การประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ในประเด็นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนวัดวังฆ้อง การนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของครู และผู้ปกครองนักเรียน และความพึงพอใจของครู และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาบุคลากร สถิติ และวิจัย ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเขตพื้นที่ใกล้เคียง 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3) ครู จำนวน 11 คน ซึ่งใช้ประชากรทั้งหมด 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 77 คน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนระดับชั้นที่สามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง และ 5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 77 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อม แบบประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น แบบประเมินด้านกระบวนการ และแบบประเมินด้านผลผลิต ประเด็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ มีความคิดเห็นว่าโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 โดยรวม มีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่า ผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ด้านสภาพแวดล้อม (context) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยเบื้องต้น ที่ใช้ในการดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ในด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ถือว่า ผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งสมควรดำเนินงานขั้นตอนต่อไป โดยการกำหนดโครงสร้างของแผนงานและขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ของโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นว่า ขั้นตอน กระบวนการในการดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ถือว่า ผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการ (process) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งสมควรดำเนินงานขั้นตอนต่อไป โดยการนำโครงการไปปฏิบัติ ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดและเพื่อปรับปรุงแก้ไขแนวทางการดำเนินงานให้ได้ผลดีที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) พบว่า
4.1 นักเรียนโรงเรียนวัดวังฆ้อง ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ72.70 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนวัดวังฆ้อง พบว่า นักเรียนทั้งหมด (ร้อยละ 100) มีความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
4.2 ครู และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนวัดวังฆ้อง มีความคิดเห็นว่า เมื่อมีโครงการ ได้มีการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งถือว่าผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ด้านผลผลิต (product) เกี่ยวกับการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 ครูและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่า ผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีการศึกษา 2563 ด้านผลผลิต (product) เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงการ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
จากการประเมินผลผลิตทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ การประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประเมินผลนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการประเมินความพึงพอใจของครู และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ซึ่งผลการประเมินโครงการ ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดทั้ง 3 ประเด็น ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมมากที่จะดำเนินงานโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดวังฆ้อง ปีต่อไป และขยายโครงการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมความสนใจและความแตกต่างของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดและการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้นๆไป