ชื่อเรื่องวิจัย :
การพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 -2563
ชื่อผู้วิจัย :
นายจีระศักดิ์ นุ่นปาน ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านท่าบันได
ปีการศึกษา :
2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 -2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 -2563 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 -2563 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 หลังการพัฒนาโดยใช้ TEACH MODEL 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปีการศึกษา 2562 -2563 กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและความจาเป็นในการพัฒนา 2) กาหนดปัญหาในการวิจัย 3) กาหนดกรอบกิจกรรมในการวิจัยและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน 4) ดาเนินการวิจัยและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามกรอบกิจกรรม 5 ด้าน 5) ประเมินผลการวิจัยและพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน 6) วิเคราะห์ผลการประเมิน 7) สรุปรายงานผลและเผยแพร่ผลงาน ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เดือนมีนาคม 2564 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชากรครูปีการศึกษา 2562-2563 จานวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2562 จานวน 46 คน ปีการศึกษา 2563 จานวน 45คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2562 จานวน 41 คน ปีการศึกษา 2563 จานวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 -2563 จานวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562-2563 จานวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ จานวน 5 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.82-0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป
สรุปผลการวิจัย
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ TEACH
MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐานและเครือข่ายชุมชน หลังการพัฒนา ปี การศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33,
S.D.= 0.20) เมื่อพิจารณาจาแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X =4.39, S.D.=
0.19) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( X =4.23, S.D.= 0.21) มี
คุณภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด (X =4.22, S.D.= 0.19) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X =4.46,
S.D.= 0.18) เมื่อพิจารณาจาแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X =4.48, S.D.=
0.17) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( X =4.42, S.D.= 0.26)
มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด (X =4.40, S.D.= 0.16) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
สอดคล้องกับสมมุติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของ
นักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียนบ้านท่าบันได ปี การศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.05, σ = 0.21) เมื่อพิจารณาแต่ละ
รายการ พบว่า รายการผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.52) รองลงมา คือ รายการผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนทรัพยากร
เพื่อใช้ในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.50, σ = 0.53) ส่วนรายการ
ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการนา ผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของ
นักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL มีค่าเฉลี่ยต่าสุดอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.40, σ = 0.52)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.22, σ = 0.17) เมื่อพิจารณาแต่ละ
รายการ พบว่า รายการผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมกิจกรรมสุขภาพดี ชีวีปลอดภัย มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.70, σ = 0.48) รองลงมาคือ รายการผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ให้ความ
ร่วมมือสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.52) ส่วน
รายการผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการนาผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็น
พลเมืองดีของนักเรียนโดยใช้ TEACH MODEL มีค่าเฉลี่ยต่าสุด อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.50, σ = 0.53)
สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ TEACH MODEL
โรงเรียนบ้านท่าบันได หลังการพัฒนา ปี การศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปี การศึกษา 2562 พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกา หนด ทั้ง 4 ด้าน
ได้แก่ 1) มีระเบียบวินัย 2) มีความซื่อสัตย์สุจริต 3) มีความพอเพียง 4) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป
มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง ร้อยละ 80.43 91.30
ปี การศึกษา 2563 พฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกา หนด ทั้ง 4 ด้าน
ได้แก่ 1) มีระเบียบวินัย 2) มีความซื่อสัตย์สุจริต 3) มีความพอเพียง 4) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มี
ค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 84.44 95.56 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน ปีการศึกษา
2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปี การศึกษา 2562 ทุกด้านสอดคล้องตามสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยใช้ TEACH MODEL โรงเรียน
บ้านท่าบันได ปี การศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.25,
S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.31, S.D. = 0.19)
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( X = 4.23, S.D. = 0.17)
ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่า สุด (X = 4.16, S.D. = 0.24) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.39, S.D. = 0.20)
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( X = 4.45, S.D. = 0.17) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( X = 4.38, S.D. = 0.19) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด (X = 4.30, S.D. = 0.18) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้
1. ผู้บริหารต้องให้ความสาคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีโดยเปิดโอกาสให้
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน
2. โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและให้นักเรียนได้ฝึกการลงมือปฏิบัติจริง
ข้อเสนอแนะเพอื่ การวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนที่มีต่อชุมชน
2. ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพลเมืองดีกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน