บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย ศึกษาระดับคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารครูและเครือข่ายการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ระยะเวลาในการวิจัย ปีการศึกษา 2562- 2563 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 10 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 86 คน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 801 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 818 คน เครือข่ายการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 25 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ ปัญหาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและความจำเป็นในพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบกิจกรรมในการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ครอบคลุมกรอบงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย 2) ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย 3) ด้านคุณภาพของเด็ก ทุกด้านขับเคลื่อนโดยใช้ SUPER Model 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1. การกำหนดเป้าหมาย/นวัตกรรมในการพัฒนา ขั้นที่ 2. การนำไปใช้ ขั้นที่ 3 การนิเทศติดตามและสะท้อนผลการนิเทศ ขั้นที่ 4 การประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นที่ 5 รายงานผลการดำเนินงาน ระยะที่ 3 การประเมินผลการวิจัยการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ผลการประเมิน ขั้นตอนที่ 7 การสรุปรายงานผลและเผยแพร่ผลงาน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัย แบบสอบถามคุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัย ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย แบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูล หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562และ2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model ตามความคิดเห็นขอผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา2562 - 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.15, S.D =.06) มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x- =4.16, S.D =.06), (x- =4.16, S.D =.05) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย (x- =4.14, S.D =.07) อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย (x- =4.47, S.D =.09) มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-=4.51, S.D =.05) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย ( x-=4.50, S.D =.13) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x- =4.46, S.D =.07) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนระดับปฐมวัยและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.09, S.D =.07) มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x- =4.11, S.D =.06) อยู่ในระดับดี รองลงมาคือ กลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย
(x- =4.05, S.D =.09) อยู่ในระดับดี เช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.52, S.D =.09) มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีคุณภาพ อยู่ในระดับดี (x- =4.50, S.D =.08) และกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ย (x- =4.57, S.D =.09) อยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ปฐมวัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.00, S.D =.11) มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (x- =3.99, S.D =.12), (x- =3.99, S.D =.11) อยู่ในระดับดี
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.60, S.D =.09) มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (x- =4.60, S.D =.10), (x- =4.60, S.D =.09) อยู่ในระดับดีมาก
4. คุณภาพสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ด้านคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา) โดยสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณภาพของเด็ก (ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา) กรณีศึกษาโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 แห่ง ตามสภาพจริงหลังการพัฒนา ปีการศึกษา2562 - 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พบว่าโดยภาพรวมผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คุณภาพของเด็กในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 95.38 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่เด็กมีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไปสูงสุดได้แก่พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจมีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 97.75 รองลงมาคือพัฒนาการด้านสังคม ผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 96.25และพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือพัฒนาการด้านร่างกาย มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 92.38
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คุณภาพของเด็กในระดับดีขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 93.77 และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่เด็กมีระดับคุณภาพระดับดีขึ้นไปสูงสุดได้แก่พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจมีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 97.31 รองลงมาคือพัฒนาการด้านสังคม ผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 95.97 และพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านที่มีคุณภาพระดับดีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือพัฒนาการด้านสติปัญญา มีผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 91.06 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนระดับปฐมวัย และเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบปฐมวัยเชิงบูรณาการ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยใช้ SUPER Model หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562- 2563 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.03, S.D =.10) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x- =405, S.D.= .10) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย (x- =4.03, S.D.= .08) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
( x-=3.99, S.D.= .12) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- =4.53, S.D =.12) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x- =4.58, S.D.= .08) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มเครือข่ายนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัย (x- =4.57, S.D.= .14) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x- =4.51, S.D.= .12) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน