ชื่อเรื่อง โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านโค้งประดู่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
ผู้รายงาน นายศารทูล ธิมะสาร
โรงเรียน บ้านโค้งประดู่ ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านโค้งประดู่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ของการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 69 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert) จำนวน 53 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการประเมินการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโค้งประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านบริบท (Context) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านผลผลิต (Product) ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ (Process) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามลำดับ
2. ด้านบริบท (Context) พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโค้งประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านบริบทคือด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วยความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการที่จะแก้ปัญหาด้านคุณภาพของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของโครงการทำให้โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพคล่องตัวทันสมัยและเข้าถึงนักเรียนรายบุคคล และวัตถุประสงค์ของโครงการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีมีความสุข
มีความสามารถทางสติปัญญา มีคุณธรรมจริยธรรม และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเป้าหมายของโครงการซึ่งประกอบไปด้วยครู และผู้ปกครองสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพจริง และนักเรียนได้รับการช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเหมาะสม ตรงตามความสามารถ ช่วงวัย และตามความต้องการของผู้เรียน
3. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโค้งประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านปัจจัยนำเข้า คือ ด้านการบริหารจัดการในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันซึ่งประกอบไปด้วยมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม และทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันอยู่เสมอ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบุคลากรซึ่งประกอบไปด้วยจำนวนครู บุคลากร มีความเหมาะสมและเพียงพอในการดำเนินโครงการ
4. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโค้งประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านกระบวนการ คือ ด้านการนิเทศกำกับติดตามและตรวจสอบซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหาร หรือหัวหน้างานมีการนิเทศ ให้คำแนะนำ ดูแลครูผู้ปฏิบัติงานในการดำเนินงานตามโครงการอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบ และประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และมีการกำกับติดตามการดำเนินโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความถูกต้องตามแผนโครงการที่ได้วางไว้ ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบวางแผนโครงการประกอบไปด้วยโรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างชัดเจน
5. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านโค้งประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลผลิตด้านคุณภาพผู้เรียน (คุณลักษณะอันพึงประสงค์)ซึ่งประกอบไปด้วยนักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อสังคม นักเรียนมีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง และนักเรียนรักความเป็นไทยขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงาม ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน(ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ)ซึ่งประกอบไปด้วยนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาได้อย่างมีวิจารญาณ และนักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม นำกระบวนการต่างๆไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม