บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม 2) สร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม วิธีดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มประชากร ได้แก่ ครู จำนวน 54 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มละ 293 คน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทั้งจากการวัดผลประเมินผลในระดับโรงเรียน และในระดับชาติ (O-NET) การวัดผลในระดับโรงเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.72 ได้ตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลในระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 32.60 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.59 คิดเป็นร้อยละ 5.13 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกรายวิชา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในระดับมาก
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 (เชียงราย-พะเยา) มุ่งให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึง และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่จากการศึกษาวิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จากเอกสารสารสนเทศของโรงเรียน ปีการศึกษา 2559 - 2560 และรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม พ.ศ. 2559 พบว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดผลประเมินผลโดยโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ผลการประเมินพบว่า กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ได้คะแนน 5.41 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน อยู่ในระดับต้องปรับปรุง จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าวที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จึงมีความสนใจศึกษาระบบบริหารที่เน้นคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(Total Quality Management : TQM) การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional learning community : PLC) และการปรับปรุงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนให้เอื้อและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
สมมติฐานของการวิจัย
1. รูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม ให้สูงขึ้น
2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม อยู่ในระดับมาก
กรอบแนวคิดการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย มี 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม มีการดำเนินการ
ระยะที่ 3 การใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม มีรายละเอียด
ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่
1. ครู โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จำนวน 54 คน
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
1. นักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จำนวน 293 คน
2. ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จำนวน293 คน
เครื่องมือวิจัย ได้แก่
1. แบบวิเคราะห์เอกสาร
2. แบบสนทนากลุ่ม เรื่อง สภาพปัญหาการบริหารและการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม
3. แบบประเมินรูปแบบฯ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
2. ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย
ระยะที่ 1 ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียน โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม พบว่า นักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ ทั้งจากการวัดผลประเมินผลในระดับโรงเรียนและในระดับชาติ (O-NET)
ระยะที่ 2 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม พบว่า ยุทธศาสตร์ 3 ดี ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ดีที่ 1 ระบบการบริหารจัดการดีด้วยระบบคุณภาพ (TQM) ประกอบด้วย 1) ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ บริหารเยี่ยมผลลัพธ์ยอด 2) เป้าหมายยุทธศาสตร์ คือ การบริหารจัดการภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ 3) โครงการ มี 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (TQM) ประกอบด้วย กิจกรรมการบริหารด้วยระบบคุณภาพ (TQM) กิจกรรมการบริหารโดยหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี กิจกรรมการพัฒนาระบบ ICT เพื่อการบริหารจัดการ กิจกรรมการลดภาระงานธุรการของครู (2) โครงการพัฒนาระบบการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมการนิเทศแบบ 360 องศา และกิจกรรม Coaching and Mentoring (3) โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาในประเทศ กิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ดีที่ 2 ครูจัดการเรียนรู้ดีด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ ครูพลิกรูปแบบการเรียนเปลี่ยนการสอน 2) เป้าหมายยุทธศาสตร์ คือ ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) โครงการมี 1 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาครูด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย กิจกรรม 12 กิจกรรมคือ 1) กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC 2) กิจกรรมการจัดทำแผนงานการขับเคลื่อน 3) กิจกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ 4) กิจกรรมการจัดทำคู่มือการขับเคลื่อน PLC 5) กิจกรรมการสร้างทีมงาน PLC 6) กิจกรรมการขับเคลื่อน PLC สู่การปฏิบัติพร้อมทั้งบันทึกลงใน LOG BOOK 7) กิจกรรมการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่น 8) กิจกรรมการติดตามความก้าวหน้า 9) กิจกรรมการส่งเสริม สนับสนุน 10) กิจกรรมการนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11) กิจกรรมการประเมินและสรุปผลการขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษาในภาพรวม และ12) กิจกรรมการปรับปรุงพัฒนากระบวนการขับเคลื่อน PLC สู่สถานศึกษาโดยใช้กระบวนการทบทวนหลังปฏิบัติงาน AAR (After Action Review) และยุทธศาสตร์ดีที่ 3 แหล่งเรียนรู้ดีด้วยภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1) ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) เป้าหมายยุทธศาสตร์ คือ แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 3) โครงการ มี 2 โครงการ ได้แก่ 3.1) โครงการปรับปรุงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 3.2) โครงการศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอก โดยกำหนดเป้าประสงค์ของรูปแบบ คือนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยได้กำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 3 ดี ดังนี้ 1) ผลการทดสอบระดับโรงเรียน 2) ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) 3) ผลงานนักเรียน และ 4) ผลงานโรงเรียน
ระยะที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทั้งจากการวัดผลประเมินผลในระดับโรงเรียน และในระดับชาติ (O-NET) การวัดผลในระดับโรงเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 76.72 ได้ตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลในระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 32.60 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.59 คิดเป็นร้อยละ 5.13 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกรายวิชา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในระดับมาก
ระยะที่ 4 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียน เชียงแสนวิทยาคม ในภาพรวม มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ละความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก