ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดบางรักใหญ่(สายอักษรศรี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน นายปฏิวัติ รวยรื่น
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดบางรักใหญ่(สายอักษรศรี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2563
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของดีแอลสตัฟเฟิลบีม และคณะ (D.L.Stufflebeam and Others,1971 : 216-265) มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนวัดบางรักใหญ่(สายอักษรศรี) จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 69 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 69 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 163 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้ 1)ประเมินด้านบริบทตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.791 2)ประเมินด้านบริบทตามความคิดเห็นของคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.751 3)ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.779 4)ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.972 5)ประเมินด้านผลผลิตตามความคิดเห็นของคณะครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.726
6)ประเมินด้านผลผลิตตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.751 และ
7) ประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.722 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context evaluation) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมิน
ด้านบริบท ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลการประเมินด้านบริบท ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู
ในภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ข้อที่มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรม รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ และ ความพร้อมและความเหมาะสมของบุคลากร ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความพอเพียงของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การปฏิบัติ (Do) รองลงมาคือ การวางแผน(Plan) และ มีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล(Act) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับนิเทศติดตามและประเมินผลกิจกรรม (Check)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) พบว่า 1) ผลการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินภาวะโภชนาการที่ดีของนักเรียน พบว่า นักเรียน ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 68.22 ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการว่านักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 64 มีภาวะโภชนาการที่ดี 3) ผลการประเมินความพึงพอใจตาม
ความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวมพบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความ
พึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่าความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน
ในภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลการประเมิน ความพึงพอใจตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด