ผู้รายงาน นางอนงค์นุช ผลยฤทธิ์
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีงบประมาณ 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 2) คุณภาพของระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 3)ความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ 4) ความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา มีต่อการดำเนินการโครงการ 5) ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินการโครงการ 6) ความพึงพอใจของครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีต่อการดำเนินการโครงการ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 9 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้หาค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .904-.956 สถืติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และด้านความเป็นไปได้ของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านความสอดคล้องด้านนโยบายต้นสังกัดอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัย โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ และสื่อมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร,ความเพียงพอของงบประมาณ,ด้านความเหมาะสมการบริหาร/การนิเทศและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 ด้านกระบวนการตามความคิดเห็นของตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัยและผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษา โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีการปฏิบัติและคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน โดยทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษาและกลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน
ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานต้นสังกัดที่จัดการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา ที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 จำแนกตาม ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษาที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 จำแนกตาม ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 จำแนกตาม ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 จำแนกตาม ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563 ตามกลุ่มผู้ประเมิน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่าทั้ง 4 ด้าน ทุกตัวชี้วัดที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 สื่อสารสร้างความเข้าใจ ในการดำเนินกิจกรรมใดๆควรมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานให้มีความเข้าใจตรงกันในรูปแบบต่างๆเช่นการจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ กลุ่มไลน์ ประชุมทางไกล และแนะนำโดยตรง
1.2 การมีส่วนร่วม ในดำเนินการกิจกรรมใดๆ ให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่มงาน ระดับหน่วยงานนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงาน รู้สึกมีความสำคัญ เช่นการแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน การให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน ดำเนินการ ประเมินผล
1.3 การนิเทศ กำกับ ติดตามในการดำเนินกิจกรรมใดๆทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่มงาน ระดับหน่วยงาน ควรใช้หลักการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทำให้เขารู้สึกว่าไม่ใช่การจับผิด แต่เป็นการสอบถามความก้าวหน้า/แล้วชี้แนะในส่วนที่ยังบกพร่อง
1.4 การเสริมแรงทางบวก สร้างขวัญกำลังใจ ในดำเนินการกิจกรรมใดๆ ให้ผู้ร่วมงานมีเจตคติที่ดีต่องานที่ให้ดำเนินการนั้นควรมีการเสริมแรงทางบวก สร้างขวัญกำลังใจ ให้แก่ผู้ร่วมงานด้วยวิธีการต่างๆที่หลากหลายเช่นแต่งตั้งเป็นคณะทำงาน มอบเกียรติบัตรให้คณะทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ชื่นชมในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้ร่วมงานดำเนินงานด้วยความเต็มใจจะส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพ
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆที่เน้นภาพรวมระดับองค์การโดยการใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2.2 ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศในการนิเทศการศึกษาและประสิทธิภาพในการนิเทศการศึกษา