การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
An Project Evaluation of White School, All Vices and Drug Free School, using CIPPIEST Model in Choomchon Bahn Vaeng Yai School.
นายพรสมบัติ ศรีไสย
ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 2) เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 3) เพื่อประเมินกระบวนการ การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประกอบด้วย 4.1 เพื่อประเมินกระทบในการดำเนินงาน 4.2 เพื่อประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการ 4.3 เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการ และ4.4 เพื่อประเมินการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ
ผลการประเมินพบว่า
1) ผลการประเมินบริบทการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ
อบายมุข พบว่า โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก 2) ผลการประเมินปัจจัยในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข พบว่า โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก 3) ผลการประเมินกระบวนการการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข พบว่า โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก 4) ผลการประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก 4.1 ผลการประเมินกระทบในการดำเนินงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4.2 ผลการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมาก 4.3 ผลการประเมินความยั่งยืนของโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมาก 4.4 ผลการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข , CIPPIEST Model
Abstract
An Project Evaluation of White School, All Vices and Drug Free School, using CIPPIEST Model in Choomchon Bahn Vaeng Yai School aimed 1) to evaluate the operation context of white school project 2) to evaluate operation factor of white school project 3) to evaluate the operation process of white school project and 4) to evaluate the operation output of white school project including 4.1) to evaluate the operation effect 4.2) to evaluate the project effectiveness 4.3) to evaluate the project sustainability and 4.4) to evaluate the project propagation.
The results revealed that
1. The operation context of white school project evaluation in overall was in high level.
2. The operation factor of white school project evaluation in overall was in high level.
3. The operation process of white school project evaluation in overall was in high level.
4. The operation output of white school project evaluation in overall was in high level.
4.1. The evaluation of operation effect was in high level.
4.2. The evaluation of the project effectiveness was in high level.
4.3. The evaluation of the project sustainability was in high level.
4.4. The evaluation the project propagation was in highest level.
KEYWORDS : Project Evaluation of White School , CIPPIEST Model.
บทนำ
ยาเสพติดนี้มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจทั้งข้าราชการ ตำรวจ ทหาร หรือโรงพยาบาลของรัฐและของเอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมดและสิ้นเปลือง คนทั่วไปก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด นับแต่ต้องมาเสียค่าดูแล และรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อน อย่างนี้เสียเงินและเสียชื่อเสียง
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตาลดาวันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2545
รัฐบาลได้ยกระดับปัญหายาเสพติด ซึ่งจัดอยู่ในปัญหาด้านความมั่นคงที่ต้องได้รับการแก้ไขในระดับสําคัญเร่งด่วน ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง แผนย่อยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มี ผลกระทบต่อความมั่นคง ส่วนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและการพัฒนาประเทศ แนวทางการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้กําหนดเป้าหมายการดําเนินการต่อปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาความมั่นคงที่มี อยู่ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2563 - 2565 คือ ระดับความสําเร็จของการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในปัจจุบันดีขึ้น คือดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคม เป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยังยืน โดยการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดเป็นประเด็นปัญหาภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ (1) การรักษาความสงบภายในประเทศ (2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง (3) การพัฒนาศักยภาพของประเทศ ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ (4) การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับ อาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ และ (5) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวม โดยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นประเด็นปัญหาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแก้ไข ปัญหาเดิมที่มีอยู่ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นใหม่ ส่งผลให้การบริหารจัดการและการพัฒนาประเทศ ในทุก ๆ ด้าน ดําเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกุญแจสําคัญที่จะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 : 3)
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบาย มาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษาดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยผู้บริหารทุกระดับนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่การปฏิบัติจัดทำแผนปฏิบัติการ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา ให้ความสำคัญและมีจิตสำนึกร่วมกันที่จะ ปกป้องคุ้มครองดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ความร่วมมือและร่วมแรงร่วมใจ จัดกิจกรรม ทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ (คู่มือการประเมินสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข , 2559 : 3)
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อต้านยาเสพติดให้กับผู้เรียน โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่จึงได้ดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมาโดยใช้แนวคิดและหลักการ 4 ประสาน 2 ค้ำ คือ ผู้บริหาร ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน ผู้นำปรัชญาชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เป็นการเฝ้าระวังปัญหาไม่ให้เกิดกับนักเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองไว้วางใจในมาตรการของโรงเรียน เพื่อประกันความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียนทุกคนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและห่างไกลจากภัยยาเสพติด และเพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการสู่ร่วมกันปฏิบัติ มีการดำเนินงาน 5 มาตรการ ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ เป็นแนวทางการดำเนินงาน เพื่อลดความรุนแรงในการแพร่ระบาดของยาเสพติด การพัฒนานักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง (แผนปฏิบัติการประจำปีโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ , 2559 : 44)
ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปพัฒนาโครงการได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ในการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ในครั้งนี้ ผู้ประเมินจึงได้ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จะนำไปพัฒนาโครงการให้ยังยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model มีดังต่อไปนี้
1. เพื่อประเมินบริบทการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้วงจรคุณภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
2. เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้วงจรคุณภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
3. เพื่อประเมินกระบวนการ การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้วงจรคุณภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
4. เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้วงจรคุณภาพ โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ดังนี้
4.1 เพื่อประเมินกระทบในการดำเนินงาน
4.2 เพื่อประเมินประสิทธิผล การดำเนินงานโครงการ
4.3 เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการ
4.4 เพื่อประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ โครงการ
ขอบเขตของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model มีขอบเขตของการประเมินโครงการดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model อ้างอิงใน รัตนะ บัวสนธ์ (2556 : 10-16) มาเรียม นิลพันธุ์ (2553 : 31-32) และประภัสสร วงษ์ดีและคณะ(2554 : 84-90) ซึ่งประกอบด้วย
1. ประเมินบริบท (Context Evaluation) การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
2. ประเมินปัจจัย (Input Evaluation) ในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่
4. ประเมินผลลัพธ์ (Product Evaluation) ของการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ดังนี้
4.1 การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ (Product Evaluation) แบ่งรายการประเมิน ดังนี้
4.1.1 การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
4.1.2 การประเมินประสิทธิผล (Effective Evaluation)
4.1.3 การประเมินความ ยังยืน (Sustainability Evaluation)
4.1.4 การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transport Evaluation)
4.2 ประเมินความพึงพอใจด้านผลลัพธ์ของโครงการ
ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ในการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ได้กำหนดประชากรและกำตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการดังนี้
1. ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ รวมทั้งสิ้น จำนวน 700 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยผู้แทนผู้ปกครอง 1 คนผู้แทนครู 1 คนผู้แทนองค์กรชุมชน 1 คนผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คนผู้แทนศิษย์เก่า 1 คนผู้แทนองค์กรศาสนา 1 รูปหรือ 1 คนผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นประธาน 1 คนจำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 300คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 360 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 43-44) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 393 คน แบ่งเป็นครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากนั้นใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) (ยุทธ ไกยวรรณ์และกุสุมา ผลาพรม, 2553, หน้า 132) ข้อมูลดังตาราง
ตารางที่ จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ลำดับ ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง จำนวนประขากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
1 ครูผู้สอน 26 24
2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 14
