ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : นางภวันนิภา น้อยบุดดี
ปีที่ทำวิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 46 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) จำแนกตามห้องเรียน ซึ่งแต่ละห้องเรียน นักเรียนมีผลการเรียนคละกันทุกห้องสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
1.1 องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการสอน 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน
1.2 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ครูควรจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เพราะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนได้คิดพิจารณาไตร่ตรองข้อมูล สถานการณ์ต่างๆ โดยใช้ความรู้ประสบการณ์ที่มี ตามหลักการของการคิดการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นความคิดที่สมเหตุสมผล ครูมีบทบาทในการตั้งคําถามให้นักเรียนได้คิด ควรจัดระบบสนับสนุนให้มีความครบถ้วน เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา ที่กำหนดให้ได้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดังนี้
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ5 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการสอน 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน 5) องค์ประกอบด้านบทบาทของนักเรียนและบทบาทของครูสอน
2.2 ความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในการทดลองใช้ครั้งที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 75.75/75.67 หมายความว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
3. การทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.59/78.48 หมายความว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก