ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เชิดชูสถาบันหลักของ
ชาติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน นายชวลิต กรเพชร
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินรายงานการประเมินการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เชิดชูสถาบันหลักของชาติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เชิดชูสถาบันหลักของชาติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) โดยใช้รูปแบบการประเมินไอโป (IPOO) (พิสณุ ฟองสี, 2549 : 77) ซึ่งครอบคลุม 4 ด้านคือ ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I)
ด้านกระบวนการ (Process : P) ด้านผลผลิต (Outputs : O) และด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมประชากรจำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) และนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 9 (วัดใหม่ราษฎร์นุกูล) จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 6 ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านปัจจัยพื้นฐาน(Input : I) พบว่า ผลการประเมิน ตามความคิดเห็นของคณะครู
ในภาพรวม มีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน
ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า ระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
2. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process : P) พบว่า ผลการประเมิน ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม มีระดับปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับได้แก่ การกำกับนิเทศติดตามประเมินผลกิจกรรม มีระดับปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการวางแผนกำหนดงาน/ปฏิทินปฏิบัติตามโครงการ และการดำเนินกิจกรรมตามแผนซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล
3. ด้านผลผลิต (Outputs : O) พบว่า ผลการประเมิน ตามความคิดเห็นของคณะครู
ในภาพรวม มีระดับความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการจำนวน12 กิจกรรมและ และติดตามจำนวน 48 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 100 และ ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนนักเรียนส่วนใหญ่ มีระดับพฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอมากที่สุดในทุกข้อ
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) พบว่า ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก และ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมา