ชื่อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิต สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps
for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์
เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ผู้วิจัย นางสาวชนม์ณกานต์ แก้วสุริยาภรณ์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค
จังหวัดสระบุรี
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิต สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และ 3) เพื่อติดตามผลในการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research Principle) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และ การสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 180 คน ประกอบด้วย พนักงานครูเทศบาล 47 คน และผู้ช่วยครู 9 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน ผู้นิเทศ จำนวน 2 คน และนักเรียน จำนวน 120 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ห้องละ 10 คน กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาคือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสอบถาม การจัดกระทำข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบข้อมูล แบบ หลายมิติ (Triangulation) และนำเสนอผลการวิจัยโดยบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูผู้สอนมีการผลิตและ ใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนการสอนน้อยมาก 2) ครูมีทักษะและประสบการณ์ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย และ 3) ครูบางส่วนยังมีความรู้ความเข้าใจความหมาย และประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับน้อย ด้านผู้บริหาร พบว่า 1) การกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียน การสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อยไม่ต่อเนื่อง 2) การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ยังมีน้อยไม่เพียงพอ และ 3) การจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการหรือนําคณะครูเข้าร่วมในการผลิตสื่อ มัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย ด้านแหล่งข้อมูล ในการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) โรงเรียนมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียน้อย 2) เอกสารตำราที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอ และ 3) โรงเรียนไม่มีบุคลากรแกนนําที่ให้ ความรู้ในเรื่องการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้
ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูมีงบประมาณส่วนตัวที่ใช้ใน การผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย 2) ครูบางส่วนยังมีความรู้ความเข้าใจความหมายและประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในระดับน้อย 3) ครูมีทักษะ และประสบการณ์ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย ด้านผู้บริหาร พบว่า 1) ผู้บริหารจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือนําคณะครูเข้าร่วมในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ยังมีน้อย 2) การกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย และ 3) ผู้บริหารให้ความสำคัญในการใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย ด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า 1) โรงเรียนมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย 2) โรงเรียนมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลด้านผลงานในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อยไม่เพียงพอ และ 3) โรงเรียนมีบุคลากรแกนนําที่ให้ความรู้ในเรื่องการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้น้อย
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีซึ่งได้ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ โดย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศ
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครู้ด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ เทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
พบว่า
3.1 ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู ด้านการผลิตสื่อ มัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านความรู้ พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.99) ผลการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.36) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการจัดประชุมการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.38)
3.2 การนิเทศภายใน ผลการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ร่วมวิจัย โดยกลุ่มผู้นิเทศ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.95)
จากการนิเทศภายใน พบว่า ในวงรอบที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ของครูผู้ร่วมวิจัยโดยกลุ่มผู้นิเทศปรากฏว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ 3 ด้าน ดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว และผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 การเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ร่วมวิจัย 60 คน ซึ่งได้รับการนิเทศ ติดตามประเมินผลจากกลุ่มผู้นิเทศ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยวงรอบที่ 2 (x̄ = 4.48) สูงกว่าวงรอบที่ 1 (x̄ = 3.41) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.07 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 21.40 และจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า จากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