ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นายสุริยา สุขคง
ผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมิน โดยมีวิธีดําเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการดําเนินโครงการ ประเมินบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจําเป็นในการจัดทําโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ตลอดจนความเหมาะสมและเพียงพอของปัจจัยนําเข้าในด้านบุคลากรงบประมาณ อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม และการบริหารจัดการ ระยะที่ 2 ระหว่างการดําเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินกระบวนการ ในด้านความเหมาะสมของกระบวนการและการดําเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผนดําเนินการ การปฏิบัติ การตรวจสอบ ทบทวน และประเมิน และการปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา และระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ประเมินด้านผลผลิต คือ การนําแนวความคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจําวัน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องจากการดําเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง จํานวน 238 คน ใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ตาม
ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความสอดคล้องเหมาะสมของ
วัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือความต้องการจําเป็นในการจัดทําโครงการ ส่วน
ความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าข้ออื่น ๆ ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กําหนด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนําเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมและความเพียงพอของกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือความเหมาะสมและความเพียงพอของการบริหารจัดการ ส่วนความเหมาะสมและความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าข้ออื่น ๆ ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่
กําหนด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าการปฏิบัติ (DO) มีค่าเฉลี่ย
สูงที่สุด รองลงมาคือการวางแผนดําเนินการ (PLAN) ส่วนการปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (ACT)
มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าข้ออื่น ๆ ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กําหนด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 มี2 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์
ตัวชี้วัด การนําแนวความคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจําวัน ตามความคิดเห็นของผู์บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ายึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือมีความกตัญญู รู้คุณ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณ ส่วนหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าข้ออื่น ๆ ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กําหนด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าโรงเรียนมีความพร้อมในการดําเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด รองลงมาคือการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายต่อการดําเนินงานของตามโครงการ ส่วนนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าข้ออื่น ๆ ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กําหนด