ชื่องานวิจัย การส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้คำศัพท์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายอติคุณ บุญจูง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้มีความรู้ความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษและเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น โดยใช้กิจกรรมการอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือใบงาน ที่มีประกอบอยู่ รวมทั้งการลงมือทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้วิจัยได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งทำการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน
จากการศึกษาปรากฏว่า จากการทดสอบจากทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ และทำแบบฝึกหัดที่กำหนดให้นั้น ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เพิ่มขึ้น
บทที่ 1
บทนำ
ความสำคัญและที่มา
เนื่องจากกาอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านกระบวนการทักษะการอ่าน และเขียน เพราะหากว่าถ้านักเรียนขาดทักษะกระบวนการทักษะด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ก็จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากแก่ผู้เรียนและครูผู้สอน เพราะจะทำให้การเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชานี้ไม่ดีเท่าที่ควร
จากการที่ได้สอนนักเรียนทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้พบว่านักเรียนบางคนยังขาดทักษะกระบวนการอ่านอยู่มาก ดังนั้นจึงเห็นควรนำนักเรียนที่ยังขาดทักษะนี้ทั้งระดับชั้นมาทำการวิจัยในชั้นเรียน
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1. จูงใจให้นักเรียนสนใจในความสำคัญของการอ่าน และ การเขียนประโยคภาษาอังกฤษ
2. บันทึกสาเหตุและปัญหาของความบกพร่องทางกระบวนการอ่าน และเขียนของนักเรียน
3. ให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการเขียน จากแบบฝึกต่าง ๆ รวมทั้งการเขียนคำศัพท์ก่อนเรียนทุกครั้ง
4. ให้แบบฝึกการเขียนคำศัพท์เพิ่มเติม
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในทักษะกระบวนการอ่านภาษาอังกฤษได้เพิ่มขึ้นจาก 50 %
เป็น 80 %
ตัวแปรที่ศึกษา
1. แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะกระบวนการอ่าน
2. ระดับผลสัมฤทธิ์ของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมทักษะกระบวนการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้จัดทำแบบฝึกอย่างง่าย ๆ เพื่อให้นักเรียนไม่เบื่อและสนุกสนานในการเรียน ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการทำแบบฝึกหัดหรือข้อสอบที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและ หลังเรียน เพื่อศึกษาการพัฒนาของนักเรียนหลังจากที่ได้มีการฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้เพิ่มพูนทักษะกระบวนการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
2. ได้แนวคิดที่ว่า การเรียนภาษาอังกฤษ จำเป็นที่จะต้องรู้คำศัพท์ และเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการใช้แบบฝึกอย่างง่าย ๆ เพื่อช่วยฝึกและเพิ่มพูนทักษะกระบวนการอ่านภาษาอังกฤษ และได้กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโสน ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวนรวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน
2. เนื้อหา / หลักวิชา ทักษะการอ่านคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศภาษาอังกฤษจากการทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียนบ้านโสน
บทที่ 2
แนวทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลและแนวคิดของทฤษฎี Constructionisim ทฤษฎีที่ Seymour Papert ได้เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ทีให้ความสำคัญด้านกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก Piaget เชื่อว่า เด็กสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ โดยเด็กจะเป็นเสมือนนักทดลองรุ่นเยาว์ที่สร้างและทดสอบทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และเมื่อเด็กมีโอกาสได้สร้างความรู้นั้นด้วยตัวของเขาเอง เขาก็จะเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง สามารถจัดระบบโครงสร้างความรู้ของตนเองและมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (Mindstorms, 1993)
การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด
แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด มิใช่เรื่องใหม่ ได้มีการใช้แนวคิดนี้สืบต่อกันมาอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การเรียนรู้ตามแนวพุทธธรรมเน้น คน เป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการพัฒนา คน ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน (คือคนแต่ละคน) และการพัฒนา กลุ่มคน ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เมื่อ คน มีความสำคัญที่สุดของการเรียนรู้วิธีการ ฝึกฝนอบรมจังเป็นการพัฒนาทุกองค์ประกอบของความเป็น คน การเรียนรู้ตามวิถีชีวิตไทยแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นการสั่งสอนรายบุคคล เมื่ออยู่ในครอบครัว พ่อแม่สอนลูกชายให้ขยันอ่านออก เขียนได้ สอนลูกหญิงให้ทำงานบ้าน งานเรือน รู้จักรักนวลสงวนตัว เมื่อเติบโตขึ้นผู้ชายได้บวชเรียนกับพระที่วัดได้ฝึกงานอาชีพ การทำมาหากิน ส่วนผู้หญิงฝึกคุณสมบัติของกุลสตรีและฝึกงานอาชีพ กระบวนการเรียนรู้ตามวิถีวัฒนธรรมไทย สรุปได้คือ
1. เป็นกระบวนการบ่มเพาะ ซึมซับลักษณะประเพณีอันดีงาม
2. กระบวนการถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
3. กระบวนการเรียนวิชาความรู้
4. กระบวนการอบรมกิริยามารยาททั้งทางกาย วาจา ใจ ตามหลักคุณธรรม
5. กระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยการทำให้ดูแล้วฝึกทำให้เป็น
6. กระบวนการส่งเสริม สัมมาทิฏฐิ ให้ลูกหลานเป็นคนคิดดี คิดชอบ
สื่อประกอบการเรียนรู้ นอกจากเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทำมาหากินแล้วเด็ก ได้เรียนรู้
จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นิทานพื้นบ้าน ของเล่น การละเล่น บทกลอน สุภาษิต ปริศนาคำทายการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทย มีลักษณะสัมพันธ์และสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม บูรณาการระหว่างความรู้ ความสามารถปฏิบัติได้จริง และความมีคุณธรรม สมควรที่นักการศึกษาทั้งหลายจะได้สนใจค้นคว้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกาลสมัยการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดควรคำนึงถึงประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. สมองของมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด
สมองของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ เป็นโครงสร้างที่มหัสจรรย์ โดยธรรมชาติสมองมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด มีความต้องการ ที่จะเรียนรู้สามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ มนุษย์ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และทุกอย่างรอบตัวมนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ต้องอาศัยสมองและระบบประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นพื้นฐานของการรับรู้ซึ่งรับความรู้สึกจากอวัยวะรับความรู้สึก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องสนใจ และให้ผู้เรียน ไดพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมอง (Head) จิตใจ (Heart) มือ (Hand) และสุขภาพองค์รวม (Health)
2. ความหลากหลายของสติปัญญา
คนแต่ละคนมีความสามารถ หรือความเก่ง แตกต่างกัน และมีรูปแบบการพัฒนาเฉพาะของแต่ละคน สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาเสริมสร้างความสามารถให้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา และได้จำแนกความสามารถของคนไว้ 10 ประเภท คือด้านภาษา ดนตรี ตรรกและคณิตศาสตร์ การเคลื่อนไหว ศิลปะ/มิติสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/การสื่อสารด้านความรู้สึก/ความลึกซึ้งภายในจิตใจ ด้านความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านจิตนิยม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมศักยภาพ ความเก่ง /ความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถเก่งได้หลายด้าน
3. การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ดำเนินการรวบรวมแนวคิดทางทฤษฎีการเรียนรู้และเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังนี้
3.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามความสามารถทั้งด้านความรู้ จิตใจ อารมณ์และทักษะต่างๆ
3.2 ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง ผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสถานการณ์จริงที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตจริง เรียนรู้ความจริงในตัวเองและความจริงในสิ่งแวดล้อมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
3.3 กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทดลองปฏิบัติด้วย ตนเอง ครูทำหน้าที่เตรียมการ จัดสิ่งเร้า ให้คำปรึกษา วางแนวกิจกรรม และประเมินผล
บทที่ 3
ประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการใช้แบบฝึกอย่างง่ายๆ เพื่อช่วยฝึกและเพิ่มพูนทักษะกระบวนการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ และได้กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโสน ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน
2. เนื้อหา / หลักวิชา ทักษะการอ่านคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศภาษาอังกฤษจากการอ่านและทำแบบฝึกหัด ที่สอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียนบ้านโสน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (Pre-test)
2. แบบฝึกหัดเกี่ยวกับกระบวนการอ่าน และการเขียน
3. ทดสอบวัดความรู้หลังเรียน (Post-test)
3. ขั้นตอนการดำเนินการ
ในการดำเนินการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีการดำเนินการและรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโสน รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้
เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกหัด คือเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษ แบบฝึกหัดที่ใช้ในการทดลองเป็นการวงกลมคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและการเติมคำศัพท์ ซึ่งนำมาจากหนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ใช้สอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้วิจัยได้คัดตัวอย่างมาดังนี้
2. ขั้นออกแบบ
ขั้นออกแบบทดสอบ และแบบฝึกหัดมีขั้นตอนดังนี้
ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เป็นแบบฝึกหัดวงกลมคำศัพท์และเติมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นแบบฝึกที่ใช้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโดยมีรูปภาพเป็นส่วนประกอบ ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกไว้
ทดสอบหลังเรียน (Post-test) เป็นแบบฝึกหัดวงกลมคำศัพท์และเติมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศแบบเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ขั้นดำเนินการ
มีการดำเนินการดังนี้
3.1 ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยให้นักเรียนวงกลมคำศัพท์เกี่ยวกับสภาพ
ภูมิอากาศและเติมคำศัพท์ลงในแบบทดสอบ และทำการบันทึกคะแนน
3.2 ดำเนินการพัฒนาทักษะกระบวนการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโดยการแสดง
บัตรภาพคำศัพท์ให้ดูครูนำนักเรียนออกเสียงแล้วให้นักเรียนออกเสียงตาม
3.3 ทำการทดสอบอีกครั้งโดยให้นักเรียนเติมคำศัพท์ลงในแบบฝึกหัด และทำการบันทึกผลคะแนน
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
- วิเคาระห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดหลังเรียน
บทที่ 4
วิธีดำเนินการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย ระยะเวลาในการดำเนินงาน
วัน เดือน ปี กิจกรรม หมายเหตุ
11 มกราคม2564 - นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
17-20 มกราคม 2564 -นักเรียนอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศก่อนเรียน
ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
23 มกราคม 2564 -นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
เก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน จัดทำตารางเปรียบเทียบผลต่าง ระหว่างก่อนฝึก และ หลังฝึก หาผลต่างจากการปฏิบัติดังนี้
ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน หลังเรียน
ที่
ชื่อ นามสกุล
ก่อนเรียน
15 คะแนน หลังเรียน
15 คะแนน ผลต่าง หมายเหตุ
1 เด็กชายจีรวัฒน์ วงค์ลา 13 15 2
2 เด็กชายชนะพล ม่วงศรี 12 14 2
3 เด็กชายณรงค์ฤทธิ์ ผิวงาม 11 13 2
4 เด็กชายณัฐฐกร มะริต 13 15 2
5 เด็กชายณัฐกร คานงอน 11 13 2
6 เด็กชายธนโชติ จอกทอง 12 15 2
7 เด็กชายธนวัฒน์ วงษ์ภักดี 12 14 2
8 เด็กชายธนดล บุญแต้ม 11 14 3
9 เด็กชายชุติวัติ ดวงอินทร์ 13 15 2
10 เด็กชายวีรชาติ สืบเทพ 10 15 5
11 เด็กชายอดิศร บุญเอก 12 15 3
12 เด็กชายนรินธร สมชื่อ 13 15 2
13 เด็กชายธนากร ดาศรี 13 15 2
14 เด็กหญิงญาณิศา ทองดี 12 14 2
15 เด็กหญิงธนพร บุญตั้ง 12 15 2
16 เด็กหญิงนวลรัตน์ เดือนขาว 14 15 1
17 เด็กหญิงบุญญาพร มากมูล 12 15 3
18 เด็กหญิงภัชริดา เชิงสมอ 12 14 2
19 เด็กหญิงมุนิลตรา วิชา 13 15 2
20 เด็กหญิงวิสุนีย์ แสงศร 12 14 2
21 เด็กหญิงสุภมาศ บุญเหมาะ 11 13 2
22 เด็กหญิงหทัยภัทร สาธิปไตย 13 15 2
23 เด็กหญิงอารยา บุญปลอด 11 13 2
24 เด็กหญิงอัญรินทร์ ยืนยิ่ง 12 15 2
25 เด็กหญิงพร้อมพักตร์ สุขเติม 12 14 2
26 เด็กหญิงวาเศรษฐี ทองอ้ม 11 14 3
27 เด็กหญิงณิยดา สมีเพ็ชร 13 15 2
จากตารางจะเห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการคิดหาคำตอบที่ถูกต้องสูงกว่า ก่อนการทดลอง
บทที่ 5
สรุปผลการศึกษาวิจัย
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนนั้นแสดงให้เห็นว่านักเรียนยังขาดพื้นฐานการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ หรือมีพื้นฐานความรู้มาบ้างแต่ไม่สามารถอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศได้ถูกต้อง แต่หลังจากนักเรียนได้เรียน และทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ทำให้นักเรียนมีความรู้ และสามารถอ่านเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและเข้าใจความหมายมากยิ่งขึ้น สามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีนักเรียนบางคนที่มีค่าคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดไม่ค่อยดีเท่าที่ควรนั้น ก็อาจเป็นเพราะว่านักเรียนยังขาดความต่อเนื่องในการทำความเข้าใจ และในบางครั้งก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียนมาคั้นความต่อเนื่องของการเรียนรู้และดึงความสนใจของนักเรียน ไปด้วย และอีกสาเหตุจากการสอบถามโดยตรงจากนักเรียนทำให้ผู้วิจัยได้พบข้อมูลเพิ่มเติมว่านักเรียนไม่ได้กลับ ไปทบทวนและทำความเข้าใจเพิ่มเติมนอกห้องเรียน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าปัญหานี้ควรจะนำไปพัฒนา ในครั้งต่อไป
อภิปรายผลจากการศึกษา
จากการสร้างแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1. สังเกตได้ว่านักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ โดยดูผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
2. จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้การคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น
3. จะเห็นได้ว่าเมื่อนักเรียนได้รับการสอนที่เน้นย้ำในจุดที่นักเรียนมักจะสับสนหรือผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้
นักเรียนผิดพลาดน้อยลง
ข้อเสนอแนะ
1. ในการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษนักเรียนควรเลือกอ่านนิทานที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษง่ายๆ จะทำให้
นักเรียนเข้าใจความหมายและชอบการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
2. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีเวลาในการพบและติดตามผลจากนักเรียนมากกว่านี้