ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

การสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

นันทรัตน์ เพ็งขำ

โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

บทคัดย่อ

การสร้างแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสาระที่ 1 : การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างแบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาคุณภาพแบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ 3) เพื่อประเมินทักษะภาคปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 105 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อนำมาทดลอง 3 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ 2) เกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับงานที่กำหนดให้ปฏิบัติ ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ และค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าอำนาจจำแนกรายฉบับ ปรากฎว่า งานที่ 1 ถึง งานที่ 5 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.512 ถึง 0.765 แสดงว่า ค่าอำนาจจำแนกรายข้อทั้ง 5 งานผ่านเกณฑ์คุณภาพ

2. ค่าความเชื่อมั่นจากการสังเกตการปฏิบัติงานของนักเรียนจากผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.857 ถึง 0.975 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นผ่านเกณฑ์คุณภาพทั้ง 5 งาน

3. ผลการประเมินทักษะภาคปฏิบัตินักเรียน จำนวน 35 คน พบว่า อยู่ในระดับดีทั้ง 35 คน

บทนำ

การพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้พัฒนาระบบการศึกษาให้สอดกล้องกับท้องถิ่น เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนไทยทุกคน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ,2551, หน้า 1) นอกจากนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ยังมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรมมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดจนชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552, หน้า 3)

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพมาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552, หน้า 180)

การเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรที่กำหนดให้และมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญสำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ เพิ่มขึ้น นอกจากฝึกทักษะปฏิบัติยังช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน ต่อสิ่งที่กำลังศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกการแสดงออก แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนเป็นอิสระจากครูผู้สอน เป็นการเปลี่ยน พฤติกรรม และช่วยรักษาระดับความสนใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา ช่วยให้ผู้เรียนรู้จุดมุ่งหมายของ การเรียนอย่างชัดเจน ทำให้ครูทราบความเข้าใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียน เพื่อแรงจูงใจในการเรียน ของผู้เรียน การให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกฝนทักษะ ยังเป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ด้วยตนเอง การได้ลงมือปฏิบัติจริงเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนฝึกทักษะตามความสามารถของตนเอง ฝึกให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น มีความรับผิดชอบต่องาน ที่ทำฝึกการส่งงานให้ทันเวลาและฝึกประเมินผลงานของตนเอง สิ่งที่นำมาฝึกเสริมทักษะต้องมี ในเนื้อหาในบทเรียนที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น และความแตกต่างระหว่างบุคคล แนวทางการฝึกทักษะปฏิบัติงานที่ดีควรเป็นแบบที่ทันสมัย เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการทำงาน มีความสนุกสนานไม่รู้สึกเบื่อ ควรมีคำชี้แจงสั้น ๆ ด้วยภามาที่เข้าใจง่าย สามารถศึกษาหรือปฏิบัติตาม ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

ทักษะปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมการที่ต้องใช้อวัยวะเคลื่อนไหวของร่างกาย ในการปฏิบัติกิจกรรมหรืองานทั้งปวง ซึ่งทักษะปฏิบัติเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพุทธิพิสัยกับสิ่งเร้าภายนอกตั้งแต่ขั้นการเรียนรู้ การพร้อมปฏิบัติ การตอบสนองตามผู้ปฏิบัตินำ การปฏิบัติและการตอบสนองที่ซับซ้อน ซึ่งตรงกับซิมพ์สัน (Simpson 1972) กล่าวว่า ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อหรือร่างกายในการทำงานที่มีความชับซ้อนและด้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน การทำงานดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง ซึ่งต้องมีความปฏิสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัตินี้สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความคล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญชำนาญการ และความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทำสามารถสังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยำความแรงหรือความราบรื่นในการจัดการ การปฏิบัตินั้นจะพิจารณาวิธีปฏิบัติงาน ดังนั้นผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติ ต้องอาศัยเครื่องมือวัดผลที่ดีมีคุณภาพและกระบวนการวัดผลที่ถูกต้องตามหลักการการวัดผลการปฏิบัติเพื่อพิจารณาว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้จริงหรือไม่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินงาน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การศึกษาแก่ เยาวชนของชาติในปัจจุบัน การวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนที่มีการใช้ทักษะปฏิบัติจึงไม่ควรวัดผลโดยใช้แบบทดสอบแบบเขียนตอบหรือตรวจผลงานเพียงอย่างเดียวควรมีการพิจารณาถึงขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนลักษณะนิสัยในการทำงานด้วย ซึ่งตรงกับบอยและซิมเบอร์ก ได้กล่าวไว้ว่า การใช้แบบทดสอบข้อเขียนหรือแบบทคสอบวัดความรู้วัดด้านการปฏิบัติงานนั้น ผู้ถูกทดสอบสามารถปิดบังความสามารถที่แท้จริงของตนเองได้ การวัดผลการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานจึงต้องวัดกระบวนการด้วย ปัญหาที่สำคัญคือ ครูผู้สอนหรือผู้ประเมินยังขาดความรู้และแนวทางในการพัฒนา แบบทดสอบให้มีคุณภาพ อีกทั้งผู้ประเมินการปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้มีความรู้อย่างแท้จริงในการวัดทักษะการปฏิบัติงานที่ต้องการวัดนั้น ปัญหาที่พบก็คือผู้ประเมินไม่มีความรู้ที่แท้จริงในสิ่งที่จะวัดว่าจะต้องวัดอะไรบ้างจึงจะครอบคลุมทักษะการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ๆ หรือไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ควรนำมาใช้ในการวัดมีอะไรบ้าง จึงเห็นได้ว่าครูผู้สอนยังขาดทักษะในการสร้างเครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัย ซึ่งการวัดผลและประเมินผลนั้นควรที่จะกระทำให้ครอบคลุมครบทุกด้าน และการใช้เครื่องมือในการวัดผลหลาย ๆ แบบอย่างเหมาะสมกับความมุ่งหมายลักษณะเนื้อหาวิชาสภาพของนักเรียนและสิ่งแวดล้อมหลักการวัดผลการศึกษาจะมีประสิทธิภาพเพียงใดส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับหลักกรวัดผลหรือวิธีการวัดหากไม่มีหลักการวัดแล้วจะไม่สามารถวัดพฤติกรรมตามที่ต้องการได้

การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้มีความสำคัญต่อกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากจะทำให้ทราบว่า การดำเนินงานของครูผู้สอนในกลุ่มสาระจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้วนั้นผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่ เพียงใด ในการวัดผลการศึกษาเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ดังกล่าวนั้น จึงควรวัดทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย แต่กิจกรรมที่ขัดขึ้นในโรงเรียนส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นทางด้านพุทธพิสัยหรือการวัดความรู้เป็นหลัก ทั้งนี้เพราะการวัดด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัย ขังอยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างขาดความเป็นปรนัยในการให้คะแนน ในการวัดผล ประเมินผล ซึ่งครูผู้สอนต้องใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เพื่อพิจารณาตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้มากกว่าใช้การเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียน และการวัดการปฏิบัติเพื่อพิจารณาว่า ผู้เรียนมีความสามรถในการทำงานได้จริงหรือไม่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินงาน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติในปัจจุบัน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552, หน้า 2)

ตามที่คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 921/2561 สั่ง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2ร5! และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้จาก สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์มากกว่าด้านความรู้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้าง ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือแบบวัดทักษะภาดปฏิบัติให้มีความน่าเชื่อถือเพื่อตรวจสอบความสามารถของผู้เรียน และมีเครื่องมือไว้ใช้ในสถานศึกษา เพื่อวัดทักษะการปฏิบัติของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 921/2561)

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยได้มองเห็นความสำคัญ จึงสนใจที่จะสร้างแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิดและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพและอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำไปใช้ พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบภาคปฏิบัติและแบบทดสอบวัดความเข้าใจในรายวิชาอื่นต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อสร้างแบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. เพื่อหาคุณภาพแบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3. เพื่อประเมินทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิดและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ขอบเขตการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตไว้คังนี้

1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

ซึ่งกำลังศึกษาวิชาการงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 171 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ซึ่งกำลังศึกษาวิชาการงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 105 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อนำมาทดถอง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 35 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 35 คน และครั้งที่ 3 จำนวน 35 คน

3. เนื้อหาที่นำมาสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกมาขั้นพื้นฐาน พ ศ 2551 (ปรับปรุงแก้ใป 2560)

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ทักษะภาคปฏิบัติ หมายถึง พฤติกรรมของผู้เรียนในการประยุกต์ความรู้และทักษะต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ

2. แบบวัดภาคปฏิบัติ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดทักษะการปฏิบัติงาน สารที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งงานที่กำหนดให้ปฏิบัตินี้ต้องสามารถสังเกตการณ์ดำเนินงาน และตรวจสอบผลงานภาคปฏิบัติได้

3. เกณฑ์การให้คะแนน หมายถึง การให้คะแนนที่ถูกพัฒนาโดยครูหรือผู้ประเมินที่ใช้วิเคราะห์ผลงานหรือกระบวนการที่ผู้เรียนได้พยายามสร้างขึ้น การประเมินผลงานของนักเรียนจะมี 2 ลักษณะ คือ ผลงานที่ได้จากกระบวนการของนักเรียน และกระบวนการที่นักเรียนใช้เพื่อให้เกิดผลงาน จะประเมินในลักษณะใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ ผู้ประเมินจะต้องตัดสินคุณภาพของผลงาน หรือกระบวนการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละคนที่มีระดับที่แตกต่างกันหลายระดับ ระดับที่แตกต่างกันอาจจะเป็นระดับคุณภาพของชิ้นงานที่ได้สร้างขึ้น หรือระดับของกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้เรียนแต่ละคนได้ใช้เพื่อให้เกิดผลงาน

4. เกณฑ์การวัด หมายถึง แนวทางการให้คะแนนซึ่งสามารถแยกแยะระดับต่าง ๆ ของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจน

5. เกณฑ์การประเมิน หมายถึง แนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อชี้บอกถึงระดับของพฤติกรรมในการกระทำกิจกรรมด้วยการพิจารณาจากคุณภาพของกระบวนการทำงานแต่ละขั้นตอนและผลหรือสิ่งที่ต้องการ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้มาตรฐาน

2.เป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจ / ครู ที่จะพัฒนาแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและกลุ่มสาระอื่น

กรอบแนวคิดการวิจัย

การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นกลุ่มสาระที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในประจำวันและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการทำงาน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนั้นหากครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนได้อย่างมีความหมายนั่นคือให้ผู้เรียน เรียนรู้จากประสบการณ์สามารถสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะการทำงานปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีงานด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมแก่ผู้เรียน ให้สามารถพึ่งตนเองและดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ช่วยให้ครอบครัวและสังคมอยู่อย่างเป็นสุข เพื่อให้การจัด การเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนที่มีความหมายอยากเรียนรู้จึงต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบวัดและเกณฑ์การประเมินทักษะภาคปฏิบัติ ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ซึ่งกำลังศึกษาวิชาการงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 171 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี ซึ่งกำลังศึกษาวิชาการงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 105 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เพื่อนำมาทดถอง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 35 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 35 คน และครั้งที่ 3 จำนวน 35 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ เการดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ ขั้นผลงาน ขั้นกิจนิสัย แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วัดทักษะภาคปฏิบัติ จำนวน 1 ฉบับ มี 5 งาน

2.2 เกณฑ์การให้คะแนนแบบทักษะภาคปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.3 เกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ การดำรงชีวิตและครอบครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กำหนดเกณฑ์การผ่าน คือ

ได้คะแนน 0 - 45 คะแนน หมายถึง ไม่ผ่าน

ได้คะแนน 50 - 75 คะแนน หมายถึง ผ่านในระดับพอใช้

ได้คะแนน 80 - 100 คะแนน หมายถึง ผ่านในระดับดี

3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ฉบับ มี 5 งาน

3.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และผลงานการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะการปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ

3.2 ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา สาระที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562

3.3 แบ่งเนื้อหาสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ทั้งหมด 5 หน่วย

3.4 วิเคราะห์เนื้อหา และเลือกงานที่จะสร้างแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3.5 กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตัวชี้วัด พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์การประเมินและรายละเอียดในการให้คะแนน

3.6 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด และเกณฑ์การให้คะแนนกับรายละเอียดการให้คะแนน โดยผู้วิจัยนำแบบวัดและเกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้นขอความอนุเคราะห์ตรวจสอบความสอดคล้อง จำนวน 5 คน

3.7 จัดพิมพ์แบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติเพื่อนำไปทคลองใช้ดังนี้

3.7.1 ครั้งที่ 1 นำแบบวัดไปทดลองกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาการงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 35 คน ผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน คือ ผู้วิจัยกับครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของของกิจกรรม / เวลา / อุปกรณ์ ของแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3.7.2 ครั้งที่ 2 นำแบบวัดทั้งฉบับไปทดลองกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนวิชาการงานอาชีพ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 35 คน คนผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน คือผู้วิจัยกับครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

3.7.3 หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสังเกตวัดภาคปฏิบัติโดยใช้สูตรของ Whitney and Sabers (ไพศาล วรคำ, 2559, หน้า 308) ทั้งฉบับ ปรับปรุงข้อบกพร่องหรือส่วนที่ไม่สมบูรณ์ให้แบบวัดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3.7.4 หาค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต 2 คนโดยผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการตรวจของผู้วิจัยและครูผู้สอน 1 คนของแบบวัดแต่ละฉบับมาตรวจสอบความเป็นปรนัยของการตรวจให้คะแนนโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) (กมลวรรณ ดังธนกานนท์ 2557, หน้า 64) ทั้งฉบับ ปรับปรุงข้อบกพร่องหรือส่วนที่ไม่สมบูรณ์ให้แบบวัดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3.7.5 ครั้งที่ 3 เป็นการนำไปใช้จริงผู้วิจัยนำแบบวัดภาคปฏิบัติสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 35 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งมี

ผู้สังเกตให้คะแนน 2 คนคือผู้วิจัยกับครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี

3.7.6 การวิเคราะห์เครื่องมือวัดคุณภาพแบบวัดทักษะภาคปฏิบัตินำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ดังนี้

1) หาค่าสถิติพื้นฐานของแบบวัดภาคปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยของคะแนน (Mean) (สมนึก ภัททิยธนี, 2553, หน้า 237) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (สมนึก ภัททิยธนี, 2553, หน้า 250 - 251)

2) หาค่าความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับงานกำหนดให้ปฏิบัติและค่าความสอดคล้องระหว่างคะแนนเกณฑ์ที่กำหนดรายละเอียดการให้คะแนน โดยการคำนวณหาค่า IOC (ไพศาล วรคำ, 2559, หน้า 269 - 267)

3) หาค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ( โดยใช้สูตรของ Whitney and Sabers (1970) (ไพศาล วรคำ,2559, หน้า 308)

4) หาค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ให้คะแนน 2 คน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) (กมลวรรณ ดังธนกานนท์, 2557, หน้า 64)

5) ประเมินทักษะภาคปฏิบัติแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสาระ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กำหนดเกณฑ์การผ่าน คือ ได้คะแนน 0 - 45 คะแนน ไม่ผ่าน, ได้คะแนน 50 - 75 คะแนน ผ่านในระดับพอใช้, ได้คะแนน 80 - 100 คะแนน ผ่านในระดับดี

3.3.7 การจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ ลักษณะของแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลำดับต่อไปนี้

4.1 จัดเตรียมแบบวัดและเกณฑ์การประเมินแบบวัดทักษะกาคปฏิบัติ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไปทดสอบกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างตามเวลาที่ให้นัดหมายในการทคสอบผู้วิจัยแนะนำและชี้แจงให้ครู 2 คน ที่สอนในรายวิชาที่จะเป็นผู้ตรวจให้คะแนนผลการประเมินภาคปฏิบัติของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทราบถึงวัตถุประสงค์ของการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และเกณฑ์การให้คะแนน

4.2 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาคุณภาพแบบวัดภาคปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่

4.1.1 ค่าเฉลี่ย

4.1.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

4.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่

4.2.1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

4.2.2 ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดภาคปฏิบัติของ Whitney and Sarbers

4.2.3 ค่าความเชื่อมั่น ใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้นำแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นทั้งฉบับ ไปปรับปรุงแก้ไขจากการทคลองครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นำไปใช้จริง เพื่อหาคุณภาพทั้งฉบับกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ซึ่งเป็น กลุ่มนักเรียนที่ไม่ซ้ำกันกับกลุ่มทดลองที่ใช้ทคลองครั้งที่ 1 และ 2 นำผลจากการสังเกตมาวิเคราะห์หาค่าสถิติเบื้องต้น ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยทั้งฉบับ คำความเชื่อมั่นของผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน สรุปได้ผลดังนี้

1. ค่าอำนาจจำแนกรายฉบับ ปรากฎว่า งานที่ 1 ถึง งานที่ 5 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.512 ถึง 0.765 แสดงว่า ค่าอำนาจจำแนกรายข้อทั้ง 5 งานผ่านเกณฑ์คุณภาพ

2. ค่าความเชื่อมั่นจากการสังเกตการปฏิบัติงานของนักเรียนจากผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.857 ถึง 0.975 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นผ่านเกณฑ์คุณภาพทั้ง 5 งาน

3. ผลการประเมินทักษะภาคปฏิบัตินักเรียน จำนวน 35 คน พบว่า อยู่ในระดับดีทั้ง 35 คน

อภิปรายผล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยนำมาอภิปรายได้ดังนี้

1. การสร้างแบบวัดและเกณฑ์การให้คะแนนแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ

1.1 สถิติเบื้องต้นของแบบวัดทักษะปฏิบัติทั้งฉบับ ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน มีค่าอยู่ระหว่าง 16 - 20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบวัดทักษะปฏิบัติ มีค่าตั้งแต่ 1.263 - 3.009 จะเห็นว่าแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติชุดนี้ คะแนนแต่ละตัวมีการกระจายกันมาก สมนึก ภัททิยธนี (2546, หน้า 214 - 249) ค่าเฉลี่ยของผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน อยู่ในระดับปานกลาง เป็นเพราะว่านักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติงานตามแบบวัดทักษะปฏิบัติได้ดี และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายคะแนนในระดับดีนั้นเป็นเพราะนักเรียนมีความสามารถการปฏิบัติงานแตกต่างกันแสดงให้เห็นว่าแบบวัดทักษะปฏิบัติที่สร้างขึ้นสามารถจำแนกความสามารถของนักเรียนได้ซึ่ง บุญชม ศรีสะอาด (2545, หน้า 106) ได้กล่าวถึงส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ว่าเป็นสถิติที่ช่วยให้ทราบถึงความแตกต่างหรือการผันแปรของคะแนนในกลุ่ม ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากแสดงว่าคะแนนของเด็กแตกต่างกันมาก

1.2 ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติ โดยใช้สูตรของวิทนีย์และซาเบอส์ (Whitney and Sabers) (ไพศาล วรคำ, 2559, หน้า 308) ปรากฎว่าค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยทั้งฉบับของแบบวัดทักษะปฏิบัติทั้งฉบับ มีค่าตั้งแต่ 0.512 ถึง 0.765 จะเห็นว่าแบบวัดทักษะปฏิบัติมีความเป็นปรนัยของการให้คะแนนที่ชัดเจน มีค่าอำนาจจำแนก สามารถจำแนกนักเรียน กลุ่มสูงออกจากกลุ่มต่ำได้ดี ถือว่าแบบวัดภาคปฏิบัติที่มีคุณภาพสอดคล้องกับงานวิจัยของ ไพลินรัตน์ ทองสุ (2550) สร้างแบบทคสอบวัดทักษะปฏิบัติสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยทั้งฉบับระหว่าง 0.885 - 0.970 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีนอกจากนี้ สมบัติ ท้ายเรือคำ (2546, หน้า 76) ได้กล่าวว่า เกณฑ์การพิจารณาค่าอำนาจจำแนก 0.40 ขึ้นไป หมายความว่าข้อสอบนั้นมีคุณภาพดีมาก

1.3 ความเชื่อมั่นของผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน ของแบบวัดทักษะปฏิบัติทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ปรากฎว่ามีค่าตั้งแต่ 0.857 ถึง 0.975 แสดงว่าแบบวัดทุกฉบับมีความเป็นปรนัยในการให้คะแนนสูง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน สื่อความหมายโดยไม่ต้องดีความ ไม่ว่าใครตรวจให้คะแนนก็ได้คะแนนที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นแบบวัดภาคปฏิบัติที่มีความเชื่อมั่นดังที่ประวิต เอราวรรณ์ (2543, หน้า 112) กล่าวไว้ว่าความเชื่อมั่นเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญมากที่สุด การที่จะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้รวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูลไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง ทำงานด้วยความรอบคอบ

1.4 ผลการประเมินของผู้สังเกตให้คะแนน 2 คน คะแนนเฉลี่ยรวมทั้งฉบับ 100 คะแนน แต่ละงาน เต็ม 20 คะแนน ทั้ง 5 งาน ของนักเรียน 35 คน ปรากฎว่ามีค่าตั้งแต่ 16 – 20 แสดงว่านักนักเรียนสามารถปฏิบัติตามแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติได้อยู่ในระดับดีทั้ง 35 คน แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติสามารถประเมินได้ทั้งกระบวนการและผลงานที่แสดงออกมาขณะปฏิบัติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นแบบวัดภาคปฏิบัติที่ตัดสินผลการประเมินได้ชัดเจน

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 ก่อนนำแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติไปใช้ ผู้ประเมินควรมีรู้ความเข้าใจในขั้นตอนรูปแบบของการปฏิบัติทักษะ และเกณฑ์การประเมิน เพื่อการประเมินจะได้มีประสิทธิภาพสูงมากที่สุด

1.2 ก่อนนำแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติไปใช้ ด้องชี้แจงให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของแบบวัดทักษะและเกณฑ์การประเมิน อย่างชัดเจน เพื่อการประเมินจะสอดคล้องกับสิ่งที่ปฏิบัติมากที่สุด

1.3 ในการนำแบบวัดทักษะกาคปฏิบัติไปใช้ต้องคำนึงถึงความพร้อมของนักเรียนในการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุฝึก เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการใช้แบบวัดทักษะภาคปฏิบัติมากที่สุด

1.4 ควรแบ่งการประเมินเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นักเรียนได้รับผลสะท้อนและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องได้

2. ข้อเสนอแนะเพื่อทำการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการพัฒนาแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติในระดับชั้นอื่นและรายวิชาอื่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การวัดผลภาคปฏิบัติในระดับอื่น และรายวิชาอื่นมีความเป็นปรนัยและมีคุณภาพมากยิ่งขั้น

2.2 ควรมีการสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติและเกณฑ์การประเมินที่ ละเอียดมากยิ่งขึ้น

2.3 ควรมีการสร้างแบบวัดทักษะภาคปฏิบัติส่งเสริมทางด้านอาชีพ เช่น การประกอบอาหารนานาชาติ การปลูกพืชเศรษฐกิจ

อ้างอิง

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั่งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

โพสต์โดย นานาจิปาถะ : [21 ม.ค. 2565 เวลา 00:51 น.]
อ่าน [3572] ไอพี : 182.232.218.203
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 23,133 ครั้ง
คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้อย่างไร

เปิดอ่าน 9,174 ครั้ง
ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องเร่งแก้ไขพฤติกรรม
ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องเร่งแก้ไขพฤติกรรม

เปิดอ่าน 3,951 ครั้ง
วัยทำงาน มีภาวะอ้วน แนะหลัก "3อ 2ส 1ฟ 1น" ลดเสี่ยง
วัยทำงาน มีภาวะอ้วน แนะหลัก "3อ 2ส 1ฟ 1น" ลดเสี่ยง

เปิดอ่าน 20,109 ครั้ง
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือน (2)
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือน (2)

เปิดอ่าน 22,556 ครั้ง
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ

เปิดอ่าน 1,083 ครั้ง
นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน
นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน

เปิดอ่าน 22,837 ครั้ง
หมอเตือนอย่ากิน"แมลงทอด"กับ"เหล้า-เบียร์"
หมอเตือนอย่ากิน"แมลงทอด"กับ"เหล้า-เบียร์"

เปิดอ่าน 38,252 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ

เปิดอ่าน 14,766 ครั้ง
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”

เปิดอ่าน 66,095 ครั้ง
โฮเนะคาวา ซูเนโอะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โฮเนะคาวา ซูเนโอะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน

เปิดอ่าน 8,096 ครั้ง
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?

เปิดอ่าน 10,589 ครั้ง
เด็กชายใช้เงินหมดทุกสัปดาห์ พ่อสงสัยแอบตามสืบ แต่กลับพบสิ่งไม่คาดคิด
เด็กชายใช้เงินหมดทุกสัปดาห์ พ่อสงสัยแอบตามสืบ แต่กลับพบสิ่งไม่คาดคิด

เปิดอ่าน 23,194 ครั้ง
เครื่องหมาย *, # ในโทรศัพท์มีไว้ทำไม
เครื่องหมาย *, # ในโทรศัพท์มีไว้ทำไม

เปิดอ่าน 60,215 ครั้ง
สูตรคูณ
สูตรคูณ

เปิดอ่าน 14,918 ครั้ง
เผยโฉมสาวงามทั่วโลกชิง มิสยูนิเวิร์ส 2009
เผยโฉมสาวงามทั่วโลกชิง มิสยูนิเวิร์ส 2009

เปิดอ่าน 16,198 ครั้ง
ดูกันหรือยัง? เกือบจะ 40 ล้านวิวแล้ว โฆษณาน้ำแร่ดังยี่ห้อหนึ่ง
ดูกันหรือยัง? เกือบจะ 40 ล้านวิวแล้ว โฆษณาน้ำแร่ดังยี่ห้อหนึ่ง
เปิดอ่าน 8,196 ครั้ง
แนะพ่อแม่เลือกเฟ้น หลีกของเล่นอันตราย
แนะพ่อแม่เลือกเฟ้น หลีกของเล่นอันตราย
เปิดอ่าน 16,153 ครั้ง
แว่นกันแดดแฟชั่น สวย เสี่ยง
แว่นกันแดดแฟชั่น สวย เสี่ยง
เปิดอ่าน 16,302 ครั้ง
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
เปิดอ่าน 10,869 ครั้ง
10 เคล็ดลับลดอ้วน...เมื่อเป็นเบาหวาน
10 เคล็ดลับลดอ้วน...เมื่อเป็นเบาหวาน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