3 ผู้ปกครองนักเรียน 300 169
4 นักเรียน 360 186
3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาเสริมผลการประเมินให้ชัดเจนขึ้นได้มาโดยการเลือก โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 39 คน ดังนี้
2.1 ครูผู้สอนชั้นละ 1 คนรวม 15 คน
2.2 คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 คน
2.3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นละ 1 คน จำนวน 15 คน
2.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ห้องละ 1 คนรวม 8 คน
ขอบเขตด้านระยะเวลา
การประเมิน โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ผู้ประเมินได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563 (วันที่ 1 กรกฎาคม พ.. 2563 ถึงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564)
นิยามศัพท์เฉพาะ
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้ศัพท์บางคำในความหมายและขอบเขตจำกัด ดังนี้
การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการที่รวบรวมข้อมูลหรือกระบวนการดำเนินงานเพื่อหาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข หมายถึง การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีเป้าหมายให้โรงเรียนปลอดยาเสพติดและปัจจัยเสี่ยงทุกชนิดมีการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model หมายถึง กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจในการแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมและใช้ในการดำเนินงานตาม โครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ปีการศึกษา 2563 ติดต่อไปโดยการรวบรวมข้อมูลจากโครงการโดยใช้รูปแบบ CIPPIEST Model มาประยุกต์ใช้ในการประเมินประกอบด้วย
การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) หมายถึง การประเมินผลด้าน นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด นโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ระบบข้อมูลสารเทศ ที่จำเป็นต่อการดำเนิน โครงการนโยบายของสถานศึกษา ความสำคัญของโครงการ การประเมินผลด้านด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) หมายถึง การประเมินผลด้าน ความพร้อม ความรู้ความเข้าใจ ด้านความสามารถ ของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับงบประมาณ ระยะเวลา สื่อวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ให้บรรลุวัตถุประสงค์
การประเมินผลด้านกระบวนการ(Process Evaluation : P) หมายถึง การประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ซึ่งกระบวนการบริหารโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ประกอบด้วย 1) การเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน (Plan: P) 2) การดำเนินงานตามแผน (Do: D) 3) ตรวจสอบ นิเทศ กำกับ ติดตาม (Check: C) 4) การประเมินผลและการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ (Act: A) 2 ประเมินมาตรฐานตัวชี้วัดและตัวบ่งชี้ จำนวน 5 มาตรฐาน 16 ตัวบ่งชี้
ประเมินผลลัพธ์ (Product Evaluation : P) หมายถึงการประเมินผลลัพธ์ แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน
1.การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ได้แก่ ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการ ประเมินพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงานโครงการ
2. การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ได้แก่ ด้านการตอบสนอง ด้านความรู้ ด้านความสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริง
3. การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ได้แก่ ความสามารถในการพึ่งพาตัวเองของโครงการ สถานที่ สื่อ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ การดูแล ตรวจสอบและการขยายผล โครงการ
4. ด้านการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ได้แก่ ประเมินแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการ
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐาน ที่ต้องการให้เกิดขึ้นซึ่งใช้ ข้อบ่งชี้ ในการบอกสถานภาพและสะท้อนลักษณะดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 มาตรฐาน 16 ตัวบ่งชี้
กรอบแนวคิดการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการประเมินโครงการ
ระเบียบวิธีวิจัย
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยเลือกประเมินในรูปแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ รัตนะ บัวสนธ์ (2556 : 10-16) มาเรียม นิลพันธุ์ (2554 : 31-32) และประภัสสร วงษ์ดีและคณะ(2554 : 84-90) ซึ่งประกอบด้วย
1. ประเมินบริบทการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ประกอบด้วย นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด นโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ ระบบข้อมูลสารเทศ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ นโยบายสถานศึกษา และความสำคัญของโครงการ
2. ประเมินปัจจัยในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ประกอบด้วย ครูผู้สอน มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการดำเนินงานโครงการ ความพอเพียงของงบประมาณในการดำเนินโครงการ อาคารสถานที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการ ระยะเวลา สื่อ อุปกรณ์ เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ
3. ประเมินกระบวนการ การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
3.1 ระบบบริหารโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ได้แก่ 1) การเตรียมและวางแผนการดำเนินงาน (Plan: P) 2) การดำเนินงานตามแผน (Do: D) 3) การนิเทศกำกับติดตาม (Check: C) 4) การประเมินผลและการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ (Act: A)
3.2 ประเมินมาตรฐานตัวชี้วัดและตัวบ่งชี้โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model จำนวน 5 มาตรฐาน 16 ตัวบ่งชี้
4. ประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ดังนี้
4.1 ประเมินกระทบ ในการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
4.2 ประเมินประสิทธิผล การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
4.3 ประเมินความยั่งยืน ของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
4.4 ประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้ประเมินดำเนินการประเมินโครงการโดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ของการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model
2 ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับรูปแบบการประเมินโครงการ และการประเมินโครงการ
3. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับรูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ)รัตนะ บัวสนธ์ (2556 : 10-16) มาเรียม นิลพันธุ์ (2553 : 31-32) และประภัสสร วงษ์ดีและคณะ(2553 : 84-90) ซึ่ง ประกอบไปด้วย การประเมิน 4 ด้าน ดังนี้
1. การประเมินบริบท (Context Evaluation)
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation
4. การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ (Product Evaluation) ดังนี้
4.1 การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ (Product Evaluation) แบ่งรายการประเมิน ดังนี้
4.1.1 การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
4.1.2 การประเมินประสิทธิผล (Effective Evaluation)
4.1.3 การประเมินความยังยืน (Sustainability Evaluation)
4.1.4 การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transport Evaluation)
4.2 ประเมินความพึงพอใจด้านผลลัพธ์ของโครงการ
4. กำหนดโครงสร้างของการประเมิน โดยได้แสดงสิ่งที่จะศึกษา แหล่งข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ จำแนกตามโครงสร้างของการประเมินแบบ CIPPIEST Model
5. กำหนดขอบเขตและหัวข้อการประเมิน โดยกำหนดมิติที่ประเมิน ข้อคำถามและผู้ให้ข้อมูล ตามความเหมาะสม
6. สร้างแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ตามโครงสร้างของการประเมินที่กำหนดไว้แล้วมา ขยายรายละเอียดของข้อคำถามตาม มิติที่ประเมิน สิ่งที่ประเมิน และกลุ่มตัวอย่าง
7. นำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจและปรับปรุง แก้ไข
8. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น
9. นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจริง
10. นำแบบสัมภาษณ์ไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model มี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และ แบบสัมภาษณ์ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สำหรับโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ด้านบริบท
ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ด้านปัจจัยนำเข้า
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ด้านกระบวนการ
ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ด้านผลลัพธ์ของโครงการ
ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความความพึงพอใจด้านผลลัพธ์ของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model ด้านผลลัพธ์ของโครงการ
2. แบบสัมภาษณ์ เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีประเด็นในการสัมภาษณ์ตามกลุ่มตัวอย่างต่าง ๆ จำนวน 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model สำหรับนักเรียน รายการสัมภาษณ์ จำนวน 4 ข้อด้าน ปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์
ฉบับที่ 2 แบบสัมภาษณ์การบริหารโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model สำหรับครูผู้สอน จำนวน 4 ข้อ ด้านการเตรียม และวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และด้านการ ประเมินผล
ฉบับที่ 3 แบบสัมภาษณ์โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 4 ข้อ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ประเมินได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน และแบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินได้นำแบบสอบถามไปส่งด้วยตนเอง ส่วนแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง นักเรียนผู้ประเมินได้ฝากนักเรียนนำส่งผู้ปกครองนักเรียนและให้นำกลับมาส่งภายในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2563
2. แบบสอบถามสำหรับนักเรียน ผู้ประเมินมอบหมายให้ครูประจำชั้นอธิบายวิธีการ ประเมินให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ แล้วให้นักเรียนประเมินในห้องเรียน
3. สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง แต่ละกลุ่มผู้ประเมินเป็นผู้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง
4. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับมาเป็นฉบับสมบูรณ์ทุกฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 ของแบบสอบถามทั้งหมด
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ประเมินนำผลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูล โดย ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทั้งหมด แล้วคัดเลือกเฉพาะ แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่า แบบสอบถามความคิดเห็น/ความพึงพอใจมี ความสมบูรณ์ครบ ร้อยละ 100
2. การวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินโครงการจากแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยนำแบบสอบถาม ที่ได้ทั้งหมดมาจัดระเบียบข้อมูลลงรหัส และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อ คำนวณหาค่าสถิติ ดังนี้
2.1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่า ร้อยละ (percentage) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย
2.2 วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นจากการประเมินความพึงพอใจ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model โดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย โดยให้ความหมายของ บุญชม ศรีสะอาด (2553 :99) ตามรายละเอียดดังนี้
4.51-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
3.51-4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก
2.51-3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
1.51-2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อย
3. การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตีความ วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสร้างข้อสรุป
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ โดยใช้ CIPPIEST Model สรุปผลการประเมินดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ของครูผู้สอน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนรู้จักโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข แต่ด้านการประกาศใช้นโยบายของสถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ อยากให้ทำป้ายประกาศให้ทั่วถึง และประกาศนโยบายลงใน Website Line หรือ Face book ของโรงเรียนจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน และจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง นักเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความ ต้องการให้โรงเรียนการประกาศนโยบายโครงการ ควรประกาศลงในสื่อ Social ของทางโรงเรียนและชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้นโยบายและแนวปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ของครูผู้สอน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า ด้านผู้สอนทำกิจกรรม นอกจาก ครูผู้สอน ตำรวจ นักเรียนแกนนำ ต้องการมีวิทยากรจากภายนอกมาช่วยในการสอนมากขึ้น เช่น ทหาร หมอ พยาบาล ด้านสื่ออุปกรณ์ โรงเรียนมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการให้ มากกว่านี้ อาจจะขอรับบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้มีจิตศรัทธาช่วย บริจาค ด้านอาคารสถานที่ มีห้องจัดกิจกรรมโครงการเป็นสัดส่วน สวยงามปลอดภัยน่าเรียน ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม ข้อดีหรือความประทับใจในสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ชอบเรียนจาก สื่อที่มีชีวิต เช่น ละครและบทบาทสมมุติ จากนักเรียนแกนนำ และเรียนจากสื่อคอมพิวเตอร์เพราะได้ค้นคว้าหาข้อมูลเองได้ตลอดเวลาเท่าที่ต้องการรู้ และจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความต้องการต้องการให้โรงเรียนมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ ให้ทันสมัยมากขึ้น และห้องเรียนทุกห้องเรียนควรสามารถจัดกิจกรรมโครงการได้ ผู้ให้ความรู้อยากให้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรด้านนอกเพื่อความรู้เข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ได้แก่
3.1 การประเมินด้านการบริหารโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ของครูผู้สอน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ จากการสัมภาษณ์นักเรียน ด้านกระบวนการ พบว่า โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้านบริหารจัดการกิจกรรมโครงการ ไม่มีข้อบกพร่อง คณะครูจัดกิจกรรมได้อย่าง ดีเยี่ยมนักเรียนส่วนใหญ่มีความสุข และสนุกสนานเวลาเรียน อยากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมของโครงการนี้ ตลอดไป กิจกรรมที่นักเรียนชอบมากที่สุดคือ ครู DARE ส่วนด้านวัดผลประเมินผลตัวบ่งชี้โครงการ อยากให้ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดผลที่หลากหลาย เช่น การแสดงละคร การแสดงออกทางกิจกรรมสร้างสรรค์ ให้มากกว่าทำข้อสอบ ใบงาน และจากนั้นได้ไปสัมภาษณ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนด้านกระบวนการ พบว่า โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้ดีทุกกิจกรรม แต่อยากให้ เพิ่มกิจกรรมทำความดีทุกวัน กิจกรรมเขียนบันทึกประจำวัน และเพิ่มความเข้มงวดกวดขันเรื่องระเบียบวินัยของนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเพราะสื่อทุกวันนี้อันตราย การอบรมหน้าเสาธงควรมีการสอดแทรกเรื่องยาเสพติดให้บ่อยขึ้น ควรให้ครอบครัวมี ส่วนรับทราบปัญหามากขึ้นทั้งนี้ส่วนใหญ่นักเรียนอยู่กับตา ยายซึ่งดูแลนักเรียนไม่ค่อยได้ และให้ชุมชนมี ส่วนร่วมในการดูแลนักเรียน
3.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการบริหารงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ของครูผู้สอน รายด้าน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ด้านการประเมินผลและการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านการเตรียมการและวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการดำเนินงานตามแผน อยู่ใน ระดับมาก และลำดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านตรวจสอบ นิเทศ กำกับ ติดตาม อยู่ในระดับมาก
3.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ของครูผู้สอน รายด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ มาตรฐานด้านการรักษา อยู่ในระดับมากที่สุด และ มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานด้านการค้นหา อยู่ในระดับมากที่สุด และ มาตรฐานด้านการป้องกัน อยู่ในระดับมาก ลำดับต่ำสุดได้แก่ มาตรฐานด้านการเฝ้าระวัง อยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์ ครูผู้สอน สรุปได้ว่า ครูผู้สอนได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมินผลและการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ของ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ มีความเหมาะสมในระดับมาก ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการออกประเมินผล ติดตามการดำเนินงานโครงการ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินงานโครงการ แล้วมีการนำผลการประเมินผลมา SWOT เพื่อหาแนวทางการพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้น
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ สามารถสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลการจัดกิจกรรมการประกอบการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ พบว่า โดยรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านประสิทธิผลโครงการ อยู่ในระดับมาก ลำดับต่ำสุดได้แก่ ด้านผลกระทบโครงการ อยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า หลังจากที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ หรือกิจกรรมอื่น ๆ เสร็จแล้ว นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องปรามยาเสพติดและอบายมุขมากขึ้น นักเรียนต้องการ ให้คณะครูพาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ นักเรียนชอบทุกกิจกรรม และโครงการมีเครือข่ายความรู้เพื่อขยายผลการดำเนินงานให้ยั่งยืน หลังนั้นได้ไปสัมภาษณ์กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ มีความเหมาะสมในระดับมาก เนื่องจาก ผู้บริหารเห็นความสำคัญของโครงการ ชุมชนเห็นความสำคัญของการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของบุตรหลานจึงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน บุตรหลานมีพฤติกรรมป้องงปรามยาเสพติดมากขึ้น ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในชุนชนลดลง
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง นักเรียน ด้านผลลัพธ์ของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า โดยรวมเฉลี่ย อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ ท่านตั้งใจและมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา บุตรหลานของท่านนำความรู้จากการจัดกิจกรรมของโครงการไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด และ บุตรหลานของท่านได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด และลำดับต่ำสุดได้แก่ ท่านมีความประสงค์อยากให้โรงเรียนดำเนินงานโครงการอย่างเนื่อง อยู่ในระดับ มาก และจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผู้บริหารต้องมี การสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านนี้มากขึ้น จะทำให้คณะครูมีกำลังใจและตั้งใจในการทำงาน มากขึ้น โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่มีความ เหมาะสมในระดับมาก เนื่องจาก ชุมชนเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของบุตรหลานจึง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนเป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินโครงการ
1.1 จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบผลการดำเนินงานตามโครงการ
สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ทั้ง 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ซึ่งมีผลการประเมินในระดับมากทุกกระบวนการ ดังนั้น โรงเรียนชุมชน บ้านแวงใหญ่ ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับโครงการ ควรมีการสำรวจสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการแพร่ระบาด นางสารเสพติดและอบายมุข ควรต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบการดำเนินงานโครงการสถานศึกษา ดาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ เพื่อพัฒนาผลการประเมินให้มีระดับที่สูงขึ้น
1.2 จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบความคิดเห็นของบุคคลที่ตอบแบบสอบถามแต่ละ กลุ่ม
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินการได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ควรเน้นการวางแผนการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้จริง
1.3 จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้โรงเรียน ทราบผลการ ดาเนิน
งานเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาโครงการต่อไปได้ ดังนั้น โรงเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ควรนำผล การประเมินในแต่ละด้านไปปรับใช้ และพัฒนาโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ อบายมุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินงานโครงการครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการทั้งก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดการ ดำเนินการเพื่อจะได้เห็นพัฒนาการของการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
2.2 ควรนำผลจากการประเมินครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมของโครงการให้เหมาะสมกับนักเรียน และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ . (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ
อบายมุขฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
พ.ศ. 2561 - 2580. 2561.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. 2560.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประภัสสร วงษ์ดีรัตนะ บัวสนธ์ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การประเมินโครงการตามแนว
ของ CIPIEST Model.วารสารครุสาร 3(1): 84-90.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบโดยใช้
รูปแบบ CIPP Model. คู่มือการประเมินหลักสูตรระดับบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 30-35.
รัตนะ บัวสนธ์ . (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและ
ถูกต้องในการใช้ , วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 (2) : 2-9.กรกฎาคม
ธันวาคม.