ชื่อเรื่องการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย(ขิม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้วิธีการฝึกสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ผู้วิจัย นางปราณี บุญจิ่ม
ปีที่วิจัย 2564
2. ความสำคัญและที่มา
การเล่นดนตรีเป็นความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกซ้อม ผู้ที่มีความสามารถในการเล่นดนตรีได้ก็จะเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษดังนั้นนักเรียนทุกคนต้องเล่นดนตรีได้อย่างน้อยคนะ 1 ชิ้น ในการเรียนวิชาดนตรี เป็นการพัฒนาที่เน้นการปฏิบัติ การสอนเพื่อพัฒนาในด้านทักษะ และการปฏิบัติดนตรี วิชาดนตรีนั้นผู้เรียนจะต้องมีความตั้งใจและสนใจในเวลาเรียนเป็นอย่างมากจึงจะทำให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพการอ่านโน้ตเป็นพื้นฐานในการเล่นดนตรีการฝึกฝนตัวเองก็เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาในด้านทักษะดนตรีเป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ ในการสอนที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนบางส่วน ยังขาดทักษะในด้านการบรรเลงขิมเป็นอย่างมาก จึงส่งผลมาให้ต้องมีการปรับปรุง และต้องมีการพัฒนาในทักษะนี้อย่างต่อเนื่องและจากการเรียนการสอนนักเรียนทั้งหมด 12 คนมีนักเรียนที่มีปัญหาในทักษะด้านการบรรเลงขิมอยู่ 2 คน ดังนั้น ผู้ที่ทำการวิจัย จึงหาวิธีการที่จะดำเนินการเพื่อที่จะแก้ไขให้นักเรียนบรรเลงได้และพัฒนาให้นักเรียนได้เกิดทักษะในด้านการบรรเลงขิมให้มากยิ่งขึ้นดังนั้นในการพัฒนาในครั้งนี้จะใช้วิธีการประเมินนักเรียนควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน
3. จุดมุ่งหมาย
เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการบรรเลงขิมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
1. วิธีสอนตามปกติ
2. วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
3. การทดสอบทักษะในด้านการบรรเลงขิม
ตัวแปรตาม
1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2. ทักษะในด้านการบรรเลงขิม
3. นักเรียนสามารถสอบบรรเลงขิมผ่าน เพลงแขกกุลิต
5. แนวคิดในการวิจัย
1. ให้นักเรียนมีทัศนคติต่อวิชาดนตรีดีขึ้น
2. นักเรียนมีทักษะทางด้านดนตรีไม่เท่ากัน บางคนรับรู้ได้เร็ว บางคนรับรู้ได้ช้า ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อม และการเอาใจใส่ของตัวนักเรียนเอง
3. เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและผู้ที่พบเห็น
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยนี้ จะเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาทักษะในด้านการบรรเลงขิม ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการฝึกทักษะการอ่านโน้ต การบรรเลงโน้ตสามตัว การรัว การตีสลับมือ และให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาดนตรี มีพื้นฐานดนตรีที่ดี และเพื่อให้การเรียนการสอนวิชาดนตรีสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น
7. ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มที่ศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวนนักเรียนที่ศึกษา 12 คน ของโรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในการทำวิจัยครั้งนี้ เลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้เลือกนักเรียนกลุ่มนี้เนื่องจากนักเรียนมีทักษะพื้นฐานในด้านการบรรเลงขิมเป็นการฝึกหัดใหม่ และเด็กนักเรียนพึ่งจะเรียนบรรเลงขิมเป็นเทอมแรก ทำให้นักเรียนยังมีความสนใจเรียนอยู่บ้าง
2. วิธีการสอนบรรเลงขิม วิธีสอนที่ผู้วิจัยได้สอนตามปกติ โดยมีเทคนิคการสอนแบบใหม่ๆ เช่นให้นักเรียนบรรเลงตามและซ้ำ ๆ กันหลาย ๆรอบ ซึ่งต้องการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. วิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญที่ผู้วิจัยได้ใช้ควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อจะได้ข้อมูลจากตัวนักเรียนและนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด โดยมีวิธีการที่ใช้ดังต่อไปนี้ คือ โดยการสังเกตการสอนของครู ซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการซ้อม ให้นักเรียนปฏิบัติเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนปฏิบัติทีละคน การให้แบบฝึกแต่ขั้น และบรรเลงรวมวง
4. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก ในการเรียนรู้ในวิชาดนตรี ด้านการอารมณ์ของเพลงเวลาบรรเลง บรรเลงตามครูได้ และการทำแบบฝึกหัดที่ครูให้
5. ทักษะการเรียนในวิชาดนตรี หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการเรียนวิชาดนตรี เกี่ยวกับการบรรเลงขิม สามารถบรรเลงขิมได้อย่างถูกต้องและตรงกับจังหวะ โดยมีเกณฑ์ผ่านร้อยละ 80 ขึ้นไปของเพลงที่เรียน จากการทดสอบเก็บคะแนน
8. วิธีดำเนินการวิจัย
1. การกำหนดระยะเวลาทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัยทั้งหมด 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 2 ครั้ง โดยผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนบรรเลงขิมในช่วงพักกลางวัน ในแต่ละครั้ง ครูก็จะบันทึกหลังความก้าวหน้าของตัวนักเรียน
9. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามแผนการสอนตามปกติ โดยครอบคลุมเนื้อหาในการบรรเลงขิม เพลงแขกกุลิต 2 ชั้น
10. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
นักเรียนหลายคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถอ่านโน้ตและบรรเลงขิมเป็นเพลงได้
11. สรุปผลการวิจัย
นักเรียนจำนวนหนึ่งมีการพัฒนาทักษะในการบรรเลงขิมที่ดีขึ้น ต่างจาการสอนแบบวิธีปกติ โดยวิธีการให้นักเรียนมาซ้อมในเวลาพักกลางวันและให้นักเรียนที่บรรเลงขิมได้แล้ว สอนให้กับนักเรียนที่ยังบรรเลงขิมไม่ได้โดยบรรเลงทีละบรรทัด ซ้ำไปซ้ำมาจนนักเรียนบรรเลงได้คล่อง แล้วจับกลุ่มมาสอบกับคุณครู นักเรียนจึงเกิดทักษะในการบรรเลงขิมที่ดีขึ้น สามารถบรรเลงขิมได้ชัดเจน ถูกต้อง ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาทักษะการบรรเลงขิมและการเล่นดนตรีได้อย่างคล่องแคล่ว
12. ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
การทำอะไรให้ตามให้ประสบผลสำเร็จนั้น ย่อมแลกด้วยอุปสรรคต่าง ๆ นานา การที่นักเรียนบรรเลงขิมได้นั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจของนักเรียนและคุณครูผู้ฝึกสอน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย(ขิม)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้วิธีการฝึกสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ผู้วิจัย
นางปราณี บุญจิ่ม
โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
หลักฐานการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
นางปราณี บุญจิ่ม
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหนองโกวิชาประสิทธิ์พิทยาคม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม