ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ผู้วิจัย ศกุนตลา วิไลขำ
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ2) การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยการยกร่างรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยการอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) จากผู้เชี่ยวชาญ 3) การทดลองใช้ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยการสอบถามความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สอบถามความพึง-พอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ผลการวิจัยพบว่า
1. การรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยที่เอื้อต่อการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย 1. ความรู้ ความสามารถและทักษะของบุคลากรการนิเทศ 2. พฤติกรรม ขวัญกำลังใจและแรงจูงใจของผู้รับการนิเทศ 3. บรรยากาศที่เอื้อต่อการนิเทศในโรงเรียน 4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน 5. วัฒนธรรมโรงเรียน องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย 1. การพัฒนาหลักสูตร 2. การจัดการเรียนการสอน 3. การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน 4.การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 5. การวัดผลและประเมินผลการศึกษา องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศ (N) 2. การวางแผนการนิเทศภายใน (P) 3. การดำเนินการนิเทศภายใน (S) 4. การประเมินและสรุป ผลการนิเทศภายใน (E) และองค์ประกอบที่ 4 ผลของการนิเทศภายในโรงเรียน ประกอบด้วย 4 ด้านคือ 1. คุณภาพครู 2. คุณภาพผู้เรียน 3. คุณภาพผู้บริหาร 4. คุณภาพสถานศึกษา
2. การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า รูปแบบความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ระดับการปฏิบัติ การตามขั้นตอนของกระบวนการนิเทศภายในของรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัดสระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความ- ถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โรงเรียนวัด-สระไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า อยู่ในระดับมาก