ผู้วิจัย นางอนงค์นุช ผลยฤทธิ์
ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562 - 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารครูและเครือข่ายการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ระยะเวลาในการวิจัย ปีการศึกษา 2562- 2563 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 10 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 86 คน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 801 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 818 คน เครือข่ายการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 25 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ ปัญหาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและความจำเป็นในพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบกิจกรรมในการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ครอบคลุมกรอบงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย 2) ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย 3) ด้านคุณภาพของเด็ก ทุกด้านขับเคลื่อนโดยใช้ SUPER Model 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1. การกำหนดเป้าหมาย/นวัตกรรมในการพัฒนา ขั้นที่ 2. การนำไปใช้ ขั้นที่ 3 การนิเทศติดตามและสะท้อนผลการนิเทศ ขั้นที่ 4 การประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 5 รายงานผลการดำเนินงาน ระยะที่ 3 การประเมินผลการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ผลการประเมิน ขั้นตอนที่ 7 การสรุปรายงานผลและเผยแพร่ผลงาน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัย แบบสอบถามคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัย ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย แบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูล หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562และ2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ตามความคิดเห็นขอผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา2562 - 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.06 มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.16ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.06 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.05 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.14ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ07 อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09 มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.05 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.13 อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 4.46, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.07 อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนระดับปฐมวัยและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.07 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ4.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.06 อยู่ในระดับดี รองลงมาคือ กลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.05ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09 อยู่ในระดับดี เช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.08 และกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09 อยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.11 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากันเท่ากับ3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.12 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.11 อยู่ในระดับดี
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09) มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากันเท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.10 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.09 อยู่ในระดับดีมาก
4. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา) โดยสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา) กรณีศึกษาโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 แห่ง ตามสภาพจริงหลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พบว่าโดยภาพรวมผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คุณภาพของเด็กในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 95.38 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่เด็กมีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไปสูงสุดได้แก่พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจมีผล
การประเมินเฉลี่ยร้อยละ 97.75 รองลงมาคือพัฒนาการด้านสังคม ผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 96.25และพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือพัฒนาการด้านร่างกาย มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 92.38
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คุณภาพของเด็กในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 93.77 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่เด็กมีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไปสูงสุดได้แก่พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจมีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 97.31 รองลงมาคือพัฒนาการด้านสังคม ผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 95.97 และพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือพัฒนาการด้านสติปัญญา มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 91.06 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.03, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.10 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.10 อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.03,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.08 อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.12 อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.12 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .08 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.57ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.14 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ4.51,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.12 อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน