รายงานผลการดำเนินงาน
โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการ ค่ายดนตรี
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
โดย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ที่ วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓
เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
ด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ได้ดำเนินการโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี สำเร็จลุล่วงไปแล้วนั้น
บัดนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จึงขอรายงานผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ลงชื่อ
(นางปราณี บุญจิ่ม)
ผู้เขียนโครงการ
ลงชื่อ
(นายสุทธินันท์ พุทธเจริญ)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ความคิดเห็นของผู้อำนวยการ
…………………………………….......................................................................................................... ……………………………………..........................................................................................................
ลงชื่อ
(นางพัฒนา นาสมบัติ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
คำนำ
รายงานผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ฉบับนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ได้รวบรวมผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการโรงเรียนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐานการดำเนินงานและเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณได้ดำเนินงานตามแผนงานที่ตั้งไว้
ขอขอบคุณผู้อำนวยการ คณะครูและบุคลากร วิทยากร และขอบใจนักเรียนทุกคนที่ช่วยให้โครงการครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ว่าเอกสารประเมินผลการดำเนินโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลในการพัฒนาโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
อย่างเต็มรูปแบบต่อไป
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนำ ๑
ความเป็นมาและความสำคัญ ๑
วัตถุประสงค์ ๑
เป้าหมาย ๑
เครื่องมือที่ใช้ในการสรุป ๒
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๒
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๓
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ ๓
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน ๕
ขั้นตอนการดำเนินงาน ๕
- ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan) ๕
- ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do) ๕
- ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน ( Check ๕
- ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act) ๖
บทที่ 4 ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล ๗
ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ ๗
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ๙ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๙
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ๑๐
บรรณานุกรม ๑๒ ภาคผนวก ๑๓
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผู้เรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย เพื่อมุ่งในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มุ่งเสริมเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเองสร้างจิตสำนึกในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โครงการค่ายดนตรีเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยนักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์แบบบรูณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียน ทำให้เกิดการฝึกทักษะกระบวนการคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม จึงได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ในโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดผลคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ค้นพบความสนใจ ความถนัด พัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวให้เหมาะสมกับตนเองในด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี
1.2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยความภูมิใจ
1.2.3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักวางแผนการทำงาน ฝึกการทำงานเป็นทีมโดยการระดมสมอง และฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
1.2.4 เพื่อให้โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม มีวงดนตรีไทย ดนตรีสากล วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงในกิจกรรมต่าง ๆ
1.3 เป้าหมาย
1.3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ทุกคน จำนวน 77 คน
1.3.2 ด้านคุณภาพ
1.3.2.1 ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ค้นพบความสนใจ ความถนัด พัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวให้เหมาะสมกับตนเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติเครื่องดนตรี
1.3.2.2 ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้อย่าง
มีเหตุผล และสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยความภูมิใจ
1.3.2.3 ผู้เรียนนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.3.2.4 โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม มีวงดนตรีอย่างน้อย 2 วง
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในครั้งนี้
1. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรม
1.5 ขอบเขตของการดำเนินโครงการ
การดำเนินงานโครงการ สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานประเมินผล
1.6 ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
21 กันยายน ๒๕๖๓ ณ โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.๗.1 ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ค้นพบความสนใจ ความถนัด พัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวให้เหมาะสมกับตนเองในด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี
๑.๗.2 ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยความภูมิใจ
๑.๗.3 ผู้เรียนนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักวางแผนการทำงาน ฝึกการทำงานเป็นทีมโดยการระดมสมอง และฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
๑.๗.4 โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคมมีวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล บรรเลงในกิจกรรมต่าง ๆ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดแนวการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผู้เรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการด้วยรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย เพื่อมุ่งในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มุ่งเสริมเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเองสร้างจิตสำนึกในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โครงการค่ายดนตรีเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยนักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์แบบบรูณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียน ทำให้เกิดการฝึกทักษะกระบวนการคิด การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.2 กิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ
การจัดกิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเครื่องดนตรีตามกลุ่ม/ชนิดของเครื่องดนตรี เช่น กีตาร์ กีต้าร์เบส คีบอร์ด กลองชุด ขิม ซอ อังกะลุง ระนาดเอก
2.3 รายละเอียดกิจกรรมการดำเนินโครงการ
กิจกรรมการบรรเลงเครื่องดนตรีตามกลุ่ม/ชนิดของเครื่องดนตรี เช่น กีตาร์ กีต้าร์เบส คีบอร์ด กลองชุด ขิม ซอ อังกะลุง ระนาดเอก
1. 1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีในกลุ่มที่เลือกทั้งภาคทฤษฎี และสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีในกลุ่มนั้น ๆ ได้
1.2 การดำเนินโครงการ
1.2.1 ผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังการบรรยายภาคทฤษฎี
1.2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติเครื่องดนตรี
1.3 การประเมินผล
1.3.1 นำเสนอการบรรเลงเครื่องดนตรี
1.3.2 ตอบแบบสอบถาม
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และมีทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรีในกลุ่มที่เลือก
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินโครงการโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลแนวคิดและข้อค้นพบจากการวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
พรสวรรค์ มณีทอง (บทคัดย่อ : ๒๕๕๙) การศึกษาเชิงปฏิบัติการด้านการฝึกซ้อมวงโยธวาทิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของวงโยธวาทิตในเขตเทศบาลนครลำปาง
ภานุวัฒน์ วัฒนจินดา (บทคัดย่อ : ๒๕๕๒) การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องสายของโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
รายงานผลการจัดกิจกรรมตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ได้นำวงจรคุณภาพของเดมิ่ง PDCA มาใช้ในการดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
2. ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do)
3. ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน ( Check )
4. ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act)
1. ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.1 ประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ แล้วขยายผลสู่คณะครูทุกคน
1.2 จัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรีเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแต่ละงานแต่กิจกรรมตามความเหมาะสม
1.4 สร้างความเข้าใจกับนักเรียนเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
1.5 ติดต่อประสานงานเตรียมความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ พาหนะในการเดินทาง(ถ้ามี)
1.6 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และวิธีประเมินผล
2. ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do)
การปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 บันทึกเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุญาตดำเนินการ
2.2 ดำเนินการตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ในระหว่างภาคเรียนที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนทุกคน โดยมีกิจกรรมดำเนินการดังนี้
๒.2.1 ผู้เข้าร่วมโครงการรับฟังการบรรยายภาคทฤษฎี
๒.2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติเครื่องดนตรี
๒.2.3 นำเสนอการบรรเลงเครื่องดนตรี
2.2.4 ตอบแบบสอบถาม
3. ขั้นตอนการร่วมกันประเมิน ( Check )
3.1 ดำเนินการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี โดยใช้แบบบันทึกกิจกรรม และแบบสอบถามความคิดเห็น
3.2 ข้อมูลที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) ใช้วิธีแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ ทั้งในรายข้อและภาพรวมเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้
3.31-4.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก
2.21-3.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับดี
1.51-2.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้
0.50-1.50 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับปรับปรุง
3.3 ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากแบบบันทึกกิจกรรม ใช้วิธี วิเคราะห์เนื้อเรื่อง ( Content Analysis )
3.4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic: X )
2. ค่าร้อยละ
3.5 รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิพิทยาคม
4. ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act)
เมื่อคณะกรรมการฝ่ายประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะกลุ่มงานผู้รับผิดชอบจึงได้นำสารสนเทศที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทที่ 4
ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ สามารถสรุปตามขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan)
ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการดำเนินการโดยมีขั้นตอน พบว่า การประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ แล้วขยายผลสู่คณะครูทุกคนได้รับความร่วมมือและสนับสนุนการทำโครงการเป็นอย่างดี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเห็นชอบโครงการได้รับการอนุมัติโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแต่ละงาน
แต่กิจกรรมตามความเหมาะสม แล้วสร้างความเข้าใจกับนักเรียนเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ติดต่อประสานงานเตรียมความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และวิธีประเมินผล ตามลำดับ
ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ ( Do)
การปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน คือ การบันทึกเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุญาตดำเนินการ พบว่า ได้รับการอนุญาตและให้ดำเนินการ และผลการดำเนินการตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนทุกคน พบว่า กิจกรรมการปฏิบัติเครื่องดนตรี นักเรียนและครูให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้วยดี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจและตั้งใจฝึกปฏิบัติเป็นอย่างดี
ขั้นตอนการ่วมกันประเมิน ( Check )
การประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ.............โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น พบว่า
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ จากแบบสอบถาม โดยแปลความหมายดังต่อไปนี้
3.31-4.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก
2.21-3.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับดี
1.51-2.00 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้
0.50-1.50 หมายถึง มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับปรับปรุง
วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมิน ได้ผลการประเมิน ดังนี้
ที่ รายการประเมินความพึงพอใจ ระดับความพอใจ
ดีมาก4 ดี 3 พอใช้2 ปรับปรุง1 รวม เฉลี่ย SD. ร้อยละ
1 ท่านมีการพัฒนาทักษะด้านดนตรีเพิ่มมากขึ้น 21 13 7 0 41 3.34 0.76 83.50
2 หลังการเข้าร่วมโครงการท่านสามารถเล่นดนตรีได้ในระดับใด 15 14 10 2 41 3.02 0.91 75.50
3 การถ่ายทอดความรู้และความสามารถของวิทยากร 22 15 4 0 41 3.43 0.71 85.75
4 ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ 17 16 6 2 41 3.17 0.86 79.25
5 สถานที่ในการดำเนินการโครงการ 16 21 3 1 41 3.26 0.74 81.50
6 อุปกรณ์ดนตรีที่ใช้ในโครงการ 23 15 3 0 41 3.48 0.67 87.00
7 ความพึงพอใจต่อโครงการ 17 18 6 0 41 3.26 0.74 81.50
8 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 18 17 5 1 41 3.26 0.80 81.50
149 129 44 6 328 3.28 0.78 82.00
45.43 39.33 13.41 1.83
จากตาราง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจโดยเรียงลำดับความพอใจจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุดอุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ในโครงการ ค่าเฉลี่ย ๓.๔๘ คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๐๐ ตามลำดับ การถ่ายทอดความรู้และความสามารถของวิทยากร ค่าเฉลี่ย ๓.๔๓ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๗๕ การมีพัฒนาทักษะด้านดนตรีเพิ่มมากขึ้น ค่าเฉลี่ย ๓.๓๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕๐ สถานที่ในการดำเนินการโครงการ ความพึงพอใจต่อโครงการ การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าเฉลี่ย ๓.๒๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๕๐ และ ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ ค่าเฉลี่ย ๓.๑๗ คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๒๕
ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act)
เมื่อคณะกรรมการฝ่ายประเมินผลแล้วจึงได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะกลุ่มงานผู้รับผิดชอบและได้นำสารสนเทศที่ได้นำเสนอต่อผู้บริหารและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบและนำผลการทำเนินงานมากปรับปรุงพัฒนาการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล( ตามที่เขียนในโครงการ)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในครั้งนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเก็บรวบรวมข้อมูล( ตามที่เขียนในโครงการ)
มีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. ผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมแจกแบบสอบถามความคิดเห็นให้นักเรียน ของแต่ละกิจกรรมประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ
บทที่ 5
สรุปผล และข้อเสนอแนะ
ผลการจัดกิจกรรม ตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ได้ผลสรุปดังนี้
1. วัตถุประสงค์
2. เป้าหมาย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. สรุปผลการดำเนินการ
6. ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์( ตามที่เขียนในโครงการ)
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ค้นพบความสนใจ ความถนัด พัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวให้เหมาะสมกับตนเองในด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยความภูมิใจ
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักวางแผนการทำงาน ฝึกการทำงานเป็นทีมโดยการระดมสมอง และฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
4. เพื่อให้โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม มีวงดนตรีไทย ดนตรีสากล วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงในกิจกรรมต่าง ๆ
เป้าหมาย
1. เชิงปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม ทุกคน จำนวน 77 คน
2. ด้านคุณภาพ
2.1 ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ค้นพบความสนใจ ความถนัด พัฒนาความสามารถพิเศษเฉพาะตัวให้เหมาะสมกับตนเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติเครื่องดนตรี
2.2 ผู้เรียนมีความสมารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้อย่างมี
เหตุผล และสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยความภูมิใจ
2.3 ผู้เรียนนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.4 โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม มีวงดนตรีอย่างน้อย 2 วง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล( ตามที่เขียนในโครงการ)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในครั้งนี้
1. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
มีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. ผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมแจกแบบสอบถามความคิดเห็นให้นักเรียน แต่ละกิจกรรมประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมรายงานผลการจัดกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินการ
สรุปโดยภาพรวม พบว่า การจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิชาการค่ายดนตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ สำเร็จลุล่วงด้วยดีจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีความความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงดีมาก
ปัญหา/ข้อเสนอแนะ
ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
บรรณานุกรม
พรสวรรค์ มณีทอง. การศึกษาเชิงปฏิบัติการด้านการฝึกซ้อมวงโยธวาทิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของ
วงโยธวาทิตในเขตเทศบาลนครลำปาง. 2559
ไพศาล หวังพานิช. การจัดการผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมอาชีวศึกษา, 2523.
ภานุวัฒน์ วัฒนจินดา การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องสายของโรงเรียน
ดุริยางค์ทหารอากาศ. ๒๕๕๒
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ . วิธีทางการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๕
สุวิมล ติรกานันท์. การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์
๒๕๕๒