ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดย
ใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
ชื่อผู้วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว เพื่อเปรียบเทียบการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด และเพื่อเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด จำนวน 20 คน ให้เขียนคำภาษาไทยให้ถูกต้องและดีขึ้น คะแนนทดสอบหลังใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนสูงจากก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดมีผลรวมของผลต่างของคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดมีค่าเฉลี่ย 7.8 ร้อยละ 26.00 ซึ่งแสดงว่า การใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
จากผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ทราบว่าความสำคัญในการเขียน ของนักเรียน เกิดจากวิธีสอนของครูเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ครูยังขาดอุปกรณ์ที่เป็นแบบฝึกเสริมทักษะที่มีเนื้อหาตรงกับความสนใจของนักเรียน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะ สร้างแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดเพื่อช่วยพัฒนา ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการเรียนในทุกวิชาเด็กนักเรียนควรจะมีทักษะในการ อ่านและการเขียนได้ถูกตอง ทักษะการอ่าน และการเขียน เป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งตอการ ดำรงชีวิตของคน เพราะในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรา การอ่าน และการเขียนเป็นการสื่อความหมายถึงกันไดอย่างถูกตอง จึงจำเป็นตองพัฒนาทักษะการ อ่าน และการเขียนสะกดคำ กลาวคือ ตองอ่าน เขียนได้ถูกตอง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งเป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนไทย ใหเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ เป็นคนดี มีปญญา และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาตอ และประกอบอาชีพ การจัดกิจกรรมการเรียนรูกลุมสาระการ เรียนรูภาษาไทย เพื่อใหบรรลุจุด มุ่งหมายดังกล่าวจะตองใหนักเรียนได้ฝกทักษะตางๆ อย่างสมดุลกันเป็นไปตาม ธรรมชาติ และความสามารถของนักเรียน ทั้งการดู ฟง การพูด การอ่าน และการเขียน สัมพันธกัน โดยใช กระบวนการคิดเป็นตัวเชื่อมโยง ไม่เนนการอานออก เขียนได้เพียงอย่างเดียว แต่จะเนนการสอนภาษาเพื่อการ สื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ใชภาษาในการแกปญหาในการดำรงชีวิต และการแกปญหาสังคมเนนการสอน ภาษาในฐานะของเครื่องมือการเรียนรู เพื่อใหนักเรียนได้แสวงหาความรูด้วยตนเอง สามารถนําความรูไปใชในการ พัฒนาตนเอง ดังนั้น เด็กไทยทุกคนควรเรียนรูและใชภาษาไทยได้อย่างถูกตองทุกโอกาส ซึ่งการเรียนการสอน ภาษาไทยเป็นทักษะที่ตองฝกฝนจนเกิดความชํานาญในการใชภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่าน และการฟงเป็น ทักษะของการรับรูเรื่องราว ความรูประสบการณ สวนการพูด และการเขียนเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรูและประสบการณ การเรียนภาษาไทยจึงตองเรียนเพื่อการสื่อสาร ใหสามารถ รับรู ขอมูลข่าวสารได้อย่างพินิจ พิเคราะห์ สามารถนําความรูความคิดมาเลือกใชเรียบเรียงคำมาใชตามหลักภาษาได ถูกตองตรงตามความหมาย กาลเทศะ และใชภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิมลรัตน สุนทรโรจน(๒๕๔๙ : ๘๐)
วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการเรียนในทุกวิชา เด็กนักเรียนควรจะมีทักษะในการอ่านและการเขียนได้ถูกต้องในกลุ่มภาษาไทย พบว่าจากผลสัมฤทธิ์ของเด็กนักเรียนที่เรียนมาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีเด็กนักเรียนที่เขียนคำในภาษาไทยไม่ถูกต้อง จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและพัฒนาเด็กที่มีปัญหาให้ดีขึ้น จึงต้องมีการคิดวิธีการที่จะแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด มาให้นักเรียนได้ฝึกทำเพื่อจะได้เขียนภาษาไทยได้ถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีเกณฑ์ที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว
๒. เพื่อเปรียบเทียบการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
๓. เพื่อเสริมทักษะการเขียนภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดให้ถูกต้อง
ขอบเขตของการวิจัย
๑. ในการวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการสร้างและพัฒนาแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว
๒. ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
๑. แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด หมายถึง แบบฝึกที่นำมาเสริมทักษะการเขียนคำในมาตราตัวสะกด จากการเขียนคำในมาตราแม่สะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว
๒. การเขียน หมายถึง การเขียนคำภาษาไทยจากการเขียนคำในมาตราแม่สะกด
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนได้รับจากการเขียนตามแบบที่ครูสร้างขึ้น
๔. ประชากร หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว
๕. กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว จำนวน 20 คน
สมมุติฐานของการวิจัย
ในการใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนคำภาษาไทยถูกต้องหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. นักเรียนสามารถใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ในการแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังน้ำขาว ได้
๒. ใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดในการสอน ซ่อมเสริม โดยให้นักเรียนนํำไปฝึกเขียนเป็นกลุ่ม หรือสามารถเขียนเองที่บ้านได้
๓. เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน
๔. ทำให้ผลการเขียนคำภาษาไทยถูกต้องและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย
1. รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและสอบถามปากเปล่ากับนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการ เรียนวิชาภาษาไทยพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขปัญหา
๒. ดำเนินการแก้ไขโดยสร้างแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
๓. ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนเรียน ( Pre test) ใช้แบบทดสอบเรื่อง การเขียนสะกดคำ
๔. ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง โดยให้นักเรียนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด
๕. ทำการทดสอบหลังสอน (Post test) โดยใช้แบบทดสอบ เรื่อง การเขียนสะกดคำ แบบเดียวกับก่อน เรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
-ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด
-ตัวแปรตาม ได้แก่ การพัฒนาด้านการเขียนคำภาษาไทยตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยไดใช้เครื่องมือตามลำดับดังนี้
๑. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องการสะกดคำ
๒. แบบฝึกทักษะการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด แม่ ก กา
๓. แบบฝึกทักษะการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด แม่ กก
๔. แบบฝึกทักษะการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด แม่ กด
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนคำภาษาไทยจำนวน ๕ ชุด
- แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องการสะกดคำ
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ ก.กา
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กก
- แบบทดสอบเขียนคำที่สะกดในมาตราแม่ กด
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ทำการทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยรวม ๕ ชุด
- การทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยก่อนฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำในมาตราแม่ ก.กา หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำในมาตราแม่ กก หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนคำในมาตราแม่ กด หลังฝึก
- การทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทยหลังฝึก
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ คือ ผู้วิจัยตรวจแบบบันทึกคะแนนของ นักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนทั้ง ๒ ครั้ง มาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนที่ ได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ เปรียบเทียบเป็นจำนวนร้อยละ คะแนนทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องการสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีมีผลรวมของผลต่างของคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดมีค่าเฉลี่ย 7.8 ร้อยละ 26.00 ซึ่งแสดงว่า การใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการแก้ปัญหาการเขียนคำภาษาไทยไม่ถูกต้องของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดัง ตารางที่ ๑
