ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย : นางสาวพลอยขวัญ หางแก้ว
ปีที่ทำวิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ
การสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) จำแนกตามห้องเรียน ซึ่งแต่ละห้องเรียน มีผลการเรียนคละกันทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 24 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์ศิราภรณ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 6) แบบทดสอบวัดคุณธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบมี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน องค์ประกอบเชิงกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Preparing) ขั้นที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchanging) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practicing) ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผล (Reflecting) ขั้นที่ 5 ขั้นติดตามผล (Following)
ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้ 2.1 รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน องค์ประกอบเชิงกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Preparing) ขั้นที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchanging) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practicing) ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผล (Reflecting) ขั้นที่ 5 ขั้นติดตามผล (Following) 5) องค์ประกอบด้านบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน 2.2 ความเหมาะสมของร่างรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.3 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.4 รูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการทดลองใช้ครั้งที่ 3 มีประสิทธิภาพ 81.20/80.44 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการสอบถามความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนนักเรียน วิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์
3. การทดลองรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 84.59/84.32 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 คุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนาฎศิลป์ ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา เพื่อพัฒนาคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก