บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม
ที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านวังกระโดนใหญ่
ผู้ประเมิน ทัศนีย์ พินิจชัย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านวังกระโดนใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านวังกระโดนใหญ่ อำเภอไพศาลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นแนวทางเพื่อประเมินความก้าวหน้าของโครงการใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู/ บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 188 คน เป็นการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดจำนวนตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับ สอบถามครู/บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 สำหรับสอบถามผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ฉบับที่ 3 สำหรับสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แบบสังเกต มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ สำหรับสังเกตพฤติกรรม ของนักเรียนในด้านคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบ สำหรับทดสอบวัดความรู้ของนักเรียนในด้านหลักการปฏิบัติตนที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านวังกระโดนใหญ่ อำเภอไพศาลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อม ประกอบด้วย การประเมินความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของ โครงการ เช่น นโยบาย หลักการ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตร ความต้องการของนักเรียนและชุมชนและบทบาทของโรงเรียน ความชัดเจนของนโยบาย ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ตามความคิดเห็นของครู/ บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ใน ระดับมากที่สุดและ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย การประเมินเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร สื่อ เอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆในโครงการที่ทำให้การดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนด ตามความคิดเห็นของครู/บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การประเมินความเหมาะสมของการบริหารโครงการ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการในการจัด กิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู/บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตประกอบด้วย การประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในด้านการปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามความคิดเห็นของครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด จากการประเมินผลโครงการ โดยการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนมีผลการประเมิน เรื่องการปฏิบัติตนของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง จากการประเมินโดยวิธีวัดความรู้ด้วยแบบทดสอบผลของการประเมินจากการทดสอบความรู้จากนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ด้านผลผลิตของโครงการ โดยมีค่า เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 97.61 และการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน จากนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความคิดเห็นในระดับมาก ซึ่งผ่า นเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้