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 คน
เลขที่ คะแนนเต็ม(30)
คะแนนก่อนใช้แบบฝึก คะแนนเต็ม(30)
คะแนนหลังใช้แบบฝึก D
1 ๑๗ ๒๓ 6
2 ๑๙ ๒๕ 6
3 ๒๐ ๒๖ 6
4 ๑๗ ๒๒ 5
5 ๑๓ ๒๔ 11
6 ๑4 ๒๖ 12
7 ๒๑ ๒๗ 6
8 ๑๘ ๒๓ 5
9 ๑๕ ๒๕ 10
10 ๑๔ ๒๖ 12
11 ๑๗ ๒๓ 6
12 ๑๙ ๒๕ 6
13 ๒๐ ๒๖ 6
14 18 ๒๒ 4
15 ๑๓ ๒๔ 11
16 ๑๑ ๒3 12
17 ๒0 ๒4 7
18 19 24 5
19 ๑๕ ๒๕ 10
20 ๑5 25 10
รวม 335 491 156
(X) 16.75 24.55 7.8
ร้อยละ 55.83 81.83 26.00
จากตารางเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการการเขียนคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน หลังจากฝึกด้วยแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดแล้ว มีผลรวมของผลต่างของคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดมีค่าเฉลี่ย 7.8 ร้อยละ 26.00
สรุปผลการวิจัย
คะแนนทดสอบหลังใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนสูงจากก่อนใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดมีค่าเฉลี่ย 7.8 ร้อยละ 26.00 ซึ่งแสดงว่า การใช้แบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ทราบว่าความสำคัญในการเขียน ของนักเรียน เกิดจากวิธีสอนของครูเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ครูยังขาดอุปกรณ์ที่เป็นแบบฝึก เสริมทักษะที่มีเนื้อหาตรงกับความสนใจของนักเรียน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดเพื่อช่วยพัฒนา ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียน
ข้อเสนอแนะ
๑. ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ควรนำแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดไปใช้ในการเรียนการสอน หรือใช้ในการสอน ซ่อมเสริม
๒. ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง ควรสนับสนุนให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างชุดแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดและวิธีอื่นๆ ให้แก่คณะครูในโรงเรียน
3. ครูผู้สอนควรเพิ่มมาตราตัวสะกดแม่อื่นๆ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
๑. ควรมีการนำชุดแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดไปทดลองใช้กับหลายๆ โรงเรียน เพื่อสรุปผลและปรับปรุงแก้ไข
๒. ควรมีการสร้างชุดแบบฝึกหัดการเขียนคำในมาตราตัวสะกดในระดับชั้นต่างๆ อย่างทั่วถึง
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (๑๕๕๑). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพราว. กำชัย ทองหลอ. (๒๕๔๓). หลักภาษาไทย. (พิมพครั้งที่ ๑๐). กรุงเทพฯ: รวมสาสน.
กมล ชูกลิ่น. การพัฒนาแบบฝกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปที่ ๓. วิทยานิพนธ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๕๐.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๑). การจัดการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูภาษาไทยตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. พิมพครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการรับสง สินคาและพัสดุภัณฑ (ร.ส.พ.)
กรรณิการพวงเกษม. ปญหาและกลวิธีการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษา. พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพวัฒนาพานิชน, ๒๕๓๕.
กรวิการ รื่นรมย. (๒๕๔๓). รายงานการวิจัยเรื่องการสรางแบบฝกทักษะการเขียนสะกดคำใน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ ๔ ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ระยอง. ระยอง: สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง.
กุศยา แสงเดช. (๒๕๔๕). หนังสือสงเสริมการอาน. กรุงเทพฯ: แม็ค
ชวาล แพรัตกุล . (๒๕๔๙). เทคนิคการเขียนขอสอบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพคุรุสภา.
ชาญชัย อาจนสมาจาร. (๒๕๔๐). หลักการสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กลิ่นพยอม สุระคาย. (๒๕๔๔). “การพัฒนาแบบ ฝกการอานภาษาอังกฤษเพื่อความเขาใจที่มีภาพการตูน ประกอบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ ๔.” วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐพงศ สาวงศตุย. (๒๕๔๒). “การพัฒนาแบบฝกที่มีประสิทธิภาพเรื่องการสะกดคำยากวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ป ที่ ๓.” วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาการประถมศึกษา บัณฑิต
จิรภา จันทพัฒน์ (๒๕๔๘ : ๖๗) ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลการใช้วิธีการสอนแบบ CIRC