บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA
MODEL
ชื่อผู้วิจัย : นายสมใจ ชูแก้ว
ปีการศึกษา : 2562-2563
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) นักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน เนื่องจากนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านสื่อความจากข้อคำถาม ได้ดีกว่านักเรียนชั้นอื่นๆ ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 118 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 129 คน 2) ครูศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน 3) ผู้ปกครองกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 จำนวน 118 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 129 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา และผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน 5) เครือข่ายชุมชนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดผู้แทนจาก 5 เครือข่าย เครือข่ายละ 3 คนได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 3 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.83-0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows V.18
ผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์คุณภาพการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพปานกลาง-มาก ปีการศึกษา 2563 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก-มากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพปานกลาง-มาก ปีการศึกษา 2563 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมากที่สุด
3. ผลการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL
ปีการศึกษา 2562 พบว่า การพัฒนาศักยภาพนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดทั้ง 5 ด้าน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทักษะด้านทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด (ร้อยละ 33.08) รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านภาษา (ร้อยละ 31.95) ส่วนทักษะด้านกีฬามีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด (ร้อยละ 13.16)
ปีการศึกษา 2563 พบว่า การพัฒนาศักยภาพนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดทั้ง 5 ด้าน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทักษะด้านทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด (ร้อยละ 55.79) รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านภาษา (ร้อยละ 38.95) ส่วนทักษะด้านกีฬามีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด (ร้อยละ 17.54)
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา โดยใช้กลยุทธ์ LUMPHURA MODEL ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพปานกลาง-มาก ปีการศึกษา 2563 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
1.1 สถานศึกษาควรชี้แจงและทำความเข้าใจเพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพ
1.2 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรม/ความสามารถอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของการพัฒนาศักยภาพนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียน
2.2 ควรศึกษา/พัฒนารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพในลักษณะอื่นๆ