หัวข้องานวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผู้วิจัย นางประภัสสร ผงทอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สรุปสาระสำคัญและผลการวิจัยดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 (ช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม) จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 50 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 8.28 และหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 15.20 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนด้วยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนวิธีอื่นๆ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบชุดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้นและควรศึกษาผลการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในเนื้อหาอื่นๆ เช่น ปัญหาสังคม สิทธิมนุษยชน เป็นต้น หรือในสาระการเรียนรู้อื่นๆ ที่มีเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต เป็นต้น เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป