ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนบ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน : นายนิพิฐพนธ์ ทัพพ์ชัยศิริ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านโคกม้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่ประเมิน : 2563
บทสรุป
การประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโคกม้า
ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิต ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2562-2563 และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
ประชากร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 36 คน ครู จำนวน 11 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม 5 ฉบับและแบบบันทึก 1 ฉบับ
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม 6 ฉบับ มีการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เพื่อหาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.80 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเที่ยงของแบบสอบถาม ซึ่งมีผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด
4.1 การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ด้านกายภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านจิตวิทยา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 การประเมินประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2562
2563 มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้น 3.80 ในปีการศึกษา 2563 ด้วยค่าเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง
4.3 ระดับการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของนักเรียน ครู และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน
บ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
รายงานการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน
บ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563 ต้องอาศัยความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาจากทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากรายงานผลการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ปีการศึกษา 2563 จะเห็นได้ว่า ควรดำเนินงานโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1.จากผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด แต่เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผู้บริหารจึงควรชี้แจงทำความเข้าใจกับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ต้องกำกับ ติดตามการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริบทของโครงการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการการดำเนินโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อม คือ ความต้องการของนักเรียน ครู และกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและสภาพปัญหาของนักเรียนอันเป็นการตอบสนองนักเรียนอย่างแท้จริง
2.จากผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผู้บริหารจึงควรสร้างความตระหนักและเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสม รับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพแลเกิดะประสิทธิผลสูงสุด
3.จากผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณา พบว่า การวางแผนการดำเนินงานควรวางแผนโดยมีเป้าหมายการปฏิบัติและชี้แจงอย่างชัดเจน สามารถดำเนินการและปฏิบัติได้ทันที ควรติดตามและประเมินผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
4.จากผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ปานกลาง
ของการประเมินผลสัมฤทธิ์ และมากที่สุด ของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการประเมินความพึงพอใจ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรหาข้อมูลหรือทำวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
5.จากผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคำถาม นักเรียน ครูและ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับสูงจึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพบริบทของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรทำการวิจัยหรือประเมินเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
2. ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินการโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามขนาดโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในแง่มุมอื่นที่ใช้พัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3. ควรประเมินเชิงสาเหตุเพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อโครงการเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงการได้ตรงตามสาเหตุและปัญหาของการประเมินต่อไป