หลักการและเหตุผล
คนพิการมีความต้องการจำเป็นพิเศษที่หลากหลายแตกต่างกัน ตามระดับความรุนแรงของโรคและประเภทความพิการส่วนมากเป็นความบกพร่องต่อเนื่องตลอดชีวิตการบำบัดการรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและต่อเนื่อง จะช่วยให้คนพิการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นสามารถช่วยเหลือตนเองและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ ดังนั้นในหลายๆประเทศจึงได้มีระบบในการให้บริการเพื่อลดข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบทางการแพทย์การศึกษาอาชีพและ การดำเนินชีวิตในสังคมโดยเริ่มจากการเฝ้าระวังความพิการการค้นหาการคัดกรองการวินิจฉัยการบำบัดรักษา การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมการจัดการศึกษาการส่งเสริมทักษะชีวิต และการส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมการฝึกอาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพในประเทศไทยมีกฎหมาย ที่เอื้อให้คนพิการได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการได้แก่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ได้กำหนดสิทธิในการศึกษาให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรืออยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิและ การสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาทัดเทียมกับบุคคลอื่นนอกจากนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายจิตใจสติปัญญาอารมณ์สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือ บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและ โอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษจัดให้คนพิการได้รับการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยระบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคล
โดยเฉพาะเด็กออทิสติกที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ เด็กออทิสติกจะมีปัญหาบริเวณสมองซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าใจและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กที่มีภาวะ ออทิสซึมมีการแสดงท่าทางแตกต่างจากคนทั่วไป เช่น เด็กออทิสติกจำนวนมากที่ใช้คำพูดในการสื่อสารไม่ได้เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาต้องการ ทำให้ผู้อื่นประสบปัญหาในการทำความเข้าใจว่าพวกเขาพูดอะไร และทำให้ในบางครั้งคนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดในสิ่งที่เด็กออทิสติกสื่อ เด็กเหล่านี้อาจจะเห็นหรือได้ยินในสิ่งที่คนอื่นพูดกัน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้ยินทุกคำพูด พวกเขาก็จะเพิกเฉยกับสิ่งที่คนอื่นต้องการสื่อสาร หรือเด็กบางคนที่มีภาวะออทิสซึมจะแสดงอาการที่มีความสุขในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็แสดงอาการเสียใจและโมโห หรือแสดงอาการเกรี้ยวกราด ซน อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งพฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกมานั้นสะท้อนว่าพวกเขาไม่สามารถบอกได้ว่าพวกเขาต้องการอะไร
ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นนักเรียนออทิสติกด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ จากการที่ได้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนออทิสติก ปัญหาเกิดจากขณะจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีปัญหาเรื่องสมาธิ ดังนั้นครูจึงใช้การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์มาฝึกปฏิบัติ เพื่อฝึกสมาธิของนักเรียนให้นิ่งขึ้นพร้อมที่จะทำกิจกรรม
วัตถุประสงค์การวิจัย
1.เพื่อปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของนักเรียนออทิสติก ให้มีสมาธิในการทำกิจกรรมมากขึ้น
2.เพื่อเปรียบเทียบการมีสมาธิของนักเรียนออทิสติก ก่อนและหลังการสอนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัยการวิจัยครั้งนี้
1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนออทิสติกโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๒ จังหวัดสตูล
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนออทิสติกที่สมาธิสั้น เพศชาย อายุ ๑๓ ปี เรียนอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๒ จังหวัดสตูล ชั้นเรียนร่วม ในปีการศึกษา 256๓ ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 1 คนเลือกวิธีโดยเจาะจง ( Purposive Sampling)
ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น กิจกรรมสร้างสรรค์
2.2 ตัวแปรตาม การมีสมาธิในการทำกิจกรรม
แบบแผนการวิจัย
แบบแผนการวิจัย
๑ แบบแผนการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษารายกรณี เพื่อเรื่องการปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของเด็กออทิสติก โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมีแบบแผนการทดลอง ดังนี้
วัน/เดือน/ปี กิจกรรม หมายเหตุ
7/ธ.ค./2563
14/ธ.ค./2563
21/ธ.ค./2563
28/ธ.ค./2563
4/ม.ค./2564
11/ม.ค./2564
18/ม.ค./2564
25/ม.ค./2564
1/ก.พ./2564
8/ก.พ./2564
15/ก.พ./2564
22/ก.พ./2564 วาดภาพตามจินตนาการ
ระบายสีภาพ
ฉีก ปะภาพ
ปั้นดินน้ำมัน
วาดภาพตามจินตนาการ
ระบายสีภาพ
ฉีก ปะภาพ
ปั้นดินน้ำมัน
วาดภาพตามจินตนาการ
ระบายสีภาพ
ฉีก ปะภาพ
ปั้นดินน้ำมัน ปฏิบัติตามกิจกรรมทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ได้ทำกิจกรรมดังนี้
1. การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
2. การบันทึกข้อมูลการมีสมาธิ
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
๔.1 ขออนุญาตผู้บริหาร เพื่อขอทำการทดลองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
๔.2 จัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมละ ๑ ชั่วโมง ของทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
๔.3 สังเกตพฤติกรรมการมีสมาธิของนักเรียนในการทำกิจกรรมและบันทึกการมีสมาธิของนักเรียนในการทำกิจกรรม พร้อมประเมินผล
ผลการศึกษาพบว่า
สรุปผลว่า จากการสังเกตการพัฒนาการสมาธิสั้นของผู้เรียนในแต่ละครั้งของ เด็กชายธนวัฒน์ ชูงาม
ในระดับชั้นเรียนร่วม พบว่า
ครั้งที่ 1 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ค่าเฉลี่ย 0.25 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 25
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการกิจกรรมระบายสีและกิจกรรมสร้างสรรค์
ได้ค่าเฉลี่ย 0.75 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 75
ครั้งที่ 2 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ กิจกรรมระบายสีภาพ กิจกรรมฉีกปะภาพ
และกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 4 คิดเป็น ร้อยละ 100
ครั้งที่ 3 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมฉีก ปะภาพ และกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 0.50
คิดเป็น ร้อยละ 50
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ และกิจกรรมระบายสีภาพ ได้
ค่าเฉลี่ย 0.50 คิดเป็นร้อยละ 50
สรุปผลการวิจัย
สมาธิของนักเรียนออทิสติกก่อนและหลังการสอนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนฝึกด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
อภิปรายผล
การปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของเด็กออทิสติกโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ พบว่า การฝึกให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆต้องมีการกระตุ้นให้เด็กอยากมีอารมณ์ร่วมในการทำกิจกรรม และมีความพยายามที่จะทำกิจกรรมด้วยตนเอง แม้บางครั้งเด็กไม่อยากทำ อาจมีปัจจัยจาก ความป่วยไข้ อากาศเปลี่ยนแปลง จนใจสิ่งเร้ารอบข้างมากกว่ากิจกรรม