ชื่อเรื่อ การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่(Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย โรงเรียนบ้านคำไฮหัวทุ่งประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
ผู้วิจัย นางพรทิพา เรืองแหล่
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคำไฮหัวทุ่งประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ดังนี้ 2.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย 2.3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย 2.4) เพื่อศึกษาการขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ระยะที่ 2 การสร้างเครื่องมือประกอบรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ระยะที่ 4 การขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำไฮหัวทุ่งประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 30 แผน 2) เอกสารประกอบจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 กิจกรรม และแบบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแบบวัดเป็นลักษณะของกิจกรรมที่มีสถานการณ์ในการวัดและประเมินผลที่ให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมจริงด้วยตนเอง จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ด้านการจำแนก ด้านการเปรียบเทียบ และด้านการเรียงลำดับ ด้านละ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 20 ข้อ มีค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.38 ถึง 0.62 มีค่าอำนาจจำแนก (D) ระหว่าง 0.41 ถึง 0.59 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล สถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์ ใช้ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ประกอบด้วย 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ 2) ขั้นเชื่อมโยงประสาทรับรู้ 3) ขั้นสร้างประสบการณ์ แบ่งเป็นระดับที่ 1 ครูสาธิต ระดับที่ 2 ครูสาธิต เด็กปฏิบัติตามและเด็กปฏิบัติตามลำพัง ระดับที่ 3 เด็กสามารถสอนเด็กคนอื่นได้ และ 4) ขั้นตรวจสอบความคิดและนำไปใช้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.89/90.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์พัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย มีค่าเท่ากับ 0.7870 ซึ่งแสดงว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.70
2.3 เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2.4 รูปแบบการจัดประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.81
จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) บูรณาการกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย แผนการจัดประสบการณ์ และเอกสารประกอบการจัดประสบการณ์ ที่สามารถพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาความรู้ของเด็กให้สูงขึ้นจากก่อนเรียน ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ ความพร้อมทางด้านสติปัญญาได้เป็นอย่างดี ครูผู้สอนจึงควรนำแผนการจัดประสบการณ์ และเอกสารประกอบการจัดประสบการณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และมีความพร้อมในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นต่อไป