ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model)
ผู้ประเมิน นางสาวกัลยา พลมั่น
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษากระบวนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) 3) สังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) 4) สำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบ
การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถจากโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 16 คน และครู คณะกรรมการสถานศึกษานักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 77 คน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือก
แบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นการเลือกโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย 1) แบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
3) แบบสอบถาม การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) โดยกระบวนการเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) หาคุณภาพของเครื่องมือการวิจัยและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC : Index of item objective congruence) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ 2) ค่ามัธยฐาน (Md) 3) ค่าพิสัยควอไทล์ (IQR) 4) ค่าเฉลี่ย (X-bar)
และ 5) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษากระบวนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 1) การเตรียมความพร้อมในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา 2) การจัดระบบการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมโรงเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) การดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และ 5) การสร้างเครือข่าย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) พบว่า กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านสร้างความตระหนัก (Necessity : N) 2) ด้านสร้างเสริมความรู้และความสามารถ (Arrangement : A) 3) ด้านร่วมกำหนดความรับผิดชอบ (Host Collaboration : H)
4) ด้านสังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ (Organize : O) 5) ด้านปฏิบัติการตามขั้นตอนการประเมิน (New Management : N) 6) ด้านติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพ (Guarantee : G)
3. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบ
การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการสำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา
และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) พบว่า ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (NAHONG Model) อยู่ในระดับมาก
Title Developing Sufficiency School Management into Learning Center Based on the Sufficiency Economy Philosophy (NAHONG Model)
Assessor Ms. Kanlaya Phonman
Year 2021 Academic Year
Abstract
This research and development aims to 1) study the system for developing sufficiency school into the leaning center based on the sufficiency economy philosophy, 2) develop the model of sufficiency school management into the learning center based on the sufficiency economy philosophy (NAHONG Model), 3) synthesize NAHONG Model, and 4) examine the satisfaction of teachers, students, school committee, and guardians with NAHONG Model.
Population and sample in this study consisted of 16 educational experts from leaning center based on the sufficiency economy philosophy under the Udon Thani Primary Education Service Area Office 3, and also 77 peoples comprising teachers, students, school committee, and guardians. Purposive sampling was employed to select the population and sample according to researcher s consideration but under the research objectives. Research instruments were composed of 1) synthetic data recoding from, 2) interview form for asking the experts, 3) questionnaire on developing NAHONG Model utilizing three-round Delphi technique, 4) assessment form on suitability of NAHONG Model management, and 5) questionnaire on satisfaction of teachers, students, school committee, and guardians with NAHONG Model. The quality of these instruments was then checked for their content validity using Index of Item Objective Congruence (IOC). Statistics used for data analysis were 1) percentage, 2) median (Md), 3) interquartile range (IQR), 4) mean (X-bar), and 5) standard deviation (SD).
The findings revealed that :
1. The system for developing sufficiency school into the leaning center based on the sufficiency economy philosophy had five steps : 1) preparation for implementing the sufficiency economy philosophy to drive the school,
2) learning system management, 3) management of school activities and student development activities, 4) change management, and 5) networking.
2. According to the experts opinion, NAHONG Model development was suitable and consistent in six aspects : 1) necessity (N), 2) arrangement (A),
3) host collaboration (H), 4) organization (O), 5) new management (N),
and 6) guarantee (G).
3. In terms of NAHONG Model synthesis based on the experts opinion, the model had its suitability at high level.
4. Teachers, students, school committee, and guardians were satisfied with NAHONG Model at high level.