช้ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูด
เชิงสร้างสรรค์ขั้นปรับปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปและตีความข้อมูลจากแบบสอบถาม ปรับปรุงแก้ไข
รูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ผลการออกแบบ ได้รูปแบบการสอน 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะ
การพูดเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ ดังนี้
วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการ
ตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ การเตรียมความ
พร้อมในการเรียนให้แก่ผู้เรียน ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม 3P คือ กิจกรรมนำเสนอเนื้อหา (Presentation Stage :
P) กิจกรรมฝึกฝน (Practice Stage : P ) กิจกรรมการใช้ภาษาออกแบบงาน (Production Stage : P ) ขั้น
ที่ 3 ขั้นอภิปราย การให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กระบวนการกลุ่ม ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและ
นำไปใช้ นำเสนองานและจัดทำคลิปวีดีโอ และผลการพัฒนาพบว่า รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ
E1/E2 เท่ากับ 89.78/90.52 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่
กำหนดไว้
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ 3P ด้วย
กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการประเมินทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจรูปแบบการสอนแบบ 3P ด้วยกระบวนการกลุ่ม
เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษา มีความเห็นว่า
รูปแบบการสอนแบบ 3P ด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได