ชื่อเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีการนั่งสมาธิ
ชื่อผู้วิจัย นายอาทิตย์ ธานี
สภาพปัญหา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 38 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักเรียนชายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากความเครียด มักส่งเสียงดังร้องอึกทึกครึกโครม ตีทุบต่อยบอร์ด ป้ายกระดาน จับกลุ่มชกต่อยทะเลาะวิวาท ไม่สนใจเรียน อันเป็นผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวส่วนใหญ่จะย้ายหรือลาออกมาจากโรงเรียน
ปัญหาการวิจัย
การนั่งสมาธิจะสามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียดได้จริงหรือไม่
เป้าหมายการวิจัย
เพื่อศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียดด้วยการใช้วิธีการนั่งสมาธิ
วิธีการวิจัย
1. ร่วมประชุมกับนักเรียน เสนอการนั่งสมาธิ ประโยชน์ข้อดีของการนั่งสมาธิ พัฒนาโดยวางแผนหาแหล่งเรียนรู้การนั่งสมาธิ เช่น เปิดวีดีโอการนั่งสมาธิ ซึ่งการนั่งสมาธิถือเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่จะต้องเรียนด้วยกันทั้งหมดทั้งชายและหญิงจำนวน 38 คน
2. ทำข้อตกลงในการนั่งสมาธิก่อน-หลังเรียน 5-10 นาที
3. เสริมแรงด้วยการชมเชยส่วนตัวและการชมเชยขณะปฏิบัติ และให้แนวคิดประโยชน์ที่ตามมาของการนั่งสมาธิ
4. สังเกตพฤติกรรมนิ่ง ขณะทำการนั่งสมาธิ โดยมีแบบสังเกตกำหนดประเด็นไว้ล่วงหน้า และบันทึกผลการสังเกตในชั่วโมง
การวิเคราะห์ข้อมูล
จากการสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียด โดยใช้วิธีการนั่งสมาธิเพื่อลดพฤติกรรม โดยได้นำข้อมาจัดกลุ่ม วิเคราะห์ สรุปแนวโน้มพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม
ช่วงเวลาดำเนินการ
o ประชุม/ทำข้อตกลงกับนักเรียน 6 ธันวาคม 2563
o ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อลดความเครียด ด้วยวิธีการนั่งสมาธิ 13 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ 2564
o วิเคราะห์ข้อมูลเขียนรายงาน 20 กุมภาพันธ์ 2564
ผลการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 38 คน พฤติกรรมความก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียดลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหา
2. สิ่งที่สังเกตได้ว่าการใช้วิธีการนั่งสมาธิทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากความเครียดลดลง ที่ชัดเจน คือ
2. 1 เสียงอึกทึกครึกโครมลดน้อยลงหรือไม่มี
2.2 การทุบตี ทะเลาะวิวาทไม่มี
2.3 การตั้งใจเรียนกว่าระยะก่อนพัฒนาพฤติกรรม
2.4 เมื่อเปรียบการพัฒนาก่อนและหลังปฏิบัติกิจกรรมลดความเครียด ด้วยวิธีการนั่งสมาธิ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่พัฒนาดีขึ้นทั้ง 38 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ตามระดับคุณภาพ ผลการประเมิน ดังนี้
ก่อนใช้กิจกรรม หลังใช้กิจกรรม
มีคุณภาพระดับดีมาก (3) - 31
มีคุณภาพระดับดี (2) 31 7
มีคุณภาพระดับปรับปรุง (1) 7 -
ข้อเสนอแนะ
การลดพฤติกรรมเพื่อคลาดเครียด อาจทำได้หลายวิธีครูควรเข้าใจเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาในด้านต่างๆ กิจกรรมที่นำมาใช้ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆ ปฏิบัติได้ เกิดประโยชน์