ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วิทยาศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสิ่งต่างๆบนโลกไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบความต้องการและเพื่อความสะดวกสบายในชีวิต ล้วนแล้วแต่มีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นในการคิดค้นและพัฒนา วิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในสังคมโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต ที่มีวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณมีทักษะ
ที่สำคัญในการศึกษาหาความรู้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์จึงเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข การสร้างความเข็มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่ง คือการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมคนให้อยู่ในสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ (รพีพรรณ เพียรเสมอ. 2550: 1)
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และสมรรถนะของผู้เรียน(หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. 2551: 7)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนในชีวิตประจำวัน วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ความเป็นเหตุเป็นผล มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้และสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นทุกคน
จึงต้องการพัฒนาความสามารถ โดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้อย่างมีเหตุผล
วิชาฟิสิกส์(Physics)เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความรู้
ขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำมาไปใช้ในวิชาต่างๆ เนื่องจากวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริง
ในธรรมชาติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบตัวและสามารถค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ฟิสิกส์ยังเป็นพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ในวิชาต่างๆเช่น วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เป็นต้น ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาพื้นฐานและงานวิจัยขั้นสูงทางฟิสิกส์อย่างมาก (ดำรงศักดิ์ มีวรรณ์. 2552 : 2)
ปัจจุบันการเรียนการสอนฟิสิกส์จะเน้นการบรรยายและเน้นตัวเนื้อหามากกว่ากระบวนการส่งผลให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสในการร่วมคิดและแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อใช้วิธีดังกล่าวเป็นประจำจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่สนใจในการเรียน ผู้เรียนจึงไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้จากการที่ผู้เรียนเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาฟิสิกส์ ทำให้เกิดทัศนคติที่ว่าฟิสิกส์เป็นวิชาที่ยาก ถึงจะตั้งใจเรียน
แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของผู้เรียน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ผู้เรียนสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่สามารถจินตนาการในการมองภาพจากทฤษฎีได้ ขาดทักษะในการคิดคำนวณถึงแม้โจทย์จะมีลักษณะคล้ายกับตัวอย่าง และเมื่อต้องแก้โจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อนก็ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มแก้โจทย์ปัญหาอย่างไร ชุดแบบฝึกทักษะจึงถือเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยม
อย่างแพร่หลาย และช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสามารถและฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย
จากการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเมืองคง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ผู้วิจัยพบว่านักเรียนยังไม่เข้าใจในเนื้อหาสาระและกระบวนการที่จะสามารถแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์นี้ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำนวัตกรรม แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชนกับผู้เรียนมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์
เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนด 70/70
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองคง เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 หลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์
ความสำคัญของการวิจัย
1) ทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 6 โรงเรียนเมืองคง เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 โดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์
2) ทำให้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ และยังช่วยให้นักเรียนมีทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
1.4 สมมติฐานของการวิจัย
1) แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนด 70/70
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียน จะมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน
กรอบแนวคิดการวิจัย
1) ตัวแปรอิสระ คือ แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206
2) ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์
เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ขอบเขตของการวิจัย
1) ขอบเขตด้านเนื้อหา
ทำการวิจัยในเนื้อหา เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ ประกอบไปด้วยเนื้อหา เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ ของรายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206
2) ประชากร
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเมืองคง ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
3) กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ของโรงเรียนเมืองคง ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา
ว33206 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)
4) ตัวแปรการวิจัย
4.1) ตัวแปรอิสระ คือ แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206
4.2) ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โรงเรียนเมืองคง หลังจากได้ศึกษาแบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองคง โดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ มีเครื่องมือและเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ จำนวน 1 แผน 2 ชั่วโมง
2) แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ รหัสวิชา ว33206
3) แบบทดสอบ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ แบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน
4) หนังสือเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 คาบ(เวลา 1 ชั่วโมง 50 นาที) วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564
นิยามศัพท์เฉพาะ
เนื่องจากคำบางคำที่ใช้ในการศึกษาอาจมีความหมายที่แตกต่างจากคำที่ใช้กันทั่วไป ผู้วิจัยจึงได้กำหนดความหมายของคำให้เป็นที่เข้าใจตรงกันดังนี้
1) แผนการสอน หมายถึง แผนการสอนรายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ฟิสิกส์อะตอม เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ ซึ่งในรายละเอียดของ แผนการสอนประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ กระบวนการการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การประเมินผล และบันทึกผลการเรียนการสอน
2) แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ หมายถึง เครื่องมือที่สร้างขึ้นใช้สำหรับประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์
3) การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ หมายถึง การได้รับความรู้จากเครื่องมือที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์
4) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ หมายถึง คุณภาพของแบบฝึกทักษะที่วัดจากค่าเฉลี่ย
ของคะแนนที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ทำแบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70
70 ตัวแรก (E1) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้จากการทำแบบฝึกทักษะระหว่างเรียน เรื่อง ความเข้มเสียงและระดับความดัง
70 ตัวหลัง (E2) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (ผลลัพธ์) (Post - test)
5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบหลังเรียนวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์
6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือที่สร้างขึ้นสำหรับวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียน
7) นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่เรียนในรายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
8) โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนเมืองคง ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) แบบฝึกทักษะการคำนวณโจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมมติฐานของพลังค์และทฤษฎีอะตอมของโบว์ รายวิชาฟิสิกส์ 6 รหัสวิชา ว33206 ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ในประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นและทำให้คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบ
หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นใช้เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับสื่อในการสอนให้กับกลุ่มสาระอื่นๆ หรือผู้ที่สนใจต่อไป
4) แบบฝึกทักษะนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง