ชื่อผลงาน : รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง
ปีการศึกษา 2563สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ผู้ประเมิน : นายชัยณรงค์ ใจเกลี้ยง
ปีประเมิน : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
นายชัยณรงค์ ใจเกลี้ยง (2563 : บทคัดย่อ) รายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายางปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลการประเมินรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง (2) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ (3) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ (4) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนการดำเนินการ และการนิเทศติดตาม และประเมินผลของโครงการ (5) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของรายงานผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง และ (6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ได้ดำเนินการกิจกรรมจากโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 90 คน ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
1. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ผลการประเมินโดยรวมและรายด้านพบว่า การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่มีค่าเฉลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านสภาวะแวดล้อม/บริบท ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต
2. ผลการประเมินบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ พบว่าการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านสภาวะแวดล้อม/บริบท มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินปัจจัยกระบวนการดำเนินการตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการประเมินผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินกิจกรรมตาม โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ายาง ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.60 , S.D. = 0.55)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินโครงการ ที่พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โรงเรียนบ้านท่ายาง ควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำผลการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัดไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
1. โรงเรียนบ้านท่ายาง สามารถนำผการวิจัยไปใช้ในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
2. จากผลการจัดกิจกรรมในภาพรวม ความต้องการจำเป็นของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดแสดงว่าผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายและการวางแผนการดำเนินโครงการอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหานักเรียน รวมถึงการกำกับ นิเทศ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
3. จากผลการวิจัยในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษาควรติดตามการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบยั่งยืนได้
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
2. ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนในแต่ละระดับ
3. ควรมีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการว่ามีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และพฤติกรรมการเรียนมากน้อยเพียงใด