|
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๓) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๒๔ คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ แผน ๑๘ ชั่วโมง แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ ๐.๘๔ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ ๐.๘๔ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน(t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีทักษะอยู่ในระดับต่ำ นักเรียนไม่สามารถตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ถ้าคำถามนั้นไม่ได้ถามเนื้อหาที่ปรากฏชัดเจนในเรื่องที่อ่านไม่ทราบความหมายของคำศัพท์ที่ปรากฏในเรื่องที่อ่าน ไม่ทราบกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน ไม่สามารถการจับใจความสำคัญของรายละเอียด ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใด คือ ความจริง หรือสิ่งที่เป็นจริงจากเรื่องที่อ่านและสิ่งใด คือความคิดเห็นของผู้เขียนที่แสดงไว้ในเรื่องนั้น ๆ ไม่สามารถคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และไม่สามารถประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่านได้
เนื้อหาที่ครูผู้สอนใช้ในการสอนอ่านไม่หลากหลาย เน้นยึดหนังสือเรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีขั้นตอนการสอนอ่านไทย คือ ขั้นก่อนอ่าน ครูผู้สอนจะเกริ่นนำหรือบอกนักเรียนว่าจะอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไรและอธิบายคำศัพท์ยากที่มีอยู่ในเนื้อเรื่อง ในขั้นอ่าน ครูจะให้นักเรียนอ่านไปจนจบเรื่อง และระหว่างอ่านนั้นจะอธิบายประโยคที่ครูเห็นว่ามีโครงสร้างที่ยากต่อการเข้าใจพร้อมให้นักเรียนจดบันทึกสิ่งที่ครูอธิบายเรียงไปตามเนื้อเรื่อง และขั้นหลังอ่าน ครูจะให้นักเรียนตอบคำถามท้ายเรื่อง และจะเฉลยจนครบจากนั้นสรุปเป็นคะแนนผู้เรียนรายบุคคล รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑. หลักการ ๒. วัตถุประสงค์ ๓. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๓.๑ ขั้นการกระตุ้นความสนใจ (Arousing Attention : A) ๓.๒ ขั้นการเรียนรู้เนื้อหา (Learning : L) ๓.๓ ขั้นการลงมือปฏิบัติ (Action : A) ๓.๔ ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application : A) ๓.๕ ขั้นการทดสอบ และประเมินผล (Test and Evaluation : T) ๔. ระบบสังคม และ ๕. การวัดและประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๔๔/๘๓.๑๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐/๘๐ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าเท่ากับ ๐.๗๔๒๗ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๔.๒๗ ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ ๐.๗๐ ที่กำหนดไว้ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=๔.๕๒ S.D=๐.๓๙)
|
โพสต์โดย ครูผึ้ง : [7 ธ.ค. 2564 เวลา 14:27 น.] อ่าน [3975] ไอพี : 58.11.96.172
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 104,326 ครั้ง
| เปิดอ่าน 29,979 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,475 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,667 ครั้ง
| เปิดอ่าน 27,168 ครั้ง
| เปิดอ่าน 7,654 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,537 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,505 ครั้ง
| เปิดอ่าน 22,600 ครั้ง
| เปิดอ่าน 22,569 ครั้ง
| เปิดอ่าน 60,349 ครั้ง
| เปิดอ่าน 23,340 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,322 ครั้ง
| เปิดอ่าน 109,242 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,190 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 19,194 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,145 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,485 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,687 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,064 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|