การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา โรงเรียนกุดฉิมวิทยาคม จังหวัดนครพนม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา 2) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research : MMR) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินรูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา ประชากรประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนทั้งหมด จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน การเสริมสร้างอัตลักษณ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ( ค่ามิว=3.34, ซิกมา=0.62) และ 2) ความต้องการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านระบบนิเวศการเรียนรู้ 2) ด้านแผนการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน 3) ด้านระบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงอนาคต 4) ด้านระบบการประเมินเทียบประสบการณ์จริง 5) ด้านนวัตกรรมและจัดการความรู้ 6) ด้านการส่งต่อและคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และ 7) ด้านธรรมาภิบาลการบริหารจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่ามิว=4.74, ซิกมา=0.46)
2. ผลการสร้างและประเมินรูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา พบว่า 1) รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ชื่อ (2) หลักการ (3) วัตถุประสงค์ (4) กระบวนการ (5) ผลผลิต (6) ผลลัพธ์ (7) ผลกระทบ และ(8) ข้อมูลย้อนกลับ และ 2) ผลการประเมินด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่ามิว=4.65, ซิกมา=0.27)
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 มีการปรับเพิ่มเงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) จากข้อค้นพบสะท้อนผลการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2562 พบว่า
1) ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน ปีการศึกษา 2562 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับดี - ดีมาก ร้อยละ 79.19 และปีการศึกษา 2563 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ดีมาก ร้อยละ 87.38
2) ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
3) ระดับความพึงพอใจการใช้รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนฐานศาสตร์พระราชา พบว่า ปีการศึกษา 2562 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่ามิว= 4.39, ซิกมา=0.38) และ ปีการศึกษา 2563 ระดับความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( ค่ามิว= 4.55, ซิกมา=0.64) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 0.16
4) ผลกระทบ จากความสำเร็จการดำเนินงานเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนแบบ องค์รวมเชิงบูรณาการ ตอบสนองทิศทางนโยบาย... KHONG NATEE Model และตอบโจทย์การพัฒนาจังหวัดนครพนม ภายใต้ยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) สร้างความภาคภูมิใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับด้านการมีส่วนร่วมภาคีพัฒนา 4 ฝ่ายในลักษณะ... หุ้นส่วนการศึกษา (Educational Partnership) เป็นต้นแบบเชิงนวัตกรรม และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และองค์กรวิชาชีพทางการศึกษา
คำสำคัญ : รูปแบบ,อัตลักษณ์ผู้เรียน,ศตวรรษที่ 21,ศาสตร์พระราชา