ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI
เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางพรทิพย์ ประเมธิ์ศรี
โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค การสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t test Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.04/81.70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยรวม (X- = 4.26, S.D. = 0.93) และเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีความพึงพอใจมากที่สุด (X-= 4.31, S.D.
= 0.91) รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X-= 4.29, S.D. = 0.88) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านรูปแบบชุดการเรียนรู้ (X-= 4.20, S.D. = 0.98)