ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์
สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน : นายยาการียา อาแว ผู้อำนวยการโรงเรียนสะนอพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์การประเมินดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก
โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563
4.1) ระดับคุณภาพของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 4.2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 4.3) ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 และ 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 วิธีการประเมินโครงการแบ่งการประเมิน 4 ด้าน ของการพัฒนาตามโครงการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ประเมินก่อนดำเนินโครงการดำเนินการประเมิน 2 ด้าน ได้แก่ 1.1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ เป็นการประเมินโดยการสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู เพื่อพิจารณาความต้องการความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ 1.2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการสอบถามครู เพื่อพิจารณาความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์/อาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ ระยะที่ 2 ประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เป็นการประเมินกระบวนการของโครงการ โดยสอบถามนักเรียน ครูและผู้ปกครอง เพื่อพิจารณาการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศ/กำกับติดตามประเมินผล และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา และระยะที่ 3 ประเมินหลังดำเนินโครงการ เป็นการประเมินผลผลิตของโครงการ โดยสอบถามนักเรียน ครู และผู้ปกครอง เพื่อพิจารณาระดับคุณภาพของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก ของโรงเรียนสะนอพิทยาคม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) นักเรียนโรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 181 คน 2) ครู โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และ 4) ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 7 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 1 ฉบับ คือ ฉบับที่ 6 ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อทราบเกี่ยวกับระดับความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ด้านปัจจัยนำเข้าเพื่อทราบระดับความเหมาะสมเกี่ยวกับพร้อมของบุคคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความพียงพอของวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการและผู้สนับสนุนโครงการ จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ด้านกระบวนการ เพื่อทราบระดับคุณภาพเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การนิเทศ กำกับติดตามประเมินผล และการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ด้านผลผลิตเพื่อทราบระดับคุณภาพการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิตเพื่อทราบระดับคุณภาพเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 6 แบบบันทึกผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงของนักเรียนตามสภาพจริง และฉบับที่ 7 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ด้านผลผลิตเพื่อทราบระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ประเมินวันที่ วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ด้านกระบวนการ ประเมินวันที่ 1923 สิงหาคม 2563 และด้านผลผลิต ประเมินวันที่ 2 18 มีนาคม 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม
ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (mu= 4.53, sigma= 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.28, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์
การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์
สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย (mu= 4.42, sigma= 0.64) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด
แต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu=4.62, sigma=0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการ (mu = 4.49, sigma = 0.64) อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย (mu = 4.21 , sigma = 0.72) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์
สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู
และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20
ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (mu= 4.38, sigma= 0.58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.37, S.D.= 0.56) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.27, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า
4.1 ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือโดยใช้
กลยุทธ์ สานสายใยรัก โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (mu= 4.53, sigma= 0.51) อยู่ในระดับมากที่สุด
ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.46 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.42, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนในโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก
โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (mu= 4.50 , sigma= 0.65) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.47 , S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.45, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 33.23 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมี จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 9.94 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ลดลงจำนวน 73 คนคิดเป็น ร้อยละ 23.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนครู และผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ สานสายใยรัก
โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mu=4.59 , sigma=0.54) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄=4.52 , S.D.= 0.65) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( x̄= 4.50 , S.D.=0.61) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน