ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2
ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน นายนพดล คลำทั่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งส่าย
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) โดยวัตถุประสงค์ เพื่อการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยการประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ผู้ประเมินได้ทำการประเมินเพิ่มเติมในด้านผล กระทบประเมินนิสัยรักการอ่านและประเมินความพึงพอใจของนักเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศนำมาใช้ประกอบการตัดสินผลการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ครูผู้สอน และครูที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 320 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 นโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจของสถานศึกษา และความสำคัญของการจัดทำโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X- = 4.63, S.D. = 0.52)
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการ ศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model มีความพอเพียงต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก ( X- = 4.47, S.D.= 0.50) ทั้งด้านจำนวนและศักยภาพของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ จำนวนหนังสือ งบประมาณทั้งจากหน่วยงาน ต้นสังกัดและจากหน่วยงานภายนอก สถานที่โรงเรียนมีความพอเพียงต่อการจัดกิจกรรม
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model กระบวนการ ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( X- = 4.43, S.D.= 0.54) ทั้งขั้นตอนการเตรียมการ การดำเนินการการประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขโดยมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนา
4. ด้านผลผลิต พบว่า ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียน บ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( X- = 4.40, S.D.= 0.54) นักเรียนมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น และมีทักษะ กระบวนการแสวงหาความรู้ มีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ของโครงการ
5. การประเมินด้านผลกระทบ พบว่า จากการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ส่งผลกระทบต่อโรงเรียนและนักเรียนในด้านบวก อยู่ในระดับมาก ( X- = 4.34, S.D.= 0.55)
6. การประเมินนิสัยรักการอ่าน พบว่า นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับมาก ( X- = 4.04, S.D.= 0.82)
7. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีกิจกรรมในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พบว่า นักเรียนมีความพอใจในระดับมาก ( X- = 4.30, S.D.= 0.76) รายการที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ จำนวนหนังสือที่นำมาใช้จัดกิจกรรม กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ กิจกรรมภูมิใจในตัวบุตรหลาน
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านทุ่งส่าย ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ในครั้งนี้ ทำให้มีข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหารและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมของโครงการตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการต่อไป เพราะผลจากการดำเนินโครงการล้วนแต่ส่งผลดีต่อสถานศึกษา