บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ 1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาในการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย โดย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากชุดการสอนแต่ละชุด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมคงคา เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยทดลองใช้ภาคสนามครั้งที่ 1 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ 1 ที่ผู้วิจัยสอน จำนวน 1 ห้อง จากทั้งหมด 2 ห้อง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 35 คน ทดลองใช้ภาคสนามครั้งที่ 2 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ 2 ที่ผู้วิจัยสอน จำนวน 1 ห้อง จากทั้งหมด 2 ห้อง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 31 คน และนำชุดการสอนที่ปรับปรุงและพัฒนาไปใช้กับกลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยสอน จำนวน 1 ห้อง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 37 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารละลาย จำนวน 2 ชุด และชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สารละลายกรดและเบส จำนวน 2 ชุด 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนชุดการสอนที่ 1-4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สมบัติของสารละลาย 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย มีประสิทธิภาพ 87.39/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการพัฒนาในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย หลังเรียนทุกชุดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4. โดยภาพรวมความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
จากการติดตามผลการพัฒนาในการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนโดยกลวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมบัติของสารละลาย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2556 โดยการเปรียบเทียบระดับผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1 (ว21101) ของนักเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยนักเรียนที่ทำคะแนนได้สูงกว่า 80 คะแนน หรือระดับผลการเรียน 4.0 เพิ่มขึ้น