ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงาน การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

รายงาน การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่

ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

นายพรสมบัติ ศรีไสย

ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ 3) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า

1) รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 2 วงจร 10 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1

การเตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 การสังเกตผล ขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนผล ขั้นตอนที่ 6 การวางแผนใหม่ ขั้นตอนที่ 7 การปฏิบัติใหม่ ขั้นตอนที่ 8 การสังเกตผลใหม่ ขั้นตอนที่ 9 การสะท้อนผลใหม่ และ ขั้นตอนที่ 10 การสรุปผล (conclusion) 2) การประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ในภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง อยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2 วงจร 10 ขั้นตอน พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินการได้จัดทำโครงการในการพัฒนาสถานศึกษาทั้ง 3 ด้านตามกรอบการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร มี 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านผู้บริหาร ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา พัฒนาโดยโครงการสถานศึกษาพอเพียงการดำเนินงานตามโครงการนี้ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.80” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง 2) ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมกายภาพ มี 2 องค์ประกอบ คือ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้/ฐานการเรียนรู้ และหรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งพัฒนาโดยโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.70” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง และ 3) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก มี 2 องค์ประกอบ คือ ความสัมพันธ์กับสถานศึกษาศึกษาอื่นในการขยายผลการขับเคลื่อน และความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่สังกัดและ/หรือหน่วยงานภายนอก (ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน) พัฒนาโดยโครงการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.60” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง 4) ผลการประเมินสภาพผลสำเร็จของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 5) การประเมินความ พึงพอใจที่มีต่อสภาพผลสำเร็จของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา, สถานศึกษาพอเพียง , กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Abstract

This research was conducted a sufficiency school development to be a sufficiency economy learning center in education using Participatory Action Research Method in Choomchon Bahn Waeng Yai School 1) to investigate participatory action research model 2) to study the operation of sufficiency school in Choomchon Bahn Waeng Yai School 3) to develop sufficiency economy learning center in education using Participatory Action Research Method in Choomchon Bahn Waeng Yai School 4) to evaluate the success in developing a sufficiency economy learning center in education using Participatory Action Research Method in Choomchon Bahn Waeng Yai School and 5) to evaluate the satisfaction in developing a sufficiency economy learning center in education using Participatory Action Research Method in Choomchon Bahn Waeng Yai School.

The results revealed that

1. A process of participatory action research model was 2 circles 10 steps including 1) preparation 2)planning 3)action 4)observation 5)reflection 6)replan 7)react 8)observe again 9)reflection again and 10)conclusion.

2. An evaluation of a sufficiency school project operation in Choomchon Bahn Waeng Yai School in overall was in high level.

3. A development of sufficiency school to be a sufficiency economy learning center in education using Participatory Action Research Method in Choomchon Bahn Waeng Yai School including 2 circles 10 steps found that the school operated a developing school project in 3 aspects, following the evaluation context of a sufficiency economy learning center in education, including 1)faculties (director, teacher, student, and school board), researcher and co-researcher aimed over high level (X=4.00). However, a result of the operation was completed as expected in highest level (X=4.80). 2)physical environment management (building environment and learning resources, and learning activities), researcher and co-researcher aimed over high level (X=4.00). However, a result of the operation was completed as expected in highest level (X=4.70). and 3)relationship with other organizations (relationship with other schools to moving forward, and relationship with other agencies (public, private, and community sector), researcher and co-researcher aimed over high level (X=4.00). However, a result of the operation was completed as expected in highest level (X=4.60).

4. An evaluation of success in developing a sufficiency economy learning center in education in overall was in high level.

5. An evaluation of satisfaction in success in developing a sufficiency economy learning center in education in overall was in high level.

KEYWORDS : Sufficiency economy learning center in education, Sufficiency school, Participatory Action Research

บทนำ

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2551 : 7) จากบทความดังกล่าวข้างต้นคงเป็นการยืนยันที่ดีว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่องค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานให้กับพระสกนิกรชาวไทยมากว่า 40 ปี เห็นได้จากพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานในวโรกาสต่างๆ เช่น “การที่จะทําโครงการอะไร จะต้องทําด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตเกินไป แต่ข้อ สําคัญที่อยากจะพูดถึงคือ ถ้าเราทําโครงการที่เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสมอาจจะไม่ดู หรูหรา แต่จะไม่ล้ม หรือถ้ามีอันเป็นไป ก็ไม่เสียมาก..มาเร็วๆ นี้ โครงการต่างๆ โรงงาน เกิดขึ้นมามาก จนกระทั่งคนนึกว่าประเทศไทยนี้ จะเป็นเสือตัวเล็กๆ แล้วก็เป็นเสือตัวโตขึ้น เราไปเห่อว่าจะเป็นเสือ..การจะเป็นเสือนั้นไม่สําคัญ สําคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบ พอมีพอกิน, แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”.(พระราชดํารัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐)

ดังจะเห็นได้จาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวดที่ 6 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาตรา ๗๕ บัญญัติไว้ว่า “รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศรัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือการจัดทําบริการสาธารณะ” (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก : 17) จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถือเป็นธงหลักของการพัฒนาเทศในทุกด้าน ประกอบกับ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ที่ได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ประเทศ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยกำหนดไว้ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมาย การพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยังยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ , 2560 : 2)

โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ได้น้อมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการศึกษา เห็นได้จากการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนไว้ว่า “โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่เป็นองค์กรคุณภาพ ผู้เรียนฉลาดมีคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทั้งด้านการบริหารจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมตามหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องหลักสูตรสถานศึกษาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และฐานการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ จนได้รับการประเมินและคัดเลือกเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปีการศึกษา 2556 “สถานศึกษาพอเพียง 2556” หลังจากได้รับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนก็ยังน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาตลอดมา

จากเหตุผล ความสำคัญและความจำเป็นดังที่กล่าว ข้าพเจ้าในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่และเป็นผู้วิจัย จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โดยใช้ชื่องานวิจัยว่า รายงานการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็น การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้

1. เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

2. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่

3. เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาโรงเรียนชุมชน บ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

4. เพื่อประเมินผลการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

5. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็น การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ตัวแปรการศึกษา

ตัวแปรต้น ได้แก่ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ตัวแปรตาม ได้แก่

1. ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ปีการศึกษา 2562

2. คุณภาพศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก

3. ผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

4. ความพึงพอใจต่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ระยะที่ใช้ในการวิจัย การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เดือน ตุลาคม 2562 ถึง มีนาคม 2564

ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย

ระยะที่ 1 การสังเคราะห์รูปแบบการวิจัยการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ดังนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยตำแหน่งทางวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์ 2 ท่าน ผู้บริหารโรงเรียน วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 1 ท่าน อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 1 ท่าน และศึกษานิเทศก์ที่จบปริญญาเอกด้านวัดและประเมินผล 1 ท่าน

ระยะที่ 2 ประชุมคณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการ ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงาน คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าในและวางกรอบการดำเนิน กิจกรรม โครงการ และประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ปีการศึกษา 2562 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณะครู 26 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษา 14 ท่าน รวม 40 คน

ระยะที่ 3 การดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณะครู 26 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษา 14 ท่าน และนักเรียนแกนนำ 45 คน รวม 85 คน

ระยะที่ 4 ประเมินผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการประเมินโดยใช้แบบสอบถาม หลังจากการวิจัยสิ้นสุดลงแล้ว กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารและคณะครู 26 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษา 14 ท่าน และนักเรียนแกนนำ 45 คน รวม 85 คน

ระยะที่ 5 ประเมินความพึงพอใจต่อผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการประเมินโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ หลังจากการวิจัยสิ้นสุดลงแล้ว กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารและคณะครู 26 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษา 14 ท่าน และนักเรียนแกนนำ 45 คน รวม 85 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา หมายถึง สถานศึกษาพอเพียงที่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารและจัดการศึกษาจนทําให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่หน่วยงานอื่น และผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการดํารงอยู่บนทางสายกลาง ประกอบด้วยสองเงื่อนไข คือความรู้ กับ คุณธรรม สามหลักการทำงานคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และสี่ผลกระทบ ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ/วัตถุ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม

สถานศึกษาพอเพียง หมายถึง สถานศึกษาที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดสถานศึกษาพอเพียงที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการและผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการวิจัยที่มุ่งพัฒนาหรือแก้ปัญหาขององค์กร โดยนักวิจัยและบุคลากรภายในองค์กรเองหรือบุคลผู้มีส่วนร่วม เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอนของการวิจัย ประกอบด้วย การเตรียมการ (preparation) การวางแผน (planning) การปฏิบัติ (acting) การสังเกตผล (observing) การสะท้อนผล (reflecting) การวางแผนใหม่ (re-planning) การปฏิบัติใหม่ (re-acting) การสะท้อนผลใหม่ (re-reflecting) และการสรุปผลการวิจัย (conclusion)

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ที่มีรูปแบบเน้นความเป็นศาสตร์ เชิงวิพากษ์ (critical science) 2 วงจร 10 ขั้นตอน (วิโรจน์ สารรัตนะ,2554 : 48)ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ (preparation) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อชี้แจงหลักการ จรรยาบรรณ บทบาทของผู้วิจัย วิธีดําเนินการวิจัย และอื่น ๆ ร่วมกันจัดทําคู่มือหรือแผนที่การทํางาน (road map)

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน (planning) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 วัน กําหนดประเด็นปัญหา แบ่งทีมรับผิดชอบ และจัดทําแผนปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติ (acting) แต่ละทีมงาน โครงการนําแผนปฏิบัติการที่จัดทําขึ้นไปปฏิบัติให้ บรรลุผล มีการบันทึกอนุทินส่วนตัวเป็นรายสัปดาห์ การเสวนาติดตามความก้าวหน้าและปรับปรุงแก้ไข

ขั้นตอนที่ 4 การสังเกตผล (observing) จัดประชุม เชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อประเมินผลที่เกิดขึ้น และ การตีความ

ขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนผล (reflecting) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสรุปผลการดําเนินงาน การเรียนรู้ และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสังเคราะห์แล้วเขียนเป็นสรุปผล และจัดทําเป็นเอกสาร

ขั้นตอนที่ 6 การวางแผนใหม่ (re- planning) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อถอดบทเรียนในขั้นตอนที่ 1-5 ศึกษาทบทวนผลการดําเนินงาน กําหนด ประเด็นปัญหา แบ่งทีมย่อยรับผิดชอบ และจัดทําแผนปฏิบัติการใหม่

ขั้นตอนที่ 7 การปฏิบัติการใหม่ (re-acting) แต่ละทีมงานโครงการนําแผนปฏิบัติการใหม่ที่จัดทําขึ้น ไปปฏิบัติให้บรรลุผล มีแนวการดําเนินงานเหมือนกับขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 8 การสังเกตผลใหม่ (re-observing) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อประเมินผลที่เกิดขึ้น และการตีความปรากฏการณ์ระบุองค์ความรู้ใหม่หรือการเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น เหมือนกับขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 9 การสะท้อนผลใหม่ (re-reflecting) เหมือนขั้นตอนที่ 5 คือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อสรุปผลการดําเนินงาน การเรียนรู้ และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสังเคราะห์แล้วเขียนเป็นสรุปผล และจัดทําเป็นเอกสาร

ขั้นตอนที่ 10 การสรุปผล (conclusion) มีสองระยะ คือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน เพื่อถอดบทเรียน (After Action Review: AAR) ศึกษาทบทวนผลการดําเนินงานในขั้นตอนที่ 1-9 และระยะที่ 2 จัดประชุมเชิงวิชาการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่” 1วัน

วิธีดำเนินการวิจัย

ในการดําเนินการวิจัยครั้งนี้ มีกระบวนการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนมี การดําเนินการ ดังนี้

1. การกำหนดรูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 2 วงจร 10 ขั้นตอน

2. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่

ปีการศึกษา 2562

3. การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 2 วงจร ซึ่งมี 10 ขั้นตอน

4. การประเมินผลการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา

โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

5. การประเมินความพึงพอใจต่อผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่เน้นความเป็นศาสตร์เชิงวิพากษ์ (critical science) ที่มีลักษณะ เป็นการพรรณนาหรือบรรยายเชิงวิพากษ์ (critical description) และข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

1. แบบสังเกต (observation form) มี 1 ฉบับ

2. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth interview) และแบบสัมภาษณ์กลุ่ม (focus group interview)

3. แบบบันทึกการประชุม

4. แบบสอบถามวิจัยฉบับที่ 1 สอบถามสภาพการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียน

ชุมชนบ้านแวงใหญ่ ปีการศึกษา 2562 เป็นแบบประเมินเพื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นของการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบ มีลักษณะเป็นข้อคําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

5. แบบสอบถามวิจัยฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินความสำเร็จการดำเนินงานพัฒนาศูนย์

การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีลักษณะเป็นข้อคําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

6. แบบสอบถามวิจัยฉบับที่ 3 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ มีลักษณะเป็นข้อคําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยต่างมีบทบาทหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง โดยเริ่มจากการปฏิบัติภาคสนามในโรงเรียนและหมู่บ้าน ในปีงบประมาณ 2563 ในช่วงระหว่าง 16 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 (แบ่งออกเป็นสองภาคเรียน) โดยแบ่งเวลาในการ ปฏิบัติงานตามตารางกําหนดวันและเดือน เพื่อให้เห็นสภาพข้อเท็จจริงทั้งในส่วนที่เห็นชัดเจน และแฝงเร้น จากขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทั้ง 10 ขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือที่ หลากหลายดังกล่าวในหัวข้อที่ 4

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล สภาพการดำเนินงานในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ เป็นการเก็บข้อมูลก่อนการพัฒนา ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดย จัดประชุมชี้แจง คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยตนเอง และขอความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 10 – 20 มีนาคม 2563

3. หลังสิ้นสุดโครงการ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และความพึงพอใจต่อผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมอบหมายให้กับหัวหน้างานวิชาการและหัวหน้างานบริหารทั่วไปเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 15 – 25 มีนาคม 2564

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่เลือกใช้ในการวิจัย ที่ได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้ง 10 ขั้นตอน จะนํามาวิเคราะห์ร่วมกันเป็นระยะ ๆ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ อมรา พงศาพิชญ์ (2526) ดังนี้

1.2 จัดทําข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็น หลัก

ในการแบ่งปรากฏการณ์และหาความถี่ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 6 สถานการณ์ คือ

การกระทํา (acts) คือ การใช้ชีวิตประจําวัน การกระทําหรือพฤติกรรม ต่าง ๆ ของบุคลากรที่ใช้ในการวิจัย

กิจกรรม (activities) คือ การกระทํา หรือพฤติกรรมที่เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนและมีลักษณะต่อเนื่อง

ความหมาย (meaning) คือ คําอธิบายของบุคคลเกี่ยวกับการกระทําหรือกิจกรรมเพื่อทราบโลกทัศน์ ความเชื่อ ทัศนคติของชุมชน

ความสัมพันธ์ (relationship) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชนที่เกี่ยวข้อง จะได้ทราบความสัมพันธ์ ความขัดแย้ง ความเกี่ยวโยงของบุคลากร

