ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการบูรณาการแนวคิด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะ
ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21
เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านเกาะหมี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้วิจัย นางสาวฐิติกาญจน์นภัส เดชาโชติโสภณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านเกาะหมี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการ
บูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะด้าน
การเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความมหัศจรรย์
ของพืชและสัตว์ (2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ (3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ (4) พัฒนาทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ (5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยการบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ การวิจัยเป็นการวิจัยละพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเกาะหมี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 19 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนมีชื่อว่า Presentation ; Analysis ; Construction ; Application and Evaluation Model (PACA Model) มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเสนอ (Presentation : P) 2) ขั้นคิดวิเคราะห์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Analysis : A) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Consultation : C) และ 4) ขั้นนำไปใช้และประเมินผล (Application and Evaluation : A) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/88.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการบูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความมหัศจรรย์ของพืชและสัตว์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมในระดับดี
4. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการ
บูรณาการแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมทักษะด้าน
การเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ความมหัศจรรย์
ของพืชและสัตว์ อยู่ในระดับมาก