ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒
ผู้วิจัย นางจิรัชยา มูลแก้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองบ้านฉาง
จังหวัดระยอง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ 3) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเสริมสร้างทักษะ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ดำเนินการวิจัยในปีการศึกษา 2563 โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิด
ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๑ (วัดคีรีภาวนาราม) จำนวน 9 คน ครูโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ จำนวน 9 คน และครูโรงเรียนนานาชาติเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๓ จำนวน 12 คน รวม ทั้งหมด 30 คน ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองบ้านฉาง จำนวน 3 คน ผู้แทนสภานักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ จำนวน 6 คน ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบและตรวจสอบความถูกต้อง คุณภาพความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และครูเสมือนกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด จำนวน 45 คน ระยะที่ 3 เป็นการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่นำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ สังกัดเทศบาลเมืองบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 10 คน และระยะที่ 4 เป็นการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยระยะที่ 1 คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ระยะที่ 2 แบบตรวจสอบร่างรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ และแบบตรวจสอบเครื่องมือประเมิน ระยะที่ 3 1) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานตามกระบวนการพัฒนาครูของรูปแบบ 3) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ 4) แบบบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติร่วมกัน 5) แบบบันทึกการสะท้อนผลเพื่อพัฒนา 6) เครื่องมือการวิเคราะห์คุณภาพของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบการประเมินความสามารถด้านภาษาไทยและความสามารถด้านคณิตศาสตร์ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ระยะที่ 4 1) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ 2) แบบประเมินความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ,) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.,) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ พบว่ารูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PACA Model มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิด 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) ปัจจัยนำเข้า 5) กระบวนการพัฒนาครู มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผนร่วมกัน (Plan) (2) การอบรมเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (3) การปฏิบัติร่วมกัน (Co-worker) (4) การปรับปรุงแก้ไข (Action) 6) การวัดและประเมินผล และ 7) ปัจจัยการสนับสนุน
ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.48) และความเป็นไปได้ ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.45) และผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนา โดยครูกลุ่มเสมือนกลุ่มเป้าหมายพบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.49) และความเป็นไปได้ ในระดับมาก ( = 4.29,
S.D. = 0.46) และผลการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบในภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.44) และความเป็นไปได้ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.45)
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ พบว่า
2.1 ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และกระบวนการชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน หลังการอบรมมีคะแนนพัฒนาการ (ความก้าวหน้า) คิดเป็นร้อยละ 27.00
2.2 ทักษะการปฏิบัติงานตามกระบวนการพัฒนาครูของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมาก (= 4.26,  = 0.45)
2.3 ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู คือ 1) ด้านการออกแบบการเรียนรู้
2) ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (= 4.33,  = 0.47)
2.4 คุณภาพของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย
2.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา2563 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป (เกรด 3.00 ขึ้นไป) เทียบกับ ปีการศึกษา 2562 ปรากฎว่าโดยภาพรวมมีร้อยละเฉลี่ยของคะแนนความก้าวหน้า 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปรากฏว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 18.72 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 11.40 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 5.46 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 4.43 และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 1.76
2.4.2 ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และร้อยละของผลต่างระหว่างปีการศึกษา 2562 2563 พบว่าการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีร้อยละเฉลี่ยของคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 1.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาษา มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยสูงขึ้น คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าร้อยละ 3.44
2.5 การพัฒนาคุณภาพของนักเรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามข้อกำหนดของสถานศึกษาปรากฏว่า นักเรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามหลักสูตรและตามข้อกำหนดของสถานศึกษาระดับดีเยี่ยม โดยภาพรวม มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 8.31
3. ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมกับแนวคิดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อน โรงเรียนเทศบาลเมืองบ้านฉาง ๒ มีผลดังนี้
3.1 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51, = 0.49)
3.2 ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(= 4.59, = 0.49)