การมีส่วนร่วมในกิจกรรม (participation) คือ การปรับตัวบุคคล การให้ ความร่วมมือและยอมเป็นส่วนของโครงสร้างกิจกรรมการบริหาร พร้อมจะเป็นพวกเดียวกัน จะ ทราบความขัดแย้งและราบรื่นได้ชัดเจน

สภาพสังคม (setting) คือ ภาพรวมทุกแง่มุมที่สามารถบันทึกจาก ภาคสนามเกี่ยวกับกิจกรรมใน 10 ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

1.3 จัดแบ่งข้อมูลจากบันทึกภาคสนามของผู้วิจัยในส่วนที่เป็นข้อความพรรณนา เหตุการณ์

เกี่ยวกับกิจกรรมใน 10 ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ทําให้เป็นสภาพปัจจุบันจากข้อความพรรณนาเหตุการณ์เกี่ยวกับ

กิจกรรมใน 10 ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยนํารายงานการวิเคราะห์ ข้อมูลของแต่ละวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่วิเคราะห์แล้ว ไปให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ช่วยยืนยันตรวจแก้ไขผลการวิเคราะห์ และคําแนะนําเพื่อปรับปรุงรายงานให้ถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น การตรวจสอบข้อมูลจะใช้บุคลากรหลายคนในเหตุการณ์ของกิจกรรม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ เป็นเชิงปริมาณ ผู้วิจัยก็ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย เพื่อให้เป็นข้อมูลเพื่อ เปรียบเทียบกับเป้าหมาย หรือแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2. ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

2.1 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยหาค่าเฉลี่ยและ ค่า

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อและรายด้านแล้วแปลความหมายของค่าเฉลี่ย (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 :99)

2.2 วิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยหา

ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วแปลความหมายของค่าเฉลี่ย (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 :99)

2.3 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. หรือ σ) บอกถึงความคิดเห็น ความพึงพอใจที่ สอดคล้องกันหรือแตกต่างกัน ถ้า S.D. หรือ σ มีค่าสูง แสดงว่ารายการสอบถามนั้นผู้ตอบมีความ คิดเห็น มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน แต่ถ้า S.D. หรือ σ มีค่าต่ำ แสดงว่ารายการสอบถามนั้นผู้ตอบมี ความคิดเห็นมีความพึงพอใจ คล้อยตามกัน ถ้า S.D. หรือ σ มีค่า 0 แสดงว่ารายการสอบถามนั้น ผู้ตอบมีความคิดเห็น ความพึงพอใจเหมือนกันทุกคน

2.4 ข้อมูลที่เป็นข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมินผลการพัฒนาจากแบบสอบถามปลายเปิด ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่แล้ววิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

2.5 นําผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อ 1-6 มาเทียบกับเกณฑ์เพื่อตัดสินผลการประเมิน

สรุปผลการวิจัย

3.1 รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 2 วงจร 10 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ (preparation) กิจกรรมดำเนินงาน คือ การสร้างมิตรภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกัน สร้างแผนที่การทำงาน (Road map) ในการวิจัย ประเมินและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน (planning) กิจกรรมดำเนินงาน คือ วิเคราะห์สภาพที่เป็นมา ปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวัง กำหนดปัญหา และทำความเข้าใจปัญหา ประเมินประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จัดทำแผนปฏิบัติการ/โครงการ/กิจกรรม ประเมินกิจกรรมและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติ (acting) กิจกรรมดำเนินงาน คือ กำหนดแนวทางปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานโครงการ ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานโครงการ ประเมินและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 4 การสังเกตผล (observing) กิจกรรมดำเนินงาน คือ การนำเสนอรูปแบบวิธีการ การนำเสนอรายงาน การประเมินและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนผล (reflecting) กิจกรรมดำเนินงาน คือ การสะท้อนความรู้ การนำเสนอรายงาน และการประเมินและสรุปผล

ขั้นตอนที่ 6 การวางแผนใหม่ (re- planning) กิจกรรมดำเนินงาน คือ การนำเสนอรายงาน สังเคราะห์และวิพากษ์ ประเมินปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา แผนปฏิบัติการใหม่ ประเมินและสรุปผลที่จะปฏิบัติในวงรอบที่ 2

ขั้นตอนที่ 7 การปฏิบัติใหม่ (re-acting) กิจกรรมดำเนินงาน คือ กำหนดแนวทางการปฏิบัติ ปฏิบัติกิจกรรม ประเมินและสรุปผลจากการปฏิบัติในวงรอบที่ 2

ขั้นตอนที่ 8 การสังเกตผลใหม่ (re-observing) กิจกรรมดำเนินงาน คือ การสังเคราะห์ความรู้ การนำเสนอรายงาน การประเมินและสรุปผลจาการสังเกต ในวงรอบที่ 2

ขั้นตอนที่ 9 การสะท้อนผลใหม่ (re- reflecting) กิจกรรมดำเนินงาน คือ สังเคราะห์ความรู้ การนำเสนองาน ประเมินและสรุปผลจากการดำเนินการในวงรอบที่ 2

ขั้นตอนที่ 10 การสรุปผล (conclusion) กิจกรรมดำเนินงาน คือ เขียนสรุปผลการวิจัย

3.2 การประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ เป็นการประเมินสภาพผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง ในการดำเนินการปีการศึกษา 2562 เพื่อให้ทราบถึงผลดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดสถานศึกษาพอเพียง ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ จากการประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ในภาพรวมการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง อยู่ในระดับมาก โดยมีด้านเรียงลำดับสูงสุด 2 อันดับคือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านการบริหารจัดการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะพบว่า ด้านการบริหารจัดการ ในประเด็น สถานศึกษาประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียงในสถานศึกษา / ชุมชน อยู่ในลำดับต่ำสุด ด้านหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเด็น สถานศึกษามีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในลำดับต่ำสุด ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเด็นสถานศึกษาจัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในลำดับต่ำสุด ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ประเด็น สถานศึกษาขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในลำดับต่ำสุด และด้าน ด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ ประเด็น ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม อยู่ในลำดับต่ำสุด

3.3 การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 2 วงจร 10 ขั้นตอน โดยการดำเนินงานพัฒนา 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการสถานศึกษาพอเพียง โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และโครงการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียง และแบ่งผู้ร่วมวิจัยออกเป็น 3 ทีม โดยแต่ละทีมมีการดำเนินงานดังนี้

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในประเด็นสภาพที่คาดหวังของโรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ คือมีความมุ่งหวังที่จะผ่านการประเมิน เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ทีมผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการ จำนวน 3 โครงการ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาใน 3 ด้านตามกรอบการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร มี 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านผู้บริหาร ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา พัฒนาโดยโครงการสถานศึกษาพอเพียง 2) ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมกายภาพ มี 2 องค์ประกอบ คือ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้/ฐานการเรียนรู้ และหรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งพัฒนาโดยโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และ 3) ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก มี 2 องค์ประกอบ คือ ความสัมพันธ์กับสถานศึกษาศึกษาอื่นในการขยายผลการขับเคลื่อน และความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่สังกัดและ/หรือหน่วยงานภายนอก(ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน) พัฒนาโดยโครงการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียง โดยมีการดำเนินงานดังนี้

โครงการที่ 1 โครงการสถานศึกษาพอเพียง มีกิจกรรมในการดำเนินการ 9 กิจกรรม ประกอบด้วย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม PLC การจัดกิจกรรมนักเรียน การนำเสนอผลงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาของนักเรียนแกนนำ อบรมให้ความรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่คณะกรรมการสถานศึกษา และสร้างการรับรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคณะกรรมการสถานศึกษา การดำเนินงานตามโครงการนี้ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังผลการประเมินไว้ ที่ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.80” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง

โครงการที่ 2 โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ มีกิจกรรมในการดำเนินการ 6 กิจกรรม ประกอบด้วย แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดทำแผนงาน /โครงการ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ จัดทำฐานการเรียนรู้ 9 ฐาน และจัดทำคู่มือฐานการเรียนรู้ กำหนดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ประจำฐาน การดำเนินงานตามโครงการนี้ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังผลการประเมินไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.70” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง

โครงการที่ 3 โครงการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียง มีกิจกรรมในการดำเนินการ 6 กิจกรรม ประกอบด้วย แต่งตั้งเจ้าหน้าทีผู้รับผิดชอบ จัดทำแผนงาน /โครงการ ประสานหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกเพื่อลงนามความร่วมมือ (MOU) ลงนามความร่วมมือ ทำหนังสือแจ้งขอความร่วมมือทำกิจกรรม และจัดทำกิจกรรมขยายผลการพัฒนาสถานศึกษาอื่นให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยตั้งเป้าหมายหรือสภาพที่คาดหวังผลการประเมินไว้ ที่ ระดับ 4.00 หรือ “มาก” ขึ้นไป ผลการดำเนินงานเมื่อประเมินผลแล้วมีระดับการดำเนินงานโดยเฉลี่ย “4.60” อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่คาดหวัง

3.4 การประเมินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการประเมินผลการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือประเมินเป็นแบบสอบถามที่สอดคล้องกับ 3 ด้าน 8 องค์ประกอบ 32 ตัวชี้วัดของการประเมินศูนย์การเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา มาเป็นประเด็นข้อคำถาม ซึ่งประเมินหลังจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้ดำเนินการจนจบทุกวงจร ซึ่งมีผลการประเมิน ดังนี้ ผลการประเมินสภาพผลสำเร็จของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวม พบว่า ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับสุดท้ายได้แก่ ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก

3.5 การประเมินความพึงพอใจต่อผลสำเร็จการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีผลการประเมินมีดังนี้ ผลการประเมินประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสภาพผลสำเร็จของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ บทบาทของนักเรียนแกนนำมีส่วนร่วมในการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ภายนอกสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขยายผลสู่ภายนอกสถานศึกษาและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับต่ำสุดได้แก่ บทบาทของสถานศึกษาในการเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาสถานศึกษาอื่นให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง อยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ที่ใช้ใน

การวิจัยในครั้งนี้เป็นรูปแบบ 2 วงจร 10 ขั้นตอน ซึ่งผลการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมดังกล่าว พบว่ามีความสำเร็จบังเกิดผลตามที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้เนื่องจากในการพัฒนารูปแบบผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดมาจากการวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดและผลการวิจัยของผู้ทรงคุณวุฒิในระดับสากลทั้งในส่วนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและในส่วนของเทคนิคการพัฒนา ดังนั้น ควรนำรูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) 2 วงจร 10 ขั้นตอน มาใช้ในการพัฒนากิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของสถานศึกษา เพื่อให้เกิดพลังของการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

1.2 จากผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียน

ชุมชนบ้านแวงใหญ่ ในภาพรวมการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียง อยู่ในระดับมาก โดยมีด้านเรียงลำดับสูงสุด 2 อันดับคือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านผลลัพธ์/ภาพความสําเร็จ ลำดับต่ำสุดได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ในประเด็นสถานศึกษาประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียงในสถานศึกษา / ชุมชน ดังนั้น สถานศึกษาควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนในการในการส่งเสริมการเรียนรู้ หรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียงให้กับนักเรียน

2) ข้อเสนอแนะครั้งต่อไป

2.1 โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ควรส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใน

สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมนักเรียน ทั้งในระดับช่วงชั้น หรือจัดทำเป็นรายสาระวิชา ในการสร้างพลังการมีส่วนร่วมในการผลักดันกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะทางด้านการวิจัยแก่ครูผู้สอนและยังเป็นการส่งเสริมให้ครูพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพโดยใช้กระบวนการวิจัย

2.2 โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ ควรส่งเสริมการจัดทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการ

ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านทางสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างบรรยากาศของการทำงานร่วมกันของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ โดยลดข้อจำกัดทางด้านอื่นที่ไม่พึงประสงค์

บรรณานุกรม

กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). กรอบ แนวคิด

ทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ:สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

คณะทํางานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงการเรียนการสอนกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง ช่วงที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี

พ.ศ. 2561 - 2580. 2561.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. 2560.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์

องค์การศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธ์.

โพสต์โดย โป้ง : [20 ม.ค. 2565 เวลา 11:53 น.]
อ่าน [3808] ไอพี : 122.154.130.131
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,024 ครั้ง
ความลับของ "คนรวย"
ความลับของ "คนรวย"

เปิดอ่าน 36,384 ครั้ง
6 ข้อต้องรู้! รบ.แจงผ่อนปรน นั่งแค็บ-ท้ายกระบะ
6 ข้อต้องรู้! รบ.แจงผ่อนปรน นั่งแค็บ-ท้ายกระบะ

เปิดอ่าน 32,957 ครั้ง
โรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคพยาธิตัวจี๊ด

เปิดอ่าน 47,265 ครั้ง
เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?
เช็ดตัวลดไข้ ใช้ "น้ำอุ่น" หรือ"น้ำเย็น"?

เปิดอ่าน 10,477 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 กรกฏาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 กรกฏาคม 2552

เปิดอ่าน 13,688 ครั้ง
11 วิธีปรับตัวเองให้เป็นคนรักงาน
11 วิธีปรับตัวเองให้เป็นคนรักงาน

เปิดอ่าน 10,277 ครั้ง
อยากได้งาน ตกงานต้องอ่าน? เทคนิคหางานแบบเซียนตัดเซียน
อยากได้งาน ตกงานต้องอ่าน? เทคนิคหางานแบบเซียนตัดเซียน

เปิดอ่าน 30,421 ครั้ง
การนำ e - Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน
การนำ e - Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน

เปิดอ่าน 291,208 ครั้ง
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ

เปิดอ่าน 14,712 ครั้ง
"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า
"สมุนไพร" ส่วนประกอบอาหารไทยที่มีคุณค่า

เปิดอ่าน 22,496 ครั้ง
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

เปิดอ่าน 21,114 ครั้ง
การศึกษาในอนาคต
การศึกษาในอนาคต

เปิดอ่าน 15,779 ครั้ง
วิธีซ่อนรอยคล้ำใต้ดวงตา
วิธีซ่อนรอยคล้ำใต้ดวงตา

เปิดอ่าน 14,968 ครั้ง
5 คำถามเพื่อสาขาเรียนที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ
5 คำถามเพื่อสาขาเรียนที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ

เปิดอ่าน 2,864 ครั้ง
เปิด 4 เคล็ด (ไม่) ลับ บริหารคนยุค New Normal ความท้าทายของ HR ทุกองค์กร
เปิด 4 เคล็ด (ไม่) ลับ บริหารคนยุค New Normal ความท้าทายของ HR ทุกองค์กร

เปิดอ่าน 24,553 ครั้ง
อาหารดีที่ควรมีติดบ้าน-ทานประจำทำสมองแล่น
อาหารดีที่ควรมีติดบ้าน-ทานประจำทำสมองแล่น
เปิดอ่าน 17,423 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 36 ค.(2)
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 36 ค.(2)
เปิดอ่าน 17,724 ครั้ง
eco car เทรนด์ใหม่ รถเล็ก ประหยัดพลังงาน
eco car เทรนด์ใหม่ รถเล็ก ประหยัดพลังงาน
เปิดอ่าน 16,198 ครั้ง
8 วิธี ฟื้นฟูจิตใจ
8 วิธี ฟื้นฟูจิตใจ
เปิดอ่าน 11,576 ครั้ง
สิทธิบัตร อัจฉริยะ
สิทธิบัตร อัจฉริยะ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